ข่าวสารจุฬาฯ

พิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามอนุสิทธิบัตร โครงการวิจัย “องค์ประกอบไฮโดรเจลกักเก็บอนุภาคนาโนที่ห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหย และกรรมวิธีการเตรียม”

เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 ณ ห้องรับรอง ชั้น 2 อาคารจามจุรี 4 ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ รองอธิการบดี ด้านการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล จุฬาฯ คุณวไรรัตน์ ผ่องจิตต์ กรรมการ บริษัท พรีเมียร์ อินโนว่า จำกัด อ.ดร. ธีรพงศ์ ยะทา กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรีเมียร์ อินโนว่า จำกัด และ ผศ.สพ.ญ.ดร.ศิรกานต์ ฐิตวัฒน์ อาจารย์คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมลงนามในพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามอนุสิทธิบัตร “องค์ประกอบไฮโดรเจลกักเก็บอนุภาคนาโนที่ห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหย และกรรมวิธีการเตรียม” ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าของอนุสิทธิบัตร ให้แก่บริษัท พรีเมียร์ อินโนว่า จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ ดำเนินกิจการค้นคว้า วิจัย พัฒนา ผลิตและจำหน่าย ให้บริการค้นคว้า วิจัย พัฒนา ผลิตและจำหน่าย อนุภาคนาโนสารสกัด สำหรับสินค้าหรือบริการต่างๆ รวมถึงการประยุกต์ใช้อนุภาคนาโนในการผลิตสินค้าหรือบริการต่างๆ

พิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามอนุสิทธิบัตร “องค์ประกอบไฮโดรเจลกักเก็บอนุภาคนาโนที่ห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหย และกรรมวิธีการเตรียม” ในครั้งนี้จัดโดยศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ และบริษัทพรีเมียร์ อินโนว่า จำกัด โดยมี อ.ดร.ธีรพงศ์ ยะทา เป็นผู้กล่าวต้อนรับและกล่าวแนะนำบริษัท พรีเมียร์ อินโนว่า จำกัด 

โครงการวิจัย องค์ประกอบไฮโดรเจลกักเก็บอนุภาคนาโนที่ห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหย  และกรรมวิธีการเตรียม” โดยคณะผู้วิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นก้าวแรกที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นาโนเทคโนโลยีที่มีความสำคัญของประเทศไทย เป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบนำเทคโนโลยีนาโนเอนแคปซูเลชั่น เพื่อนำส่งสารสำคัญไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเวชสำอาง อาหารเชิงฟังก์ชั่น ตลอดจนผลิตภัณฑ์ในสัตว์เลี้ยงและสัตว์เศรษฐกิจ และพัฒนาต่อยอดเป็นองค์ประกอบในระบบนำส่งสารทางเภสัชกรรมและสมุนไพร เป็นการเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเองของประเทศด้านวัตถุดิบ สารสกัดจากธรรมชาติ สู่ผลิตภัณฑ์นวัตกรรม รวมทั้งเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมห่วงโซ่การผลิตสินค้าด้านสุขภาพและชีวภาพในประเทศไทย ถือเป็นการส่งเสริมนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ของประเทศอย่างแท้จริง

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า