ข่าวสารจุฬาฯ

3 โครงการและนวัตกรรมจุฬาฯ ผ่านเข้ารอบคัดเลือก THE Awards Asia 2024  

          โครงการและนวัตกรรมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผ่านเข้ารอบคัดเลือก (Shortlist) THE Awards Asia 2024 ใน 3 ประเภทรางวัล ซึ่งจะมีการประกาศผลรางวัลชนะเลิศของแต่ละประเภทรางวัล ในวันที่ 29 เมษายน 2567

            โครงการและนวัตกรรมจากจุฬาฯ ที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกรางวัลประเภทต่างๆ มีดังนี้

            – ประเภท Research Project of the Year: Arts, Humanities and Social Sciences ได้แก่ โครงการจุฬาอารี โดยวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ

            – ประเภท Research Project of the Year: STEM ได้แก่ นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์ sPace โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

            – ประเภท Student Recruitment Campaign of the Year ได้แก่ การเปิดหลักสูตรใหม่ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT) โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ


           

          โครงการจุฬาอารี เป็นแพลตฟอร์มนวัตกรรมจุฬาฯ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จากความร่วมมือของคณะต่างๆ ในจุฬาฯ ทั้ง 12 คณะ ซึ่งเป็นการบูรณาการสหศาสตร์ด้านผู้สูงอายุแก้ปัญหาสังคมสูงวัย ขับเคลื่อนงานวิจัยไปสู่นโยบายและการปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้ชื่อแผนงานไทยอารี มุ่งให้เกิดต้นแบบระบบรองรับการสูงวัยในท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละภูมิภาค ระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต คนรุ่นใหม่มีการเตรียมความพร้อมพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ และมีการพัฒนาเศรษฐกิจและนวัตกรรมที่สามารถส่งเสริมความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุ

          http://www.sustainability.chula.ac.th/th/report/3025/

          http://www.chulaari.chula.ac.th/


          นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์ sPace โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือกับโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ผ่านสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นนวัตกรรมที่เพิ่มคุณภาพชีวิตให้คนพิการขาขาดทั่วประเทศไทย โดยได้มีการผลิตเพื่อแจกจ่ายผ่านโรงพยาบาลของรัฐจำนวน 22 แห่ง ให้ผู้พิการขาขาดจำนวน 300 รายได้เข้าถึงเท้าเทียมคุณภาพสูง

          http://www.sustainability.chula.ac.th/th/report/3409/

          https://www.chula.ac.th/news/96587/


             การเปิดหลักสูตรใหม่ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดรับนิสิตมากถึง 300 คนต่อปี เพื่อผลิตบัณฑิตมาเติมเต็มในตลาดแรงงานที่ยังขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัล เป็นหลักสูตร Higher education sandbox ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชน และเพิ่มทักษะในการลงมือปฏิบัติงานจริงแก่นิสิตจากการฝึกงาน ในปีการศึกษา 2566 มีนักเรียนสมัครมากกว่า 2,600 คน และผู้ผ่านการคัดเลือกมีคะแนนอยู่ในระดับสูงเป็นร้อยละ 2 ของการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

          http://www.sustainability.chula.ac.th/th/report/3415/

          https://www.cp.eng.chula.ac.th/cedt

          https://theawardsasia.com/2024/en/page/shortlist


ติดตามรายละเอียดผลงานต่างๆ ที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกได้ที่

https://theawardsasia.com/2024/en/page/shortlist

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า