ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ แถลงข่าวเปิดตัวระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับ (CU-ECCS) พัฒนาสำเร็จเป็นแห่งแรก สะดวก รวดเร็ว ถูกระเบียบ ปลอดภัย ติดตามง่าย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานแถลงข่าวเปิดตัว“ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับ”(CU-ECCS) ซึ่งจุฬาฯ พัฒนาสำเร็จเป็นแห่งแรก” สะดวก รวดเร็ว ถูกระเบียบ ปลอดภัย ติดตามง่าย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2567 ณ ห้อง 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีอ.ศิรธัช ศิริชุมแสง ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านบริหาร จุฬาฯ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับ ผศ.ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา รองอธิการบดี ด้านบริหารทั่วไปและศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ กล่าวเชิญชวนประชาคมจุฬาฯ ใช้งานระบบ CU-ECCS

            ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับ (CU Electronic Confidential correspondence System:CU-ECCS) มีจุดเริ่มต้นจากปัญหาและอุปสรรคในการรับ-ส่งเอกสารลับของจุฬาฯ ในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งมีการปิดสถานที่ทำการในมหาวิทยาลัยเป็นการชั่วคราว มหาวิทยาลัยจึงได้พัฒนาระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์สำหรับใช้ในการรับ-ส่งเอกสารลับของมหาวิทยาลัยและส่วนงานต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 และพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พัฒนาดำเนินการระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เอกสารลับครบทุกขั้นตอนเป็นแห่งแรก แทนการดำเนินการในรูปแบบเดิมซึ่งทำในรูปแบบ Manual เอกสารลับที่นำเข้าระบบ CU-ECCS ได้แก่ เอกสารที่มีชั้นความลับระดับลับและลับมาก เอกสารที่ต้องระมัดระวังในการเข้าถึง เอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานบุคคล งานกฎหมาย งานวินัยนิสิต และเอกสารอื่นๆ ที่เข้าข่ายเอกสารลับ

            ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับเป็นระบบที่ทำงานตามขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านเอกสารลับที่ถูกต้องตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ มีความปลอดภัยในการเข้าใช้งานระบบสูงตามมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และติดตามเอกสารลับได้ง่าย ไม่ต้องกังวลเรื่องเอกสารสูญหายระหว่างทางมีฟังก์ชั่นต่างๆ ช่วยอำนวยความสะดวกในการคัดแยกประเภทเอกสารลับ จัดเรียง ใช้งาน ติดตาม จัดเก็บ และค้นหา สามารถเรียกดูตัวอย่างเอกสารลับในระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เพียงใส่รหัสความปลอดภัยส่วนบุคคล นอกจากนี้ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับยังรองรับเอกสารได้หลากหลายรูปแบบ รวมทั้งสามารถสร้างเอกสารลับประเภทต่างๆ ภายในระบบได้ การจัดเก็บเอกสารลับเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

          จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพร้อมเริ่มใช้งานระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับตั้งแต่ 26 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ในอนาคตจะเปิดให้หน่วยงานต่างๆ นำไปเป็นโมเดลใช้พัฒนาต่อยอดต่อไป

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า