ข่าวสารจุฬาฯ

การประชุมเครือข่ายร่วมสร้างสังคมถ้วนถึงสำหรับทุกคน “แพลตฟอร์มสังคมแบบมีส่วนร่วม: เสียงที่ไม่ได้ยิน”

สำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) และภาคีต่างๆ จัดการประชุมเครือข่ายร่วมสร้างสังคมถ้วนถึงสำหรับทุกคน ในหัวข้อแพลตฟอร์มสังคมแบบมีส่วนร่วม: “เสียงที่ไม่ได้ยิน (The Unheard Voices)” ในวันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน 2567 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ TK Hall สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การประชุมเครือข่ายร่วมสร้างสังคมถ้วนถึงสำหรับทุกคน จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนและสร้างเครือข่ายความร่วมมือภาควิชาการและภาคสังคมระดับประเทศ และเผยแพร่ผลงานวิจัย บูรณาการข้ามศาสตร์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสังคมถ้วนถึงสำหรับทุกคนในประเทศไทย เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน 

ในงานมีการปาฐกถาพิเศษเรื่องสร้างโอกาสและยกระดับการคุ้มครองทางสังคมสำหรับประชากรทุกช่วงวัยกับการมี ส่วนร่วมสู่การเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน โดย คุณสิริลักษณ์ เชียงว่อง หัวหน้าสำนักงาน UNFPA Thailand กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และผู้แทนกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

นอกจากนี้มีการเสวนาในรูปแบบ Roundtable: What is inclusive society platform? “The Unheard Voices” และ การแสดงผลงานการวิจัย ดังนี้

  • 10.00 -10.30 น.

หัวข้อที่ 1: อายุ เพศสภาพ และ ความรุนแรง โดย รศ.ดร.ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านวิชาการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาฯ

ผู้ร่วมเสวนา:

1) คุณสิริลักษณ์ เชียงว่อง หัวหน้าสำนักงาน UNFPA Thailand กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย

2) ศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ และหัวหน้าโครงการไทยอารี/จุฬาอารี

3) รศ.ดร.สุมนทิพย์ จิตสว่าง หัวหน้าโครงการวิจัยสังคมไทยไร้ความรุนแรง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

  • 10.30 -11.00 น.

หัวข้อที่ 2: แรงงาน การย้ายถิ่น และผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ โดย รศ.ดร.สุธี อนันต์สุขสมศรี รองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

ผู้ร่วมเสวนา:

1) ศ.ดร.สุภางค์ จันทวานิช ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ

2) รศ.ดร.รัตติยา ภูละออ รองคณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ และหน่วยปฏิบัติการวิจัยและประสานงาน เพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาฯ (CU-COLLAR)

3) ดร.มนทกานต์ ฉิมมามี นักวิจัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ

  • 11.00 – 11.30 น.

หัวข้อที่ 3: การศึกษาแบบเรียนรวมและความต้องการจำเป็นที่หลากหลายทางการศึกษา โดย อ.ดร.ชนัญชิดา ทุมมานนท์ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการพัฒนาหลักสูตรเพื่ออบรมผู้พ้นโทษกลุ่มผู้เสพยาเสพติดไม่ให้กลับไปกระทำผิดซ้ำ และโครงการให้คำปรึกษานิสิตในบริบทของการส่งเสริมจิตสำนึกสาธารณะของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง

ผู้ร่วมเสวนา:

1) คุณโรสซาลีนา อเล็กซานเดอร์ แมคเคย์ ประธานมูลนิธิ เดอะเรนโบว์รูม

2) ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ รองหัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

3) ผศ.ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม ประธานหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษาพิเศษและการเรียนรวม คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และหัวหน้าโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ

  • 11.30 – 12.00 น.

หัวข้อที่ 4: “การสร้างความเป็นธรรมที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดย ดร.ศยามล เจริญรัตน์ นักวิจัยชำนาญการ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ

ผู้ร่วมเสวนา:

1) คุณธนะชัย สุนทรเวช ผู้จัดการอาวุโส ด้านการพัฒนาหุ้นส่วนทางสังคมและการมีส่วนร่วม ผู้ดูแลโครงการโรงเรียนตั้งต้นดี สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย

2) รศ.ดร.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ

3) ผู้แทนสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย

4) ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักบริหารวิจัย ฝ่ายพัฒนาและบูรณาการงานวิจัย โทร. 0-2218-0220

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า