รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 มีนาคม 2567
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
จุฬาฯ ปรับพื้นที่อาคารจามจุรี 9 พลิกโฉมใหม่สร้างศูนย์การเรียนรู้สุดทันสมัยสำหรับนิสิตต่างชาติ รวมทั้งนิสิตไทยก็สามารถเข้ามาใช้บริการได้ ตอบสนองยุทธศาสตร์ จุฬาฯ ในการส่งเสริมความเป็นนานาชาติ จะเปิดใช้บริการในเดือนสิงหาคมนี้
นายโภไคย ศรีรัตโนภาส CEO CU Enterprise และผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านกิจการพิเศษ เปิดเผยถึงการปรับปรุงพื้นที่อาคารจามจุรี 9 เป็นศูนย์การเรียนรู้แห่งใหม่สำหรับนิสิตและอาจารย์จากนานาชาติว่า เดิมจุฬาฯ มีศูนย์การเรียนรู้ ภายใต้ชื่อ PLEARN Space ที่อาคารเปรมบุรฉัตร ซึ่งมีนิสิตไทยมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นนิสิตไทย จากยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมความเป็นนานาชาติ เพิ่มความสะดวกให้นิสิตและคณาจารย์ที่เป็นชาวต่างชาติมาศึกษาและใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยมากขึ้น จึงควรมีพื้นที่การเรียนรู้สำหรับในรูปแบบ International Co-Working Space เพื่อเป็นศูนย์กลางในการสร้างการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนิสิตและคณาจารย์ชาวไทยและต่างชาติ จากคณะต่างๆ กัน ได้มาพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำกิจกรรมร่วมกัน
การเลือกอาคารจามจุรี 9 เป็นที่ตั้งของศูนย์การเรียนรู้แห่งใหม่สำหรับนิสิตและอาจารย์จากนานาชาติ นายโภไคยให้เหตุผลว่าเนื่องจากอาคารจามจุรี 9 มีความเหมาะสมทั้งการเป็นที่รู้จักของนิสิตและอาจารย์ชาวต่างชาติที่มาใช้บริการที่ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ รวมถึงมีความสะดวกในการเดินทาง มีรถ Shuttle Pop Bus ผ่านหลายสาย และที่ตั้งของอาคารที่ใกล้กับสามย่านมิตรทาวน์ Block28 U-center ซึ่งมีผู้อาศัยและร้านค้าต่างๆ หลายพันแห่ง พร้อมทั้งได้สำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือในจุฬาฯ พบว่าสถานที่ยอดนิยมที่มีผู้ใช้งานมากคือหอสมุดกลาง และสามย่านมิตรทาวน์ ซึ่งอาคารจามจุรี 9 อยู่ตรงกลางระหว่างสถานที่ทั้งสองแห่งนี้พอดีด้วย
ศูนย์การเรียนรู้อาคารจามจุรี 9 เสริมบรรยากาศความเป็นนานาชาติ
นายโภไคย กล่าวว่ามหาวิทยาลัยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ศูนย์การเรียนรู้ที่อาคารจามจุรี 9 เป็น International User-Friendly Design เริ่มตั้งแต่การออกแบบ ตกแต่ง การเลือกธีม เลือกสีเฟอร์นิเจอร์ เพื่อสร้างบรรยากาศความเป็นนานาชาติ โดยมีป้ายให้คำแนะนำต่างๆ เป็นภาษาต่างประเทศถึง 4 ภาษา ที่ใช้งานมากเป็นพิเศษ พร้อมนำธงชาติประเทศต่างๆ มาประดับ เพื่อสื่อให้เห็นว่าศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้เปิดกว้างสำหรับทุกคน ทุกชาติ รวมถึงนิสิตชาวไทยก็สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ในศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ได้
พื้นที่ใช้สอยและสิ่งอำนวยความสะดวกในศูนย์การเรียนรู้นานาชาติ
ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้มีพื้นที่กว่า 400 ตร.ม. อยู่ที่ชั้น 3 อาคารจามจุรี 9 พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 โซนตามระดับการใช้เสียง โซนแรก ใช้เสียงดังได้ เหมาะสำหรับการทำกิจกรรม Workshop และ Events ได้ โซนที่สอง ใช้เสียงได้เล็กน้อย เช่น ใช้ในการประชุม พูดคุยทำงานเป็นทีม หรือ Working Group โดยมีอุปกรณ์ดิจิทัลอำนวยความสะดวกไว้รองรับ และ โซนสุดท้าย เป็นโซนที่เงียบที่สุด ใช้สำหรับอ่านหนังสือและพักผ่อน เป็นพื้นที่ที่มองเห็นวิวสวย เห็นสีเขียวของสนามกีฬาจุฬาฯ ในระยะไกล
ประโยชน์ที่นิสิตจะได้รับจากศูนย์การเรียนรู้นานาชาติ
ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้จะเป็นศูนย์กลางให้นิสิตและคณาจารย์ทั้งชาวไทยและต่างชาติได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนรู้เรียนรู้ร่วมกันในเรื่องของภาษาและวัฒนธรรม รวมทั้งเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามศาสตร์เพื่อให้ได้งานวิจัยหรือนวัตกรรมที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของสังคมไทยและสังคมโลกนอกจากนี้ยังส่งเสริมนิสิตในเรื่องการเรียนด้วยตนเอง โดยร่วมมือกับสำนักบริหารวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น กิจกรรม Open House หรือ Education Fair รวมถึง International Consulting Desk เพื่อให้นิสิตสามารถมาพูดคุยหาข้อมูลในการศึกษาต่อต่างประเทศได้
“ศูนย์การเรียนรู้นานาชาติ อาคารจามจุรี 9 เริ่มดำเนินการปรับปรุงตามแผนตั้งแต่เดือนมีนาคม จะใช้เวลาในการปรับปรุง 5 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคมปีนี้ พร้อมต้อนรับเปิดภาคการศึกษาใหม่ของนิสิตจุฬาฯ” ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านกิจการพิเศษ จุฬาฯ กล่าว
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้