ข่าวสารจุฬาฯ

นิสิตจุฬาฯ เจ้าภาพการแข่งขันโต้วาทีภาษาอังกฤษ 15th EU in Thailand National Inter-Varsity Debating Championship

The 15th EU in Thailand National Inter-Varsity Debating Championship

นิสิตกลุ่มโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาฯ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโต้วาทีภาษาอังกฤษ รายการ 15th EU in Thailand National Inter-Varsity Debating Championship ระหว่างวันที่ 27 – 30 มกราคม 2567 ณ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศและพิธีมอบรางวัลจัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 ณ ห้องอเนกประสงค์ 307 อาคารพินิตประชานาถ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดีด้านการพัฒนานิสิต เป็นประธานในพิธี ผลการแข่งขัน นิสิตจุฬาฯ ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้

ทีม Chula 1 และ Chula 3 เข้าถึงรอบรองชนะเลิศระดับอุดมศึกษา (University SemifinalistsX)

– ทีม Chula 1 ประกอบด้วย น.ส.ทอปัด พยุงธรรม นายอาร่อน ลู้ค เรเยส นูกี และนายบุญญาภิวัฒน์ สมบูรณ์ทรัพย์

– ทีม Chula 3 ประกอบด้วย นายจิรายุ ลี้สุวัฒนกุล น.ส.ณฐมน อำพินธ์ และ น.ส.ภรณ์วรัตน์ โกมลโรจนาภรณ์

ทีม Chula 2 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ (Novice University Grand Finalists) นักโต้สาระวาทีมือใหม่ระดับอุดมศึกษา สมาชิกในทีมประกอบด้วย น.ส.ทิยา รุ่งเรือง นายอภิจักษ์ ตันติรัศมี และ น.ส.มีนวดี วัสศิริ

น.ส.ณฐมน อำพินธ์ ได้รับรางวัลนักพูดสรุปดีเด่นลำดับที่ 8 (8th Best Reply Speaker)

นายจิรายุ ลี้สุวัฒมนกุล ได้รับรางวัลนักพูดดีเด่นระดับอุดมศึกษาลำดับที่ 9 (9th Best University Speaker)

นายอาร่อน ลู้ค เรเยส นูกี่ ได้รับรางวัลนักพูดดีเด่นระดับอุดมศึกษาลำดับที่ 6 (6th Best University Speaker)

น.ส.ภรณ์วรัตน์ โกมลโรจนาภรณ์ ได้รับรางวัลนักพูดดีเด่นระดับอุดมศึกษาลำดับที่ 2 (2nd Best University Speaker)

น.ส.ภรณ์วรัตน์ โกมลโรจนาภรณ์ ได้รับรางวัลนักพูดดีเด่นของทั้งการแข่งขันลำดับที่ 9 (9th Overall Best Speaker)

น.ส.ปัณฑารีย์ รัตนสัมพันธ์ ได้รับรางวัลกรรมการตัดสินดีเด่นลำดับที่ 7 (7th Best Adjudicator)

การแข่งขันโต้วาทีภาษาอังกฤษ รายการ 15th EU in Thailand National Inter-Varsity Debating Championship มีนายชนกันต วิทยศักดิ์พันธุ์ นิสิตปริญญาโทคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ นายชยธร ทรัพย์ชวโรจน์ นิสิตปริญญาโทคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และ น.ส.ณัฐยา จารุเวคิน บัณฑิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เป็นประธานโครงการ วัตถุประสงค์ของการแข่งขันเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษให้เป็นที่รู้จักระหว่างนิสิตจุฬาฯ และนักเรียน นิสิต นักศึกษาทั่วประเทศไทย เพื่อให้ผู้มีความสนใจในการโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษได้เข้าร่วมการแข่งขัน และแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน รวมทั้งส่งเสริมชื่อเสียงและบทบาทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวงการโต้สาระวาทีในระดับประเทศ

ชนกันต วิทยศักดิ์พันธุ์ นิสิตปริญญาโทคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะประธานจัดการแข่งขัน เปิดเผยถึงการแข่งขันโต้สาระวาทีครั้งนี้ว่า เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีการแข่งขันโต้สาระวาทีสำหรับนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยมาเป็นระยะเวลาสี่ปี นิสิตกลุ่มโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษ จุฬาฯ จึงอยากให้มีเวทีการแข่งขันเพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้ฝึกการโต้สาระวาทีและสร้างเครือข่ายระดับมหาวิทยาลัย

การแข่งขันโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ระดับมหาวิทยาลัย ระดับมหาวิทยาลัย รุ่นสำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์ ระดับมัธยมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา รุ่นสำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์ นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันสำหรับคณะกรรมการตัดสินด้วย มีสถาบันการศึกษาส่งนักโต้วาทีภาษาอังกฤษเข้าร่วมการแข่งขัน 52 ทีม จำนวนนักโต้สาระวาทีรวม 156 คน และกรรมการตัดสิน 60 คน โดยญัตติที่ใช้ในการแข่งขันโต้สาระวาทีจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคมที่เกี่ยวข้องกับหลักการของสหภาพยุโรป เช่น การนำเสนอสื่อเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย การค้าข้ามชาติ และอำนาจของสหภาพยุโรปในเวทีโลก ญัตติที่ใช้ในการโต้วาที ผู้เข้าแข่งขันจะไม่ทราบญัตติล่วงหน้า การแข่งขันแต่ละรอบจะประกาศญัตติให้ผู้เข้าแข่งขันเตรียมตัวในเวลา 30 นาที

ชนกันต กล่าวว่านอกจากนิสิตจุฬาฯ ที่ลงแข่งขันในฐานะนักโต้วาทีและเป็นกรรมการตัดสินแล้ว ยังมีนิสิตอีก 25 คนทำหน้าที่ช่วยประสานงานในส่วนต่างๆ ตั้งแต่การลงทะเบียน เตรียมอาหารและวัสดุ และประสานกรรมการและผู้เข้าแข่งขัน สิ่งที่นิสิตได้รับจากการจัดการแข่งขันโต้วาทีภาษาอังกฤษครั้งนี้คือได้เรียนรู้ถึงสถานการณ์ด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม จริยธรรมซึ่งเกิดขึ้นรอบโลก และฝึกทักษะในการแก้ปัญหาผ่านการโต้สาระวาที ตลอดจนได้พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ การพูดเพื่อโน้มน้าวโดยใช้เหตุผล ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ที่สำคัญคือได้สร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์อันดีกับผู้เข้าร่วมงานจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ในส่วนของนิสิตที่ปฏิบัติงานได้นำความรู้และประสบการณ์จากการทำงานไปประยุกต์ใช้ในอนาคต รวมทั้งพัฒนาทักษะการสื่อสารและภาวะผู้นำ

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า