รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
10 เมษายน 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 ณ ห้องรับรอง ชั้น 2 อาคารจามจุรี 4 ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ รองอธิการบดี ด้านการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล จุฬาฯ ผศ.น.สพ.ดร.ประพฤติดี ปิยะวิริยะกุล รองคณบดีบริหาร คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.สพ.ญ.ดร.ศิรกานต์ ฐิตวัฒน์ กรรมการ บริษัท วีบีซี คิท เทค จำกัด และ ดร.ธีรพงศ์ ยะทา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมวิจัยและผู้ประกอบการ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมลงนามในพิธีลงนามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยี “ชุดทดสอบคุณภาพน้ำ” โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าของเทคโนโลยี ให้แก่บริษัท วีบีซี คิท เทค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท Spin-off ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อดำเนินกิจการค้นคว้า วิจัย พัฒนา ผลิตและจำหน่าย ชุดทดสอบคุณภาพน้ำ
พิธีลงนามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยี “ชุดทดสอบคุณภาพน้ำ” ในครั้งนี้จัดโดยศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ และบริษัท วีบีซี คิท เทค จำกัด โดยมี ผศ.น.สพ.ดร.ประพฤติดี ปิยะวิริยะกุล เป็นผู้กล่าวต้อนรับและกล่าวแนะนำบริษัท วีบีซี คิทเทค จำกัด
ที่มาของการพัฒนาเทคโนโลยี “ชุดทดสอบคุณภาพน้ำ” เกิดจากการเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ในกุ้งเลี้ยงเมื่อปี 2541 สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการระบาดคือน้ำเลี้ยงกุ้งมีคุณภาพไม่เหมาะสม หน่วยชีวเคมี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดยการนำของ รศ.ดร.นิคม ชัยศิริ จึงได้วิจัยและผลิตชุดทดสอบคุณภาพน้ำที่มีราคาไม่แพง แต่ใช้งานง่ายให้แก่เกษตรกร และได้ผลิตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
จากการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนโยบายสนับสนุนให้คณาจารย์นำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 หน่วยชีวเคมี จึงได้จัดตั้งบริษัท วีบีซี คิท เทค จำกัด เพื่อตอบสนองนโยบายดังกล่าว ปัจจุบัน บริษัท วีบีซี คิท เทค จำกัด ได้ผลิตชุดทดสอบคุณภาพน้ำทั้งสิ้น 14 รายการ อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของคน และสัตว์ ที่มีผลงานวิจัยรองรับอีกกว่า 10 รายการ และเรายังคงมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อรองรับความต้องการของผู้เลี้ยงสัตว์ต่อไป
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ จัดเสวนาออนไลน์เรื่อง “ใจนิ่ง…ในวันที่โลกไม่แน่นอน : จิตวิทยาในการรับมือภัยพิบัติ”
กิจกรรม CUVIP เดือนเมษายน “Future Science & Technology : วิทยาศาสตร์เพื่อวันข้างหน้า”
1 - 21 เม.ย. 68
เอกอัครราชทูตโรมาเนียและคณะ เยือนวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ส่งเสริมความร่วมมือไทย-โรมาเนียด้านวิชาการและอุตสาหกรรม
รศ.ดร.เบญจพร สุวรรณศิลป์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับมอบเหรียญที่ระลึกและประกาศเกียรติคุณ จาก University of South Florida
สถาปัตย์ จุฬาฯ จัดบรรยายพิเศษ “Digital Craft” เวทีความรู้ด้านออกแบบและสถาปัตยกรรมจากผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ
ช่อง 7HD จับมือจุฬาฯ เปิด “4 ซีรีส์ กีฬานักเรียน แชมป์กีฬา 7HD 2025” จุฬาฯ พร้อมสนับสนุนสร้างอนาคตครั้งสำคัญเพื่อเด็กไทย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้