รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
8 มีนาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ โครงการจุฬาอารี และ World Bank จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาความมั่นคงครอบครัวไทย ผ่านพ้นภัยวิกฤตประชากร” เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2567 ณ ห้องเพลนารี ฮอลล์ 1 (Plenary Hall 1) ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานกล่าวเปิดงานและประกาศนโยบาย “พัฒนาความมั่นคงครอบครัวไทย ผ่านพ้นภัยวิกฤตประชากร”
การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้สังคมตระหนักถึงประเด็นท้าทายของประชากรที่ส่งผลสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชากรทุกช่วงวัยและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ รวมทั้งให้ทุกภาคส่วนร่วมกันออกแบบนโยบาย มาตรการ และขับเคลื่อนการพัฒนาความมั่นคงของครอบครัวไทยสู่ความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีผู้บริหารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้บริหารกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน เครือข่าย NGOs และองค์กรประชาสังคม รวมถึงองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ สื่อมวลชน และ Influencers เข้าร่วมงานกว่า 300 คน
ในโอกาสนี้ ศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการจุฬาอารี ได้ชี้แจงกระบวนการประชุมระดมความคิดเห็นในรูปแบบ World Café จากนั้นเป็นการปฏิบัติการกลุ่มย่อยระดมความคิดเห็นจาก 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการและผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มระบบนิเวศน์เพื่อความมั่นคงของครอบครัว เพื่อร่วมออกแบบนโยบาย มาตรการและขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาความมั่นคงของครอบครัวสู่ความมั่นคงของมนุษย์
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า โครงสร้างประชากรไทยมีประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง ในขณะที่สัดส่วนประชากรสูงอายุยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อนาคตของประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตวัยแรงงานที่ขาดแคลนและภาวะพึ่งพิงของผู้สูงวัยที่เพิ่มมากขึ้น ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานและทัศนคติของคนรุ่นใหม่ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของแรงงานนอกระบบรูปแบบใหม่ (Gig workers) ซึ่งมีรายได้ที่ไม่แน่นอน ต้องแบกรับความเสี่ยงต่างๆ ในชีวิตและการทำงาน ในขณะที่ผู้สูงอายุยังคงทำงานเนื่องจากความจำเป็นทางเศรษฐกิจ เงินออมไม่พอ ไม่มีลูกหลานดูแล นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาและว่างงาน ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวรายได้น้อย ข้อมูลขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก พบว่า “ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา” ยังเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย ในระยะยาว ภาครัฐและทุกภาคส่วนของสังคมจึงต้องตื่นตัวมากขึ้นในการกำหนดหรือออกแบบนโยบายที่จะทำให้รายได้จากแรงงานเพิ่มสูงขึ้น และจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย เพื่อให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับโลกยุคปัจจุบันและมีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานสมัยใหม่ ให้ความรู้และให้ความสำคัญกับการปรับพฤติกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการการเงิน การออม
นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสถานการณ์ต่างๆ ข้างต้นถือเป็นภารกิจจำเป็นเร่งด่วนของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่จะต้องร่วมกันออกแบบนโยบาย มาตรการ และกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนภารกิจให้สอดรับกับประเด็นท้าทายและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากวิกฤตประชากรที่จะส่งผลต่อความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งนี้หลังจากการประชุมครั้งนี้ ทางกระทรวงฯ จะดำเนินการจัดทำสมุดปกขาว “พัฒนาความมั่นคงครอบครัวไทย เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์” เสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในเดือนเมษายน 2567 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ จากนั้นจะนำเสนอในการประชุมคณะกรรมาธิการประชากรและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 57 (57th Session of Commission on Population and Development : CPD57) ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 29 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2567
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้