ข่าวสารจุฬาฯ

เสวนา Chula Future Food Platform LUNCH TALK ครั้งที่ 2 “CHULA FUNCTIONAL FOOD INNOVATION”

สำนักบริหารวิจัย ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนา Chula Future Food Platform LUNCH TALK ครั้งที่ 2 – CHULA FUNCTIONAL FOOD INNOVATION เมื่อวันอังคารที่ 16 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุม 201 อาคารวิจัยจุฬาฯ โดยมี ดร.อัจฉริยา อักษรอินทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน

ดร.อัจฉริยา อักษรอินทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ

งานเสวนา Chula Future Food Platform LUNCH TALK ครั้งที่ 2 – CHULA FUNCTIONAL FOOD INNOVATION มีการทบทวนเกี่ยวกับกลไกการสนับสนุนโครงการวิจัยด้าน Future Food ในการสร้างกลุ่มวิจัยที่รวบรวมความเชี่ยวชาญที่หลากหลายเพื่อสร้างผลงานวิจัยที่ครอบคลุมในทุกมิติ ผ่านกระบวนการคิดแบบ ‘หัวหอม’ หรือการคิดแบบหลายชั้น ที่คำนึงถึงผู้ใช้ประโยชน์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้สนับสนุน และพันธมิตรทางวิชาการ ให้ครอบคลุมในทุกภาคส่วน เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมในการวิจัยที่ครบวงจรและตอบโจทย์ปัญหาของผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเสวนา LUNCH TALK ครั้งที่ 2 “CHULA FUNCTIONAL FOOD INNOVATION” ได้รับเกียรติจากคณาจารย์ 3 คณะ ได้แก่ รศ.ดร.ขนิษฐา ธนานุวงศ์ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ ผศ.ภญ.ดร. รสริน ตันสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ และ ศ.ดร. สิริชัย อดิศักดิ์วัฒนา พร้อมด้วย ผศ. ดร.สถาพร งามอุโฆษ และ ผศ.ดร. ธันยวัน สวนทวี อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ ร่วมบรรยายและถ่ายทอดประสบการณ์จากงานวิจัยในหัวข้อบรรยายจำนวน 3 หัวข้อ

รศ.ดร.ขนิษฐา ธนานุวงศ์ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ บรรยายในหัวข้อ “ความท้าทายในการพัฒนาส่วนผสมอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชัน” โดยได้นำผลงาน “ขนมชั้นแห่งอนาคต” ผลงานของทีม “เลอชั้น” ซึ่งคว้ารางวัลชนะเลิศ Future Food for Sustainability 2022 โดยมี รศ.ดร.ขนิษฐา ธนานุวงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของผลงานนี้ ซึ่งขนมชั้นแห่งอนาคตนี้ ประกอบด้วยแนวคิด 3 ดี คือ “ดีต่อกาย” การลดน้ำตาลทรายลง 40% โดยไม่ใช้สารทดแทนน้ำตาลทรายด้วยสารให้ความหวานชนิดอื่น ๆ ด้วยการใช้เทคนิค “ชั้นหวานสลับชั้นจืด” การเสริมใยอาหารในผลิตภัณฑ์ที่มีแป้งเป็นองค์ประกอบหลัก ทำให้เป็นขนมที่มีใยอาหารสูง “ดีต่อใจ” ด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงาม กลิ่น รส รสชาติและเนื้อสัมผัสที่มีความนุ่มละมุนตรงใจผู้บริโภค และสุดท้าย “ดีต่อโลก” จากการนำ Food Waste มาใช้ในการสร้างสีสัน เช่น การใช้สีธรรมชาติจากสารสกัดจากเปลือกแก้วมังกร ซึ่งวัตถุดิบที่นำมาใช้ทำจากพืชทั้งหมด (ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก) และเป็นวัตถุดิบหลักซึ่งผลิตในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาของความท้าทายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วในท้องตลาดมาปรับปรุงโดยใช้ส่วนผสมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและเป็นผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชัน โดยผู้เข้าร่วมงานทุกท่านหลังจากได้ลองชิมขนมชั้นแห่งอนาคตนี้แล้ว ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “อร่อย ดี มีประโยชน์” เหมาะสมกับแนวคิดจากวิชาเรียนสู่ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจำหน่ายได้จริง และมีรางวัลระดับชาติการันตีอีกด้วย

รศ.ดร.ขนิษฐา ธนานุวงศ์

ผศ.ภญ.ดร. รสริน ตันสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ บรรยายในหัวข้อ “เทคโนโลยีเมตาโบโลมิกส์กับการพัฒนาอาหารฟังก์ชัน” โดยได้ให้คำอธิบายบทบาทระหว่าง “อาหาร” กับ “ยา” ความหมายของ “อาหาร” “อาหารฟังก์ชัน (Functional Foods)” “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Dietary Supplement)” “อาหารการแพทย์ (Medical Food)” การใช้เทคโนโลยี Metabolomics ช่วยในการส่งเสริมการทานอาหารเพื่อป้องกันโรค

ผศ.ภญ.ดร. รสริน ตันสวัสดิ์

ศ.ดร. สิริชัย อดิศักดิ์วัฒนา ผศ.ดร. สถาพร งามอุโฆษ และ ผศ.ดร. ธันยวัน สวนทวี บรรยายในหัวข้อ “นวัตกรรมเส้นโปรตีนไข่ขาวเพื่อการควบคุมน้ำหนักตัว” โดยได้ถ่ายทอดประสบการณ์ตรงในการก่อตั้งบริษัท Spin off – Tann:D สู่ Eggyday ผลงานที่สร้างรายได้และผลกำไรให้กับมหาวิทยาลัยได้จริง จากการทำโจทย์ที่ได้รับจาก “อาหารที่คนไข้ต้องทานในทุกวัน” สู่การเข้าร่วมการบ่มเพาะกับ CU Innovation Hub จนกลายเป็น Eggyday อาหารฟังก์ชันเพื่อโภชนาการทางคลินิกในปัจจุบันซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภคหลากหลายกลุ่มขยายจากอาหารที่ปรับปรุงสำหรับผู้ป่วยที่ต้องทานโปรตีไข่ขาวทุกวัน สู่กลุ่มผู้รักสุขภาพและต้องการควบคุมน้ำหนัก ในโอกาสนี้ ศ.ดร. สิริชัย ยังได้ถ่ายทอดกรณีตัวอย่างงานวิจัยที่ไปไม่ถึงฝันแม้จะมีความพร้อมในทุกด้าน ก็สามารถเกิดอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ เพื่อเป็นกรณีศึกษาให้แก่ผู้เข้าร่วมได้รับฟังและซักถามจากประสบการณ์ตรง

ศ.ดร. สิริชัย อดิศักดิ์วัฒนา ผศ.ดร. สถาพร งามอุโฆษ และ ผศ.ดร. ธันยวัน สวนทวี

นอกจากได้รับฟังการเสวนาจากคณาจารย์นักวิจัยที่ถ่ายประสบการณ์ตรงในการบุกเบิกวงการ Future Food แล้ว ภายในงานยังมีผลงานซึ่งทางศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (HSC) ได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ในเวทีนานาชาติงาน The 34th International Invention, Innovation & Technology Exhibition (ITEX 2023) ณ KLCC Convention Centre กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศ​มาเลเซีย​ มาร่วมแสดงให้ผู้เข้าร่วมได้รับฟังและรับชม

โดยผลงานที่ได้รับเหรียญทอง ได้แก่ “ชุดตรวจสอบสัตว์ต้องห้ามแบบรวดเร็วในผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล(Rapid Test Kit on Non-Halal Animal in Halal Food Production)” ซึ่งเป็นผลงานร่วมวิจัยระหว่างศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ กับบริษัททาเลโนเมะ ดีเอ็นเอ โปรเฟสชั่นแนล ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)” โดยมี ศ.ดร.สุวิมล กีรติพิบูล เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ดร.อาณัฐ เด่นยิ่งโยชน์ และนายอาณกร เรืองปราชญ์ เป็นตัวแทนทีมวิจัยร่วมนำเสนอผลงาน 

ผลงานที่ได้รับเหรียญเงินได้แก่ “ฟิล์มใสลดสิวชนิดเกิดเป็นแผ่นฟิล์มบนผิวจากสารสกัดเปลือกกล้วยหอมทองปทุม​ (Anti​acne-film forming solution from Hom Thong Pathum Banana peel extracts)​” ซึ่งมี น.ส.บัดดารีหย๊ะ​ โส๊​ะ​สัน​สะ​ เป็นหัวหน้าโครงการ น.ส.นารีญา วาเล๊าะ เป็นผู้ร่วมนำเสนอผลงาน

นอกจากนี้ยังมีผลงานนวัตกรรม “ลิปบาล์ม Antioxidant-riched hydrating lip balm from perilla seed pomace extract” ลิปบาล์มสูตรต้านอนุมูลอิสระและเพิ่มความชุ่มชื้นจากสารสกัดกากเมล็ดงาขี้ม้อน มีไขมันโอเมก้า 3 ชนิด ALA (Alpha linolenic acid) สูง จากน้ำมันเมล็ดงาขี้ม้อน พร้อมด้วยสารสกัดของกากเมล็ดงาขี้ม้อนจากวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร ให้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดี “นวัตกรรมไข่เหลวจากพืช” ที่ทำมาจากโปรตีนตระกูล ‘ถั่วเขียว’ เพื่อเพิ่มทางเลือกอาหารสุขภาพสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด หรือผู้ที่มีอาการแพ้อาหารบางชนิด ใช้เวลาในการประกอบอาหารเพียง 2 นาที โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ พัฒนาร่วมกับบริษัท Holy Food ซึ่งผลงานที่นำเสนอในครั้งนี้เป็นผลงานที่ผ่านการประกวดและได้รับอนุสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือเป็นตัวอย่างความมุ่งมั่นพยายามในการนำพางานวิจัยสู่ความก้าวหน้าและความสำเร็จทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ซึ่งสามารถช่วยส่งเสริมและเพิ่มแรงบันดาลใจให้แก่นักวิจัยรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดีในการที่จะเข้าร่วมเส้นทางการวิจัย Chula Future Food Platform

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า