รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 เมษายน 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน วศินี ฤทธิ์ดี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) และภาคีวิชาการ จัดการประชุมเครือข่ายร่วมสร้างสังคมถ้วนถึงสำหรับทุกคนในรูปแบบการเสวนา Roundtable: What is inclusive society platform? “The Unheard Voices” และจัดแสดงผลงานวิจัยเกี่ยวกับประเด็นสังคมสำหรับทุกคน เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 ณ TK Hall สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาฯ โดยมี รศ.ดร.พรรณี ชีวิน ศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านการวิจัย จุฬาฯ เป็นประธานเปิดการประชุมเครือข่ายฯ ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนด้วยการแก้ปัญหาที่ครอบคลุมต่อความท้าทายทางสังคมที่ใช้แนวทางหลากหลาย มีความร่วมมือและการร่วมสร้างนวัตกรรม ตลอดจนการส่งเสริมความเท่าเทียมอย่างเป็นธรรม โดยการสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการแลกเปลี่ยน ถือเป็นการสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือให้เกิดพื้นที่ที่สามารถแบ่งปันประสบการณ์และข้อมูลเชิงลึก ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนำไปสู่แนวทางการพัฒนาและแนวทางแก้ไขทางสังคมที่เป็นไปได้ รวมทั้งมีความสอดคล้องกับการดำเนินงานในทุกภาคส่วน
การเสวนา Roundtable: What is inclusive society platform? “The Unheard Voices” เป็นการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ได้แก่ หน่วยงานสหประชาชาติ องค์กรท้องถิ่น และสถาบันการศึกษา ในการพูดคุยและเน้นย้ำประเด็นการรับฟังเพียงของ “ทุกคน” เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนโยบายและการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่เท่าเทียมกันมากขึ้น ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่
– “สร้างโอกาสและยกระดับการคุ้มครองทางสังคมสำหรับประชากรทุกช่วงวัยกับการมีส่วนร่วมสู่การเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน”
ร่วมเสวนาโดย ศ.กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะกรรมการนโยบายวิจัยและนวัตกรรม จุฬาฯ คุณสตตกมล เกียรติพานิช ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ คุณสิริลักษณ์ เชียงว่อง หัวหน้าสำนักงาน UNFPA Thailand กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ผศ.ดร.วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ และคุณณฐอร อินทร์ดีศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
– “อายุ เพศสภาพ และ ความรุนแรง” การสร้างสังคมถ้วนถึงทั้งในด้านอายุ การทำงานที่มีความเสมอภาคทางเพศ และการใช้ความรุนแรงในสังคม
ร่วมเสวนาโดย รศ.ดร.ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาฯ คุณสิริลักษณ์ เชียงว่อง หัวหน้าสำนักงาน UNFPA Thailand กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย ผศ.ดร.รักชนก คชานุบาล รองคณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ และโครงการไทยอารี/จุฬาอารี และ รศ.ดร.สุมนทิพย์ จิตสว่าง หัวหน้าโครงการวิจัยสังคมไทยไร้ความรุนแรง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
– “แรงงาน การย้ายถิ่น และ ผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ” การสร้างความความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวกับความหลากหลายในสังคมของกลุ่มผู้ที่อพยพย้ายถิ่นฐาน
ร่วมเสวนาโดย รศ.ดร.สุธี อนันต์สุขสมศรี รองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ศ.ดร.สุภางค์ จันทวานิช ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ รศ.ดร.รัตติยา ภูละออ รองคณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ และหน่วยปฏิบัติการวิจัยและประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาฯ (CU-COLLAR) และ ดร.เปรมใจ วังศิริไพศาล นักวิจัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ
– “การศึกษาแบบเรียนรวมและความต้องการจำเป็นที่หลากหลายทางการศึกษา” การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งคำนึงถึงความหลากหลายของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนทั้งผู้เรียนทั่วไปและผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้เข้าถึงการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม
ร่วมเสวนาโดย อ.ดร.ชนัญชิดา ทุมมานนท์ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการพัฒนาหลักสูตรเพื่ออบรมผู้พ้นโทษกลุ่มผู้เสพยาเสพติดไม่ให้กลับไปกระทำผิดซ้ำ และ โครงการให้คำปรึกษานิสิตในบริบทของการส่งเสริมจิตสำนึกสาธารณะของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง คุณโรสซาลีนา อเล็กซานเดอร์ แมคเคย์ ประธานมูลนิธิ เดอะเรนโบว์รูม ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ รองหัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม ประธานหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษาพิเศษและการเรียนรวม คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และหัวหน้าโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ
– “การสร้างความเป็นธรรมที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” บอกเล่าประสบการณ์การทำงานในกระบวนการสร้างความเป็นธรรมในสังคมโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ร่วมเสวนาโดย อ.ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและเชื่อมโยงสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ คุณธนะชัย สุนทรเวช ผู้จัดการอาวุโส ด้านการพัฒนาหุ้นส่วนทางสังคมและการมีส่วนร่วม และหัวหน้าโครงการโรงเรียนตั้งต้นดี สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย คุณอรรคณัฐ วันทนะสมบัติ นักวิจัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ และ ดร.ศยามล เจริญรัตน์ ศูนย์ความเชี่ยวชาญความมั่นคงของมนุษย์ และความเท่าเทียม (HuSE) สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ
นอกจากนี้ในงานมีการจัดแสดงผลงานวิจัย นำเสนอข้อค้นพบจากงานวิจัยและโครงการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสังคมถ้วนถึง อาทิ งานวิจัยและโครงการที่ทำสำรวจภูมิทัศน์เกี่ยวกับการสร้างสังคมไม่แบ่งแยกหรือสังคมถ้วนถึง แนวโน้มของงานวิจัยในด้านการศึกษา ความเท่าเทียมทางเพศ และความยุติธรรมทางสังคม ทิศทางงานวิจัยด้านสังคมถ้วนถึงในอนาคต เป็นต้น และการจัดแสดงผลงานโครงการ DB Asok วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก นำโดยครูอณุภา คงปราโมทย์ หัวหน้าโครงการ และทีมงาน
การเสวนา Roundtable: What is inclusive society platform? “The Unheard Voices” จัดโดย Inclusive Society Platform จากศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาฯ ซึ่งมี ผศ.ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม จากคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นประธานคณะทำงานในการสร้างเครือข่ายนักวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เพื่อให้นำไปสู่การพัฒนาและการแก้ปัญหาที่ครอบคลุมต่อความท้าทายทางสังคมโดยใช้แนวทางแก้ไขที่หลากหลายผ่านความร่วมมือ นวัตกรรม และการบูรณาการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
ผศ.ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม ประธานหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษาพิเศษและการเรียนรวม คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และหัวหน้าโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ เปิดเผยว่า การประชุมเครือข่ายร่วมสร้างสังคมถ้วนถึงสำหรับทุกคนในครั้งนี้จุฬาฯ ทำหน้าที่เป็นเหมือนเจ้าภาพที่รวมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการร่วมมือกันดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ที่ผ่านมาจุฬาฯ มีผลงานด้านการวิจัยในเรื่องของสังคมเป็นจำนวนมาก ทั้งในเรื่องของกลุ่มเปราะบาง ผู้ต้องขัง กลุ่มเด็กพิเศษ กลุ่มคนพิการซึ่งเป็นที่มาของการจัดงานในครั้งนี้เพื่อฟัง “เสียงที่ไม่ได้ยิน” ของคนกลุ่มนี้ที่อาจจะไม่เคยพูดที่ไหนมาก่อน เพื่อต้องการบอกอะไรบางอย่างให้สังคมรับรู้ ซึ่งสื่อมวลชนมีบทบาทอย่างยิ่งในการช่วยสื่อสารเรื่องราวเหล่านี้ออกไป การเสวนาครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยงคนที่ทำงานด้านนี้เข้าด้วยกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญในการเชื่อมต่องานในทุกจุดเพื่อนำไปสู่การสร้างสังคมสำหรับทุกคน (Inclusive Society) หลังจากนี้จะมีเวทีต่อไปที่จะขยายผลจากเวทีนี้ ในลักษณะของการนำเสนอผลงานของคณาจารย์จุฬาฯ รวมทั้งงานในภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยลักษณะของงานวิจัยจะเป็นรูปแบบของ Platform มากกว่าวิจัยเชิง Project ของแต่ละคน ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำลังขับเคลื่อนในเรื่องนี้
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้