รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 กุมภาพันธ์ 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ร่วมกับเครือข่ายก้าวไปด้วยกัน จัดการประชุมนานาชาติการประชุมสภาคนพิเศษแห่งเอเชีย “ฉันทำได้” The Asian Congress for People with Special Needs “I am able.” ระหว่างวันที่ 22 – 25 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุมอำไพ สุจริตกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ทั้งนี้มีการจัดแถลงข่าวการจัดงานครั้งนี้ โดยมี Mr.Thomas Kraus ผู้ริเริ่มการประชุมสภาคนพิเศษ กล่าวถึงที่มาของการจัดการประชุมครั้งนี้ รศ.ดร.ศศิลักษณ์ ขยันกิจ คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คณะกรรมการอำนวยการจัดการประชุมและตัวแทนเครือข่ายก้าวไปด้วยกัน เสนอหัวข้อและกิจกรรมในการประชุมสภาคนพิเศษแห่งเอเชีย “ฉันทำได้” ผศ.ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คณะกรรมการอำนวยการจัดการประชุม นำเสนอความเคลื่อนไหวในการสร้างคุณภาพชีวิต และการงานอาชีพของบุคคลที่มีความต้องการพิเศษและคนพิการ และตัวแทนบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ กล่าวถึงประสบการณ์การเข้าร่วมการประชุมสภาคนพิเศษ
การประชุมสภาคนพิเศษ จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2555 การประชุมในปีนี้ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ นับเป็นครั้งที่ 5 และได้ยกระดับขึ้นเป็นการประชุมสภาคนพิเศษแห่งเอเชีย และขยายกลุ่มเป้าหมายสู่ผู้พิการทุกประเภทและผู้ต้องการการสนับสนุนทางจิตใจ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างพื้นที่ทางสังคมให้เกิดการรับฟัง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปลุกศักยภาพบุคคลที่มีความต้องการพิเศษและคนพิการ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งในและต่างประเทศได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่าย และศึกษาวัฒนธรรมการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้และเผยแพร่องค์ความรู้ในการอยู่ร่วมกันและดูแลคุณภาพชีวิตบุคคลที่มีความต้องการพิเศษและคนพิการแก่สังคมไทยและสังคมโลก นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างเครือข่ายผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพื่อขยายองค์ความรู้ตามแนวมนุษยปรัชญา (Anthroposophy) ในการดูแลและพัฒนาศักยภาพแก่บุคคลกลุ่มนี้ โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมจำนวน 175 คน ประกอบด้วยบุคคลที่มีความต้องการพิเศษและคนพิการจำนวน 73 คน จากประเทศต่างๆ เช่น ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย จีน อินเดีย ฯลฯ
รศ.ดร.ศศิลักษณ์ ขยันกิจ คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยถึงแนวคิดหลักของการจัดประชุมสภาคนพิเศษแห่งเอเชียในปีนี้คือ “ฉันทำได้” เพื่อสื่อสารให้เห็นว่าคนพิเศษและคนพิการก็สามารถทำงานและมีอาชีพได้ นอกจากการงานที่ได้เงิน ยังรวมถึงงานที่เติมเต็มจิตใจด้วย
“คนพิเศษที่ร่วมประชุมมีอายุ 15 ปีขึ้นไป พวกเขาไม่ใช่เด็กพิเศษ เราสร้างพื้นที่ให้คนพิเศษได้เติบโตตามศักยภาพ ไม่ใช่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ดูแลแบบประคบประหงม รวมถึงปรับแนวคิดผู้ดูแล แนะเส้นทางการเป็นพ่อแม่ที่ปลุกศักยภาพให้เขาทำได้ เราเชื่อว่าคนพิเศษมิติทางจิตวิญญาณสมบูรณ์ เพียงแต่เขามาอยู่ในร่างที่บกพร่อง ไม่สามารถพูดออกมา มองเห็น หรือได้ยิน การเปิดพื้นที่สังคมให้คนพิเศษจะช่วยให้ให้พวกเขาได้แสดงออกทางความคิด ที่นี่ไม่ใช่ค่าย แต่ละกิจกรรมปลุกให้เขาตื่นขึ้น เติบโตมากขึ้น และได้ไอเดียใช้ชีวิต “ รศ.ดร.ศศิลักษณ์ กล่าว
รศ.ดร.ศศิลักษณ์เผยถึงอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพแก่คนพิเศษและคนพิการในสังคมไทยคือสังคมขาดความรู้ มีเพียงความสงสาร งานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่าคนพิเศษต้องการความเข้าใจ คนในสังคมต้องรู้ว่าสิ่งใดมีความจำเป็นสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายและจะสนับสนุนพวกเขาอย่างไร ความกลัวเป็นอีกปัจจัยที่ผลักให้คนพิเศษออกจากสังคมหรือถอยห่างออกไป การประชุมสภาคนพิเศษมีเป้าหมายที่การอยู่ร่วมกันและมีพื้นที่ยืนในสังคม
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้