ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ร่วมโครงการขยายเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ ดูแลแก้ปัญหาสุขภาพจิตในมหาวิทยาลัย

               การขับเคลื่อนเรื่องมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพในประเทศไทยมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ความร่วมมือของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่พร้อมส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชากรในมหาวิทยาลัยได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพเป็นอย่างดีเพื่อการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยอย่างมีความสุข ห่างจากโรคภัย มีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ

               ส่วนหนึ่งของพลังการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพที่มีความเข้มแข็งได้แก่ มหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) กลุ่มภาคกลาง ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ซึ่งนอกจากสุขภาพกายแล้ว มหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) ได้จัดโครงการขยายเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพในประเทศไทย ร่วมกันบูรณาการดำเนินการด้านการสร้างเสริมสุขภาพระหว่างมหาวิทยาลัย เสริมสร้างความเข้มแข็ง สร้างการมีส่วนร่วมของสถาบันอุดมศึกษาเกี่ยวกับแนวทางและมาตรการในการดูแลประชากรในมหาวิทยาลัยด้านสุขภาพจิต



               จากการเสวนาวิชาการเรื่อง “การขยายเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยภาคกลาง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในสถานการณ์สุขภาพจิต” และ “สถานการณ์สุขภาพจิตและการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตในมหาวิทยาลัย” ซึ่งเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพเขตภาคกลางจัดขึ้น เมื่อวันศุกร์ที่ 12 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุม ศ.ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ อาคารสระบุรี 4 ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ.สระบุรี ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผน การงบประมาณ และสุขภาวะ จุฬาฯ ในฐานะประธานคณะทำงานเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มภาคกลาง กล่าวเปิดการเสวนา โดยกล่าวว่า เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) กลุ่มภาคกลางมีเป้าหมายมุ่งสร้างการมีส่วนร่วมในการวางแผน ผลักดันและขับเคลื่อนงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่มหาวิทยาลัยต่างๆ ในพื้นที่ภาคกลาง สร้างการมีส่วนร่วมภายในมหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย รวมถึงการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งในเครือข่ายฯซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานและสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการนำกรอบแนวทางมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน หรือ AUN Healthy University Framework มาใช้กำหนดมาตรฐานของการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ และการนำเครื่องมือ Healthy University Rating Systems (HURS) มาใช้ประเมินคุณภาพสถาบันการศึกษา เป็นแบบอย่างที่ดีของการมีวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีของอาจารย์ นักศึกษา บุคลากร รวมถึงชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล


 ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล
รองอธิการบดี จุฬาฯ

               ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่ซ้อนอยู่และมีอยู่ทั้งในสังคมไทยและสังคมโลก จากผลสำรวจมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่านักศึกษามากกว่า 60 % อยู่ในเกณฑ์มีปัญหาสุขภาพจิต โดยปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ภาวะซึมเศร้า สำหรับในประเทศไทย ผลสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตนักศึกษาในปี 2564 จำนวน 9,050 คน จากมหาวิทยาลัย 15 แห่ง พบว่านักศึกษา 40 % มีความเครียดบ่อยครั้ง แต่ปัญหาที่พบคือ นักศึกษาทราบว่าในมหาวิทยาลัยมีส่วนงานให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต แต่มีผู้เข้าใช้บริการจริงไม่ถึงร้อยละ 1

               “ปัญหาด้านสุขภาพจิตของนักศึกษาเป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม ทุกมหาวิทยาลัยควรมีเครื่องมือชี้วัดเพื่อเป็นสัญญาณป้องกันดูแลสุขภาพจิตภายในมหาวิทยาลัย อย่างน้อยวันนี้ได้มาสื่อสารร่วมกัน มองเชิงระบบว่าทำอย่างไรให้นักศึกษาเข้าถึงผู้ให้คำปรึกษาสุขภาพจิตได้ง่าย ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยมีบทบาทและจุดเด่นแตกต่างกัน เราควรส่งเสริมเรื่องการป้องกันดูแลสุขภาพจิตและปรับให้เข้ากับมหาวิทยาลัยของตนเอง โดยให้ความสำคัญกับการเข้าถึงบริการของนิสิตเป็นสิ่งสำคัญ ศ.นพ.ดร.นรินทร์ ฝากทิ้งท้าย


ผศ.ดร.ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล
คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

               ผศ.ดร.ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่านักศึกษาไทย 1 ใน 3 มีภาวะเครียดสูง ซึ่งจากผลสำรวจพบว่าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยแห่งใดแห่งหนึ่ง มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีการวิจัยสร้าง Application “Mind immune” เพิ่มพลังสุขภาพจิตสำหรับนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 พบว่า หลังใช้ Application ช่วยเพิ่มพลังสุขภาพจิตให้สูงขึ้น และการสร้างศูนย์ให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับนักศึกษาต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ช่วยให้ปัญหาด้านสุขภาพจิตของนักศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้น


ผศ.ดร.สุรัสวดี อรุณวราภรณ์
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

               ผศ.ดร.สุรัสวดี อรุณวราภรณ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เสนอว่า การจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาในมหาวิทยาลัยควรมีระบบนัดหมายจิตแพทย์ที่ทันกับความเร่งด่วนของปัญหา เพิ่มจำนวนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางให้เพียงพอ ซึ่งการดูแลช่วยเหลือสุขภาพจิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต้องรู้จักนักศึกษาเป็นรายบุคคล มีการจัดทำระเบียนประวัติ การประเมิน การคัดกรองนักศึกษาเพื่อแบ่งตามกลุ่มพฤติกรรม และช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด พร้อมกับส่งเสริมพัฒนานักศึกษาโดยผ่านกิจกรรมสนับสนุนต่างๆ และการอบรมให้ความรู้ ในกรณีปัญหาของนักศึกษาเกินขีดความสามารถในการช่วยเหลือดูแล ควรส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ โดยกรมสุขภาพจิตช่วยเชื่อมโรงพยาบาลคู่เครือข่ายเพื่อรับส่งต่อนักศึกษาที่ต้องได้รับการรักษาทันทีและต่อเนื่อง




จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า