ข่าวสารจุฬาฯ

ข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วย ประมวลจริยธรรม พ.ศ.2567

      เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เผยแพร่ ข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วย ประมวลจริยธรรม 2567 ซึ่งเป็นข้อบังคับใหม่เกี่ยวกับประมวลจริยธรรม โดยอำนาจตามมาตรา 21 (2) ของพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 รวมถึงข้อ 7 (2) ของข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรื่อง ธรรมาภิบาลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2564 ในการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 883 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย ระบุค่านิยมและกลไกในการปฏิบัติตามต่อมาตรฐานนี้ให้ทุกประเภทของบุคลากรในมหาวิทยาลัย เพื่อให้การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น

      ซึ่งข้อบังคับใหม่นี้จะครอบคลุมทั้งการกำกับดูแลตั้งแต่นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัย ซึ่งต้องแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตและเป็นกลาง รวมถึงการรักษาความลับและการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้บริหาร

      ขณะที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะต้องบริหารองค์กรตามนโยบายอย่างเต็มความสามารถ รักษาข้อมูลลับและปฏิบัติตามกฎหมาย และรับฟังความคิดเห็นทุกฝ่าย

      ในขณะเดียวกันผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยจะต้องปฏิบัติตามจริยธรรมหลัก 9 ประการ เช่น การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบและพัฒนางานของมหาวิทยาลัยให้เจริญก้าวหน้า การเกียรติผู้ร่วมงานและละเว้นความประพฤติที่เป็นการล่วงละเมิดบุคคลอื่น การพัฒนาตนเองและพร้อมทำงานเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญที่จะเสริมสร้างความโปร่งใสและความรับผิดชอบในมหาวิทยาลัย

      ในฐานะของคณาจารย์มีหลักจริยธรรมเฉพาะ 6 ประการ เช่น การสอนและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างรับผิดชอบ การแสดงความเห็นทางวิชาการอย่างสุจริตและไม่ถูกครอบงำจากผู้อื่น ซึ่งเป็นการส่งเสริมความเป็นมนุษย์ที่ดีและพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตอย่างเหมาะสม

      สำหรับนิสิตก็มีหลักจริยธรรมเฉพาะอีก 4 ประการ เช่น การตั้งใจพัฒนาตนเองให้มีความรู้และทักษะการดำรงชีวิต การแสดงความเห็นที่เป็นกัลยาณมิตรและการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการส่งเสริมความรับผิดชอบและความเป็นสังคมที่ดีในสังคมมหาวิทยาลัย

      จะเห็นได้ว่า ข้อบังคับดังกล่าวเป็นการเน้นย้ำความสำคัญของความโปร่งใสและการปฏิบัติตามกฎหมายที่เป็นรากฐานของการบริหารจัดการที่ดีในมหาวิทยาลัย และเป็นการเสนอแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการที่เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า