รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 เมษายน 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงาน “Opening of International Friends for Peace 2024” โครงการยุติความรุนแรงและการข่มเหง รังแกในโรงเรียน ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 ณ CU Social Innovation Hub ชั้นล่าง อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านวิจัย จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน
“International Friends for Peace 2024” โครงการยุติความรุนแรงและการข่มเหง รังแกในโรงเรียน ครั้งที่ 3 เป็นความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับสถาบันสอนภาษาอังกฤษ โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพด้านการศึกษาของศูนย์นวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University Innovation Hub) หลังจากได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจากโครงการฯ ครั้งที่ 1-2 ด้วยจุดประสงค์หลักเพื่อยุติความรุนแรงและการข่มเหง รังแกในโรงเรียน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-4 ได้เรียนรู้และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงรวมทั้งนำเสนอวิธีการป้องกันปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน
รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านวิจัย จุฬาฯ กล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้แสดงความคิดเห็นและแนวทางการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนและชุมชน โครงการ International Friends for Peace มุ่งหวังให้เยาวชนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของวิทยากรจากนานาชาติและนำความรู้นั้นไปสู่การออกแบบนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาในสังคมของตนเอง
หนึ่งในหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้คือ การตระหนักรู้ถึงความยั่งยืนทางสังคม (Social Sustainability) ซึ่งคุณรัตนาวดี เกียรติซิมกุล ผู้อำนวยการกำกับดูแลกิจการ บริษัท หาดทิพย์ หนึ่งในผู้สนับสนุนโครงการได้เล่าถึงแนวทางการทำธุรกิจที่เน้นความเคารพต่อผู้อื่น และแรงบันดาลใจในการให้การสนับสนุนโครงการ International Friends for Peace
จากนั้นมีการนำเสนอเกี่ยวกับผลกระทบที่คาดไม่ถึงของ “Generation Gap” และความสำคัญของการไปสู่สังคมถ้วนถึง (Inclusive Society) โดย ผศ.ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณถิรพุทธิ์ ทิพยรัตน์ บริษัทโกลบิช อคาเดีย (ไทยแลนด์) ได้นำเสนอมุมมองใหม่ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับผลกระทบที่ไม่คาดคิดจาก Generation Gap และเสนอว่าการสร้างสังคมที่รวมทุกคนเป็นวิธีที่เหมาะสมในการเผชิญหน้ากับปัญหานี้ Generation Gap เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากความแตกต่างในค่านิยม ทัศนคติ และประสบการณ์ระหว่างวัย ซึ่งสามารถนำไปสู่ความเข้าใจผิดและความขัดแย้งในหลายๆ ด้านของชีวิต ทั้งในครอบครัว ที่ทำงาน และในสังคมโดยรวม อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่ไม่คาดคิดของ Generation Gap คือโอกาสในการเรียนรู้และเติบโตร่วมกัน เมื่อมีการยอมรับและเคารพในความแตกต่าง สังคมสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมและแนวทางใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ การเน้นย้ำความสำคัญของ Inclusive Society หรือสังคมที่รวมทุกคน มีความหมายที่ลึกซึ้งในการไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลังและทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข การสร้างสังคมดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเช่นการกลั่นแกล้ง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือ LD (Learning Disabilities) ที่มักถูกกลั่นแกล้งหรือไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม
การส่งเสริม Leadership ในเยาวชนและการเป็น Peace Leader คือการสร้างแรงบันดาลใจและประสบการณ์ที่จะช่วยให้เด็กๆ เห็นถึงผลกระทบระยะยาวและปรารถนาที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงในสังคม การมุ่งเน้นไปที่ Generation Gap ในปีนี้เป็นการย้ำถึงความสำคัญของการสร้างความเข้าใจระหว่างวัยและการสนับสนุนสังคมที่รวมทุกคน โดยให้ความสำคัญกับการยอมรับความหลากหลายและเข้าใจชุดความคิดที่แตกต่างกัน นำมาซึ่งการเรียนรู้และการเติบโตร่วมกัน
ในงานเปิดตัวโครงการยุติความรุนแรงและการข่มเหง รังแกในโรงเรียน ครั้งที่ 3 ตัวแทนเยาวชนที่ชนะเลิศโครงการในปี 2023 ได้นำเสนอวิธีการใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และ “Problem Tree” ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือทั้งผู้ปกครองและเด็กๆ ให้สามารถเข้าถึงและจัดการกับปัญหาการกลั่นแกล้งออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดช่องว่างระหว่างรุ่นและเพิ่มความเข้าใจร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการสร้าง “Safe Zone” หรือพื้นที่ปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เด็กๆ สามารถใช้เวลาออนไลน์ได้อย่างมีคุณภาพและปลอดภัยจากการกลั่นแกล้ง รวมทั้งมีการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า “Made Safe Space” ตอบสนองต่อความต้องการนี้โดยตรง แอปพลิเคชันนี้เสนอวิธีการใหม่ๆ ในการจัดการเวลาที่มีอย่างจำกัดบนโลกออนไลน์ โดยสร้างพื้นที่ที่เด็กๆ สามารถสำรวจ เรียนรู้ และติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นโดยไม่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงของการถูกกลั่นแกล้ง
“Opening of International Friends for Peace 2024” โครงการยุติความรุนแรงและการข่มเหง รังแกในโรงเรียน ครั้งที่ 3 ไม่เพียงเป็นกิจกรรมที่แสดงถึงความมุ่งมั่นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในเยาวชนเท่านั้น แต่ยังเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมและเป็นผู้นำในการสร้างสันติภาพและความเข้าใจระหว่างกันในสังคม ผ่านการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การเรียนรู้ และการนำเสนอนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้