ข่าวสารจุฬาฯ

“Thailand Halal Assembly 2023” สร้างพลัง เปลี่ยนแนวคิดวิถีฮาลาลแบบเดิมสู่ฮาลาลดิจิทัล ผลักดันฮาลาลไทยยืนหนึ่งในตลาดโลก

งาน “Thailand Halal Assembly 2023” ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ โรงแรมนูโว ซิตี เป็นงานมหกรรมด้านฮาลาลที่ยิ่งใหญ่ซึ่งเปลี่ยนวิถีฮาลาลแบบเดิมๆ ให้ทันสมัยและล้ำกว่าใคร พร้อมผลักดันฮาลาลไทยยืนหนึ่งในตลาดโลกภายใต้ธีมงาน “ฮาลาลจากแนวคิดสู่ดิจิทัลสู่ความวางใจ” (Digitalizing Halal Initiatives for Fostering Halal Trust) โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายอรุณ บุญชม จุฬาราชมนตรี ร่วมเป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย Mr.Ihsan Ovut เลขาธิการสถาบันมาตรฐานและมาตรวิทยาเพื่อประเทศอิสลาม (SMIIC) ภายใต้องค์การความร่วมมือประเทศอิสลาม (OIC) กล่าวต้อนรับโดย ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี จุฬาฯ

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ  และประธานจัดงาน กล่าวว่า งานประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล “Thailand Halal Assembly 2023” ภายใต้ธีม “ฮาลาลจากแนวคิดสู่ดิจิทัลสู่ความวางใจ” (Digitalizing Halal Initiatives for Fostering Halal Trust) เป็นการแสดงจุดเด่นของประเทศไทยในฐานะผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล และผู้พัฒนาระบบฮาลาลดิจิทัล คาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแนวคิดวิถีฮาลาลแบบเดิมๆ ให้ทันสมัย และทำให้ทุกคนเข้าถึงฮาลาลได้มากขึ้น

ภายในงานประกอบด้วย 3 การประชุมวิชาการ ได้แก่

1) งานประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาล The International Halal Science and Technology Conference 2023 (IHSATEC 2023) เป็นงานนำเสนอผลงานวิชาการและวิจัยในการประชุม ซึ่งในปีนี้มีผู้ส่งผลงานทางวิชาการนำเสนอในงานประชุมนานาชาติมากถึง 71 ชิ้น โดยเป็นการนำเสนอในที่ประชุม 52 ชิ้น นำเสนอผ่านออนไลน์ 19 ชิ้น นำเสนอแบบปากเปล่า 47 ชิ้น โปสเตอร์ 24 ชิ้น ประเทศที่นำเสนอผลงานทางวิชาการได้แก่ อินโดนีเซีย 30 ชิ้น ประเทศไทย 15 ชิ้น มาเลเซีย 9 ชิ้น ปากีสถาน 6 ชิ้น นอกจากนี้ยังมีผลงานจากประเทศต่างๆ ได้แก่ อียิปต์ สหรัฐอเมริกา เยเมน เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง บรูไนดารุสลาม กัมพูชา ซูดาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ทรินิแดดแอนด์โทบาโก โดยผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากกรรมการตัดสินพิจารณาผลงาน (Reviewer) จะถูกตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ Journal of Halal Science, Industry, and Business (JHASIB) 2024 ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (Vol.2, No.1) ต่อไป และในปีนี้วารสาร JHASIB ฉบับปฐมฤกษ์ ค.ศ.2023 จะเปิดตัวผ่านทางออนไลน์รวมทั้งตีพิมพ์บางส่วน

2) The 16th Halal Science and Business International Conference (HASIB) ได้รวบรวมวิทยากรมากความสามารถกว่า 30 ท่าน จากนานาชาติกว่า 10 ประเทศ ในหัวข้อน่าสนใจหลากหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล เทคโนโลยีดิจิทัล ความมั่นคงทางอาหาร และนวัตกรรม รวมทั้งสิ้น 6 Session คือ

 Session 1: Digitalizing Halal Initiatives for Fostering Halal Trust

Session 2: Tech-Driven Halal Assurance: Innovations for the Current Era”

Session 3: Harnessing Technology for Halal: Advancements in Food, Cosmetic, and Natural Product Industries

Session 4: Innovations in Food and Ingredients: From Nature’s Bounty to Advanced Solutions       Session 5: Innovations in Halal Sustainability and Healthcare

session 6: Halal Assurance and Technological Advancements

3) การประชุมนานาชาติว่าด้วยมาตรฐานและการตรวจรับรองฮาลาล : The 9th International Halal Standards

ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการ showcase แพลตฟอร์มดิจิทัล 3 ชิ้น ได้แก่

(1) แอปพลิเคชัน Halal Route เป็นฐานข้อมูลเส้นทางท่องเที่ยวหลักจากใต้สุดถึงเหนือสุด ทุกภูมิภาคของประเทศไทย ให้นักท่องเที่ยวมุสลิมและที่ไม่ใช่มุสลิมจากทั่วโลก ได้เข้าถึงข้อมูลร้านอาหารฮาลาล ที่พัก ชุมชนมุสลิมและมัสยิด ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นผลจากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 8 สิงหาคม 2566

2) Thailand Diamond Halal Through HAL-Q Plus Halal Standardization System ซึ่งเป็นผลจากมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 2 มิถุนายน 2558

 (3) Diamond Halal Blockchain เทคโนโลยีการตรวจสอบยืนยันคุณภาพและสภาพฮาลาลตลอดห่วงโซ่อุปทานฮาลาล ซึ่งเป็นผลจากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 10 กันยายน 2562 อี

ทั้งนี้มีการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม จำนวน 17 ชิ้น ที่เป็นงานวิจัยพัฒนาคิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ของ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ได้แก่

1Acne cream product mixed with kaolin, bentonite and black cumin seed oil ผลิตภัณฑ์ดูแลรักษาสิวผสมแร่ดิน (คาโอลิน, เบนโทไนท์) และ สารสกัดหรือน้ำมันเมล็ดเทียนดำ
2Natural sunscreen plus black cumin seed oil ครีมกันแดดผสมดินขาว (คาโอลิน) และน้ำมันเมล็ดเทียนดำ
3Antioxidant-Riched Hydrating Lip Balm from Perilla Seed Pomace extract. ลิปบาล์มต้านอนุมูลอิสระและเพิ่มความชุ่มชื้นจากสารสกัดกาก เมล็ดงาขี้ม้อน
4Anti acne film forming solution. ฟิล์มใสลดสิวชนิดเกิดเป็นแผ่นฟิล์มบนผิวจากสารสกัดเปลือกกล้วยหอมทองปทุม
5Najis Cleansing Clay Liquid Soap
ผลิตภัณฑ์สบู่ดินสำหรับชำระล้างสิ่งสกปรกตามหลักศาสนาอิสลาม (นยิส)
6Liposome Nanoparticle from Krill Oil for Storing Perilla Seeds Extract
อนุภาคนาโนไลโปโซมจากน้ำมันคริลล์สำหรับกักเก็บสารสกัดกากเมล็ดงาม้อน
7Plam – Perilla edible oil blends
นํ้ามันบริโภคผสมจากน้ำมันปาล์มโอเลอินและน้ำมันงาขี้ม้อนที่มีอัตราส่วนของไขมันโอเมก้า 6 และโอเมก้า 3 เหมาะสมต่อสุขภาพ
8Sweetened margarine with a balanced omega fat ratio
เนยเทียมรสหวานสูตรสมดุลอัตราส่วนไขมันโอเมก้า
9Omega fat-balancing sauce for stir-fried holy basil dish. ซอสปรุงรสผัดกะเพราสูตรปรับสมดุลโอเมก้า
10Rapid Test kit on Non-Halal Animals in Halal Food Products
ชุดตรวจสอบสัตว์ต้องห้ามแบบรวดเร็วในผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล
11Porcine DNA Detection Kit
ชุดตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอสุกรในผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์เจลาติน
12Red Tilapia Fish Noodles Fortified with Wolffia and the Production Method สูตรการผลิตเส้นปลาทับทิมเสริมคุณค่าทางอาหารด้วยไข่ผำ และกรรมวิธีการผลิต
13Halal plant-based liquid egg
ผลิตภัณฑ์ไข่เหลวฮาลาลจากพืช
14Microcapsule Powder from Cold-pressed Black Seed Oil and Its Production Method
ผงไมโครแคปซูลจากน้ำมันเมล็ดเทียนดำสกัดเย็น และกรรมวิธี การผลิต
15Low Fat Milk Fortified with Microcapsule Containing Black Cumin Seed Oil
เครื่องดื่มนมไขมันต่ำเสริมอนุภาคไมโครแคปซูลน้ำมันเมล็ดเทียนดำ
16Functional Salad Dressing Fortified with Omega-3 and Its Process น้ำสลัดเสริมสารฟังก์ชันโอเมกา-6 และกรรมวิธี
17Japanese Sweet Potato Based Custard Fortified with Omega-6 and Its Process. คัสตาร์ดมันหวานญี่ปุ่นพันธ์ุส้มโอกินาวาเสริมโอเมกา 6 จากน้ำมันเมล็ดเทียนดำและกรรมวิธีการผลิต

นอกจากนี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ยังได้ลงนามความร่วมมือด้านวิชาการ เทคโนโลยี และนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ฮาลาล ร่วมกับ 15 หน่วยงาน ได้แก่

1Faculty of Pharmacy Universitas Muhammadiyah SurakartaIndonesia
2Halal Center, Universitas Muhammadiyah SurakartaIndonesia
3Politeknik Kesehatan Kemenkes SemarangIndonesia
4Halal Center, Universitas Muhammadiyah SemarangIndonesia
5Universitas Muhammadiyah PurwokertoIndonesia
6Institute of Research and Community Service, Universitas Muhammadiyah PurwokertoIndonesia
7The Halal Center, Universitas Muhammadiyah PurwokertoIndonesia
8Pusat Studi Gizi & Halal Center, Universitas Muhammadiyah SemarangIndonesia
9Universitas JambiIndonesia
10Universitas Muhammadiyah MagelangIndonesia
11Universitas Teknologi Muhammadiyah JakartaIndonesia
12University Institute of Food Science and Technology, The University of LahorePakistan
13Mongolian Halal Development AssociationMongolia
14Faculty of Medicine and Health Sciences, Universitas Muhammadiyah MakassarIndonesia
15Implementation of Arrangement, UNISBAIndonesia

การจัดงาน Thailand Halal Assembly 2023 ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง มีผู้เข้าร่วมการประชุมแบบ    ออนไซต์ไม่ต่ำกว่า 500 คน ทางออนไลน์กว่า 5,000 บัญชี ผู้เข้าร่วมประชุมมาจากประเทศต่างๆ ถึง 38 ประเทศ ได้แก่ Indonesia, Türkiye, Cambodia, Australia, Bangladesh, Brunei, Bosnia and Herzegovina, New Zealand, Qatar, Colombia, Egypt, France, Hong Kong, India, Indonesia, Iran, Japan, Korea, Malaysia, Mongolia, Netherland, Nigeria, North Macedonia, Pakistan,The Philippines, Saudi Arabia, Singapore, South Africa, Spain, Sudan, Syria, Taiwan, Trinidad & Tobago, Tunisia, United Arab Emirates (UAE), the United States (USA), Vietnam Yemen, and Thailand

งาน Thailand Halal Assembly เป็นเสมือนเวทีนำเสนอแนวคิดฮาลาลในโลกยุคดิจิทัลที่จะทำให้ทุกคนเข้าถึงฮาลาลได้มากขึ้น ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ยังคงมุ่งมั่นสร้างความเชื่อมั่นด้านฮาลาล (Halal Trust) เป็นปณิธานที่ไม่เคยสิ้นสุด

ผู้สนใจข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “Thailand Halal Assembly” สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2218-0618 หรือติดตามได้ที่ www.Thailandhalalassembly.com

Facebook : Thailand Halal Assembly

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า