ข่าวสารจุฬาฯ

พิธีลงนามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับกระบวนการผลิตสารละลายไฟโบรอินไหมปลอดเชื้อ

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ณ เรือนจุฬานฤมิต ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแคน อำนวยพรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอนจินไลฟ์ จำกัด และ อ.ดร.ศรัณย์ กีรติหัตถยากร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมพิธีลงนามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับกระบวนการผลิตสารละลายไฟโบรอินไหมปลอดเชื้อ ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นเจ้าของเทคโนโลยี ให้แก่บริษัท เอนจินไลฟ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ภายใต้การบ่มเพาะของ CU Engineering Enterprise ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ (CU Innovation Hub)

พิธีลงนามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับกระบวนการผลิตสารละลายไฟโบรอินไหมปลอดเชื้อในครั้งนี้จัดโดยศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน รศ.ดร.โศรดา กนกพานนท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ตัวแทนนักวิจัยจุฬาฯ กล่าวถึงที่มาและความสำคัญของเทคโนโลยีกระบวนการผลิตสารละลายไฟรโบอินไหมปลอดเชื้อ และความร่วมมือกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากนั้น นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงความเชี่ยวชาญของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และความร่วมมือในเทคโนโลยีนี้ รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ตัวแทนบริษัท เอนจินไลฟ์ จำกัด กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ
รศ.ดร.โศรดา กนกพานนท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ตัวแทนนักวิจัยจุฬาฯ
นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ตัวแทนบริษัท เอนจินไลฟ์ จำกัด

โครงการวิจัยกระบวนการผลิตสารละลายไฟโบรอินไหมปลอดเชื้อ โดยคณะผู้วิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนการผลิตรังไหมไทยแท้จากกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และได้รับความร่วมมือด้านการวิจัยจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  โดยใช้งบประมาณหลักในการดำเนินการจากโครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตชีววัสดุประเภทโปรตีนบริสุทธิ์ที่มีมาตรฐานสูงระดับสากล สามารถนำไปผลิตอุปกรณ์การแพทย์ความเสี่ยงสูงแบบฝังในร่างกายและย่อยสลายได้โดยปราศจากการปนเปื้อนและมีความปลอดภัยสูง เทคโนโลยีการผลิตสารละลายไฟโบรอินไหมปลอดเชื้อนี้ถือเป็นก้าวแรกที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ความเสี่ยงสูงของประเทศไทย เป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ย่อยสลายได้ในร่างกาย ซึ่งจะทำให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อการผ่าตัด อุปกรณ์ทันตกรรม เป็นองค์ประกอบในระบบนำส่งสารปลอดฤทธิ์ทางเภสัชกรรมและสมุนไพร การผลิตเวชสำอาง เพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเองของประเทศด้านการแพทย์ และเพิ่มโอกาสให้คนไทยได้รับการรักษาอย่างเท่าเทียม รวมทั้งเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมมาตรฐานห่วงโซ่การผลิตหม่อนไหมในประเทศไทย  ส่งเสริมนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ของรัฐบาล

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า