รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 มีนาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
วันอังคารที่ 26 มีนาคม 2567 เวลา 07.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงร่วมงานครบรอบ 107 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทรงวางพุ่มดอกไม้และทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า และเสด็จฯ ทรงบาตรพระสงฆ์ร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ บุคลากร นิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน ณ บริเวณเสาธง หน้าหอประชุมจุฬาฯ
จากนั้นสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ไปยังหน้ามุขหอประชุมจุฬาฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายกสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้แทนคณาจารย์ บุคลากร นิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันเข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ ศ.กิตติคุณ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล นายกสภามหาวิทยาลัยถวายดอกไม้ธูปเทียนแพ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ 2 เมษายน 2567 จากนั้นเสด็จฯ ไปยังห้องรับรอง หอประชุมจุฬาฯ นายกสภามหาวิทยาลัยทูลเกล้าฯ ถวายปากกาทรงงานประดับพระเกี้ยว เป็นของที่ระลึกเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ
ต่อมา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปยังโถงกระจกหอประชุมจุฬาฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้แทนประชาคมจุฬาฯ ภาคส่วนต่างๆ เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย และพระราชทานของที่ระลึกแก่ผู้มีอุปการคุณ จากนั้นเสด็จฯ ไปยังหอประชุมจุฬาฯ ทอดพระเนตรการแสดงวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ประกอบด้วย การบรรเลงบทเพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์โดยวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ การขับร้องร่วมกับการจับระบำ เพลงสารถี สามชั้น และระบำอู่ทอง โดยวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ในโอกาสนี้ ทรงบรรเลงซอด้วงร่วมกับวงสายใยจามจุรี วงดนตรีสากล สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีเวียดนาม ร่วมกับการแสดงประกอบโดยภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการขับร้องและบรรเลงดนตรีเรื่อง “เวียดนามเย็นใจ” บทพระราชนิพนธ์และการแสดงพระราชทานในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เวลา 13.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปยังอาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะผู้บริหารกระทรวงมหาดไทยและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดพร้อมคู่สมรส เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ จากนั้นเสด็จฯ ไปยังคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้าย “อาคารบรมนาถศรีนครินทร์” ทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมแผ่นจารึกอาคารบรมนาถศรีนครินทร์ และเสด็จฯ ทอดพระเนตรนิทรรศการความสำเร็จในโอกาสครบรอบ 84 ปีคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
อาคารบรมนาถศรีนครินทร์ เดิมมีชื่อว่าอาคารศูนย์ความเป็นเลิศทางทันตแพทยศาสตร์ ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอาคารใหม่ว่าอาคาร”บรมนาถศรีนครินทร์” เป็นอาคารสูง 19 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 34,000 ตารางเมตร มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานเพื่อให้บริการผู้ป่วยทันตกรรมระดับตติยภูมิ ผ่านศูนย์เชี่ยวชาญทางการรักษาโรคทางทันตกรรมในด้านต่างๆ และเพื่อใช้ในการเรียนการสอนทั้งทางปฏิบัติการและคลินิกของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา รองรับการขยายการผลิตบัณฑิตและหลักสูตรให้มีความต่อเนื่องเพื่อความเป็นเลิศทางทันตแพทยศาสตร์
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้