รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 มีนาคม 2567
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผน การงบประมาณ และสุขภาวะ จุฬาฯ ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ อดีตคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์วิจัยนวัตสหศิลป์เพื่อสุขภาวะ ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา และ นพ.สัณฐิติ ดะห์ลัน รักษาการผู้อำนวยการศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ เข้าร่วมการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพระดับชาติ ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ:”Building a Culture of Health Promotion: Fostering Mental Health Awareness and Support on Campus” ภายใต้เครือข่าย Thai University Network – Health Promotion Network (TUN-HPN) โดยมี ศ.ดร.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ประธาน TUN-HPN ปี 2023 และรองอธิการบดีด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผนการงบประมาณและสุขภาวะ จุฬาฯ เป็นประธานการประชุม เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567 ณ ห้องราชมณเฑียร แกรนด์ บอลรูม โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์
การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพระดับชาติ ครั้งที่ 2 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 – 22 มีนาคม 2567 เพื่อเปิดโอกาสให้เครือข่ายมหาวิทยาลัยไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (TUN-HPN) รวมถึงมหาวิทยาลัยไทยที่สนใจเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพจิตและพัฒนากลไกการดูแลด้านสุขภาพจิตในเครือข่ายมหาวิทยาลัยไทย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพในมหาวิทยาลัย โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยไทยที่เป็นแกนนำระดับภูมิภาค ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยบูรพามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ผ่านกระบวนการการเรียนรู้ร่วมกัน การทำวิจัยร่วมกัน ตลอดจนการขยายเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้มีความเข้มแข็ง สามารถนำกรอบแนวทางมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพไปปฏิบัติได้อย่างทั่วถึง เพื่อมุ่งสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพ” ในระดับนานาชาติ ส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนทั้งในปัจจุบันและในอนาคตต่อไป
การประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ธันวดี สุขสาโรจน์ รองเลขาธิการเครือข่าย AUN-HPN และรักษาการแทนรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดร.ชลธิศ ธีระฐิติ ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และ รศ.ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ เลขาธิการเครือข่าย AUN-HPN และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม ภายในงานมีการบรรยายพิเศษจากวิทยากรชั้นนำที่ให้ความรู้ด้านสถานการณ์สุขภาพจิตในเยาวชน ดังนี้
– “สถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาพจิตของวัยรุ่นไทย” โดย ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
– “บทบาทของสถาบันการศึกษาในการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต และความเป็นอยู่ที่ดีของนิสิต นักศึกษา” โดย ศ.ดร.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ประธาน TUN-HPN ปี 2023 และรองอธิการบดีด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผนการงบประมาณและสุขภาวะ จุฬาฯ
– “โครงการสำรวจสถานการณ์สุขภาวะจิตของนิสิต นักศึกษา และการส่งเสริมกลไกการดูแลด้านสุขภาพจิตในเครือข่ายมหาวิทยาลัยไทย” โดย ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธุ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ
– “การบูรณาการ Neurotechnology และ Multimodal lifestyle intervention เพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางใจและประสิทธิภาพการทำงานของสมอง” โดย ผศ.ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
– “สถานการณ์ “ซึมเศร้า”’ ของนิสิต-นักศึกษาไทย : ผลการสำรวจภาวะสุขภาพจิตโดยโครงการมหาวิทยาลัยแห่งความสุข (Happy University)” โดย อ.ดร.นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
นอกจากนี้ยังมีการจัดเวทีเสวนา “สถานการณ์สุขภาพจิตของนิสิต นักศึกษาในมหาวิทยาลัย: ปัญหาและวิธีการ” และการจัดนิทรรศการ Mindful Wellness: Fostering Mental Wellbeing
ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (Thai University Network- Health Promotion Network :TUN-HPN) ปี 2566 ได้มอบธงให้กับประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยไทยเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ในปี 2567 นอกจากนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลผลการประเมิน Healthy University Rating System (HURS) ปี 2023 ระดับ 4 ดาว เป็นปีที่ 2 โดยมี ดร.ชลธิศ ธีระฐิติ ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้