รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 เมษายน 2567
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ และมหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีส่งมอบ “นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace)” เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการขาขาดทั่วประเทศไทย จำนวน 200 ราย ให้กับโรงพยาบาลทั้ง 17 แห่งทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 ณ อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการของขวัญปีใหม่ 2567 จากกระทรวง อว. ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัย จาก วช.
พิธีส่งมอบนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace) ในครั้งนี้มี น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้กล่าวเปิดงานและกล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดงาน โดยมี รศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ หัวหน้าโครงการวิจัย “การเพิ่มคุณภาพชีวิตให้คนพิการขาขาดทั่วประเทศไทยด้วยนวัตกรรม เท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace)” พร้อมด้วยผู้แทนรับมอบนวัตกรรมเท้าเทียม ทั้ง 7 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร โรงพยาบาลสิรินธร ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ โรงพยาบาลนครปฐม โรงพยาบาลสมุทรสาคร สถาบันราชประชาสมาสัย สมุทรปราการ และโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปราจีนบุรี ขึ้นรับมอบ โอกาสนี้ ดร. ศุภิชัย ตั้งใจตรง กรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ เป็นผู้แทนผู้บริหารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะหน่วยงานกลางในการประสานงานโครงการ เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการส่งมอบนวัตกรรมดังกล่าว
น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า กระทรวง อว. ในนามของรัฐบาล มอบของขวัญปีใหม่ พ.ศ.2567 ให้กับประชาชนด้วยผลงานนวัตกรรมของภาครัฐที่ให้โอกาสประชาชนทั้งกลุ่มที่ต้องการเป็นพิเศษและกลุ่มประชาชนทั่วไป โดยมุ่งเน้นผลิตกำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมต่าง ๆ เท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace) เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูง มีคุณภาพ น้ำหนักเบา รูปลักษณ์สวยงาม เกิดจากความเก่งของคนไทยแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในประเทศไทยที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด กระทรวง อว. มีความยินดีที่จะมอบเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace) ให้กับผู้ต้องการได้มีโอกาสได้ใช้นวัตกรรมที่ทันสมัยเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และหวังเป็นอย่างยิ่งว่านวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace) จะเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อยอดให้เข้าถึงประชาชนในทุกกลุ่มได้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ รวมถึงการคิดค้นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ด้วยฐานทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์กับประชาชน เป็นองค์ความรู้ที่เสริมศักยภาพในด้านคุณภาพชีวิต โดย วช. ได้ให้การสนับสนุนแก่
รศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ และคณะวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในการดำเนินงานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการขาขาดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น และยังช่วยลดต้นทุนในการนำเข้าเท้าเทียมจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูง เพื่อช่วยเพิ่มความสุขให้กับผู้พิการ โดยจะมีการติดตามประเมินการใช้งาน เพื่อนำข้อมูลสนับสนุนการขอเข้าระบบของ สปสช. ต่อไป
รศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ พร้อมด้วย รศ.ดร.ชัญญาพันธ์ วิรุฬห์ศรี ผู้ร่วมวิจัย และคณะวิจัยฯ กล่าวว่า เท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace) ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2566 มีคุณภาพสูงได้รับการรับรองมาตรฐานสากลระบบบริหารคุณภาพการผลิตเครื่องมือแพทย์ ISO13485 และได้ผ่านการทดสอบความแข็งแรงตามมาตรการสากล ISO 10328 (Structural testing of lower-limb prostheses) จากประเทศเยอรมนี รวมถึงทำการทดลองทางด้านทางด้านคลินิก (Clinical trial) โดยโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เรียบร้อยแล้ว
เท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace) เป็นวัสดุอุปกรณ์นวัตกรรมที่มีคุณภาพ พัฒนาโดยฝีมือนักวิจัยของไทยซึ่งมุ่งหวังให้ผู้พิการที่ด้อยโอกาสและขาดแคลนทุนทรัพย์สามารถเข้าถึงและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการได้ดียิ่งขึ้น โดย รศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ ได้นำตัวแทนผู้พิการที่ได้ทดสอบและใช้นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace) ในการดำเนินชีวิตประจำวันและเล่นกีฬาจริงมาสาธิตให้ผู้เข้าร่วมงานได้ทราบถึงคุณสมบัติและความมั่นใจในการสวมใส่ ซึ่งผู้พิการทั้ง 2 ท่านได้แสดงความมั่นใจและรู้สึกปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ทั้งขณะที่เดิน วิ่ง หรือซ้อมกีฬา นวัตกรรมนี้ช่วยให้ผู้พิการใช้ชีวิตประจำวันด้วยความคล่องตัวขึ้นตอบโจทย์ความต้องการของผู้พิการ
ทั้งนี้ วช. กำหนดส่งมอบนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส (sPace) ไปยังทั่วทุกภูมิภาค และจะติดตามประเมินผลการใช้งานอย่างสม่ำเสมอต่อไป เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนและการผลักดันเข้าสู่ระบบสุขภาพ ทั้งนี้ การวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส (sPace) มุ่งหวังให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงนวัตกรรมที่ทันสมัย มีความปลอดภัยและได้รับมาตรฐาน สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของผู้พิการให้สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติมากขึ้น
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้