รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 มีนาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว, หลักสูตรระยะสั้น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตร Lifelong Learning ด้านสุขภาพและการแพทย์ พร้อมเปิดตัวหลักสูตรผู้บริหารด้านการแพทย์และสุขภาพ “เวฬา” รุ่นที่ 2 หรือ “Vitality Enhancement & Longevity Academy (VELA)” Batch 2 สำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป บุคคลในภาคธุรกิจการบริการด้านสุขภาพและการแพทย์ กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และบุคลากรด้านสาธารณสุขทั้งในและต่างประเทศ โดยมี ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผน การงบประมาณ และสุขภาวะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ พญ.นงนุช ภัทรอนันตนพ ผู้ช่วยอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมในงานเปิดตัวหลักสูตรครั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 ณ เรือนจุฬานฤมิต
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าเรื่องของสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมการเรียนรู้ จากความสำเร็จของหลักสูตร “เวฬา” รุ่นแรกซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดียิ่ง การลงนามความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขและเปิดตัวหลักสูตร Lifelong Learning ด้านสุขภาพและการแพทย์ หลักสูตร “เวฬา” รุ่นที่ 2 ในครั้งนี้เป็นอีกก้าวสำคัญในการต่อยอดองค์ความรู้ในเรื่องนี้ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาผู้นำองค์กรทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนให้มีความพร้อม เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการแพทย์ระดับโลก Medical Hub ของโลก นอกจากนี้ยังช่วยยกระดับมาตรฐานการบริการและนวัตกรรมด้านสุขภาพให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล
พญ.นงนุช ภัทรอนันตนพ ผู้ช่วยอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพของคนไทยและมีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านสุขภาพ การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารและบุคลากรในภาคธุรกิจการบริการด้านสุขภาพและการแพทย์ รวมถึงบุคลากรด้านสาธารณสุขได้เข้าถึงความรู้และเทคโนโลยีล่าสุด มีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงความรู้ด้านสุขภาพและการแพทย์ของประเทศ เพื่อเป็นผู้นำในการพัฒนาและบริหารจัดการองค์กรให้พร้อมต่อการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพนานาชาติ
รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย กล่าวว่า บัณฑิตวิทยาลัยได้ดำเนินการพัฒนาองค์ความรู้ในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในระบบการศึกษาตลอดชีวิต ภายใต้โครงการบริการวิชาการ “การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและสหวิทยาการ” (CUGS Academy : Lifelong Learning and Interdisciplinary, Graduate School, Chulalongkorn University) การลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการร่วมมือกันจัดการความรู้ พัฒนาหลักสูตร Lifelong Learning ในด้านสุขภาพและการแพทย์ จัดทำหลักสูตรอบรมระยะสั้นสำหรับผู้บริหารองค์กร ภาคธุรกิจและประชาชนผู้สนใจทั่วไป เพื่อให้มีสมรรถนะและความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของวิทยาศาสตร์และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้สอดรับกับกระแสโลก ตลอดจนการจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากร เพื่อต่อยอดในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับบริบทการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางสุขภาพ สาธารณสุขและการแพทย์ โดยมุ่งผลลัพธ์เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพดี ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ด้าน Good Health and Well-being
ภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีการเปิดตัวหลักสูตรผู้บริหารก้านการแพทย์และธุรกิจสุขภาพ หลักสูตร “เวฬา” รุ่นที่ 2 โดยคุณกุลวดี ศิริภัทร์ ที่ปรึกษาโครงการอบรมหลักสูตร “เวฬา” ศ.ดร.สถิรกร พงศ์พานิช ประธานอำนวยการหลักสูตร นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผู้แทนจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ประธานดำเนินการหลักสูตร
หลักสูตร “เวฬา” รุ่นที่ 2 (“Vitality Enhancement & Longevity Academy (VELA)” Batch 2) เป็นหลักสูตรระยะสั้น มีเนื้อหาที่มุ่งเน้นองค์ความรู้ที่ล้ำสมัย เช่น การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) เวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อม (Reverse Aging) สุขภาพเพศกับการมีอายุยืน (Sexual Health & Longevity) เวชศาสตร์วิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) การนอนหลับ และสุขภาพจิต (Sleep and Mental Health) โดยผสมผสานการเรียนในหลากหลายรูปแบบ (Learning Experiences) ได้แก่ การบรรยายสรุปประเด็นสำคัญโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก (Executive Brief) ขยายเครือข่ายผู้นำเปิดมุมมอง และโอกาสใหม่ ๆ (Extensive Networking) เปิดประสบการณ์นวัตกรรมสุขภาพล้ำสมัยจากทั่วโลก (Innovation Showcase) เสวนาประเด็นร้อน ด้านธุรกิจกฎหมาย และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง (Panel Discussion) สรรค์สร้างโปรเจกต์ พร้อมต่อยอดธุรกิจอย่างยั่งยืน (Capstone Project) เยี่ยมชมนวัตกรรมในสถานที่จริง ทั้งในและต่างประเทศ (Exclusive Site Visit) เพื่อยกระดับศักยภาพของผู้บริหาร/ผู้ประกอบการด้านธุรกิจและการให้บริการด้านสุขภาพทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรมหลักสูตรนี้ไปใช้พัฒนาองค์กรและพัฒนาธุรกิจให้มีความโดดเด่นในด้านมาตรฐานการให้บริการทัดเทียมกับกลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ระดับนานาชาติ
ศ.ดร.สถิรกร พงศ์พานิช ผู้ช่วยอธิการบดีงานด้านกิจการพิเศษ จุฬาฯ ประธานอำนวยการหลักสูตร “เวฬา” เปิดเผยว่า หลักสูตรนี้พัฒนาขึ้นสำหรับผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลและการดูแลสุขภาพในระยะยาว เป็นหลักสูตรของบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ในโครงการ Lifelong Learning เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต หลักสูตร “เวฬา” 2 จะมีความแตกต่างจากหลักสูตร “เวฬา” 1 ที่ความหลากหลายของเนื้อหาหลักสูตรมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านนวัตกรรมทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือของคณะและหน่วยงานต่างๆ ในจุฬาฯ หวังว่าในอนาคตหลักสูตร “เวฬา” จะเป็น Grand Slam ของประเทศไทยที่ช่วยพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต ทำให้สุขภาพของคนไทยดีขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ผู้ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร “เวฬา” ยังสามารถสะสม Credit ไว้สำหรับต่อยอดเพื่อที่จะศึกษาต่อที่จุฬาฯ ในอนาคตได้
ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านนาโนชีวเวชศาสตร์ จุฬาฯ ประธานดำเนินการหลักสูตร “เวฬา” กล่าวว่า “หลักสูตร “เวฬา” มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแพทย์เพื่อการดูแลสุขภาพ รวมถึงเรื่องวิทยาศาสตร์สุขภาพซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว สามารถนำไปใช้ได้จริง มีผลอ้างอิงทางงานวิจัย เมื่อผู้เข้าอบรมนำไปปฏิบัติจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพ และการดูแลร่างกายให้มีสุขภาพที่ดี เป้าหมายของหลักสูตรนี้ทางจุฬาฯ และกรมอนามัยมองเห็นร่วมกันว่าการที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีไม่ใช่เรื่องของยาหรืออาหารเสริม แต่เป็นเรื่องของการปรับพฤติกรรม เป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิต (Lifestyle Modification) ให้ดีขึ้นเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต หลักสูตรนี้จัดอบรมระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2567 เฉพาะวันพุธบ่าย รวม 16 ครั้ง
รศ.นพ.ปรีดา วาณิชยเศรษฐกุล แพทย์โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ผู้เข้าอบรมหลักสูตร “เวฬา” รุ่นที่ 1 เผยถึงความประทับใจที่มีต่อหลักสูตรนี้ว่า หลักสูตร “เวฬา” ไม่เพียงแต่เพิ่มความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องสุขภาพของตัวเองแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อคนรอบข้าง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติอีกด้วย ความรู้ทางสุขภาพนั้นเป็นความรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง การเข้าอบรมแลกเปลี่ยนความรู้กับอาจารย์และผู้เข้าอบรมด้วยกัน ช่วยตอบคำถามในสิ่งที่อยากรู้ อยากให้ผู้บริหารไม่ว่าจะระดับสูงหรือระดับปฏิบัติการ ผู้มีความเชี่ยวชาญทางศาสตร์รู้ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นสายวิทยาศาสตร์สุขภาพเท่านั้นสามารถเข้าร่วมการอบรมในหลักสูตรนี้ได้ ประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการได้เพื่อนและความร่วมมือกัน หลักสูตรนี้ให้มากกว่าที่เราหวัง ได้มากกว่าที่เราคิด และทำให้เราสามารถประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตัวเอง พัฒนาความรู้และพัฒนางาน เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพดี พร้อมรับกับสังคมที่จะมีผู้ที่อายุยืนยาวขึ้นโดยมีสุขภาพดี
ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดหลักสูตรและสมัครเข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้บริหารด้านการแพทย์และสุขภาพ “เวฬา (VELA)” รุ่นที่ 2 หรือ “Vitality Enhancement & Longevity Academy (VELA)” Batch 2 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ที่ เว็บไซต์ https://lifelong.chula.ac.th/vela หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ กองนวัตบริการสุขภาวะ กรมอนามัย โทร. 0-2590-4564
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้