รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 เมษายน 2567
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน วศินี ฤทธิ์ดี
ยิมนาสติกลีลาเป็นกีฬาสากลที่มีท่วงท่าสวยงาม ประสานการเคลื่อนไหวให้เข้ากับจังหวะของเสียงดนตรี โดยเน้นทักษะความอ่อนตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมถึงการทรงตัว ผสมผสานการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ทั้งริบบิ้น คฑา ห่วง เชือก และลูกบอล เป็นกีฬาที่ต้องอาศัยความอดทนและความสมํ่าเสมอในการฝึกซ้อม การก้าวมาเป็นนักกีฬาประเภทนี้จนประสบความสำเร็จในเวทีการแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย
พิยดา พีรมธุกร นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาฯ (ปอปอ) นักกีฬายิมนาสติกลีลาทีมชาติไทย หนึ่งในนิสิตที่เป็นความภาคภูมิใจของจุฬาฯ ด้วยผลงานอันยอดเยี่ยมโดยครองแชมป์ยิมนาสติกลีลาประเทศไทยได้ถึง 9 สมัย แชมป์กีฬาเยาวชนแห่งชาติ 3 สมัย แชมป์กีฬาแห่งชาติ 2 สมัย แชมป์กีฬานักเรียนนักศึกษา 1 สมัย และแชมป์กรมพลศึกษา 5 สมัย เป็นนักกีฬายิมนาสติกลีลาคนแรกในไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับทุนจากสหพันธ์ยิมนาสติกนานาชาติ ล่าสุดจากการแข่งขัน JRC Star Rhythmic Gymnastics Championships 2023 ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2566 ปอปอสร้างผลงานที่โดดเด่นอีกครั้งโดยคว้ามาได้ถึง 6 เหรียญทองและเป็นแชมป์รุ่นประชาชนสมัยที่ 2 สำหรับรายการต่อไป ปอปอะจะเข้าร่วมการแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติ ได้แก่ กีฬายิมนาสติกลีลาชิงแชมป์โลกและการแข่งขันยิมนาสติกลีลาชิงแชมป์เอเชียที่ประเทศอุซเบกิสถาน
ปอปอ พิยดา เริ่มเล่นกีฬายิมนาสติกลีลาตั้งแต่อายุ 4 ปี จุดเริ่มต้นเกิดจากคุณพ่อและคุณแม่อยากให้ออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมในเรื่องสุขภาพ โดยเข้าร่วมฝึกซ้อมที่สโมสรจินตนา และได้เป็นนักกีฬาเยาวชนทีมชาติไทยตั้งแต่อายุ 13 ปี เสน่ห์ของกีฬายิมนาสติกลีลาอยู่ที่การใช้ทั้งความอ่อนตัวและความแข็งแรงรวมไว้ด้วยกัน ผสมผสานออกมาเป็นท่าทางที่สวยงาม กีฬายิมนาสติกลีลานอกจากจะช่วยส่งเสริมเรื่องสุขภาพแล้วยังช่วยในเรื่องบุคลิกภาพที่ดีอีกด้วย นักกีฬาในดวงใจที่เป็นแรงบันดาลใจของเธอคือ โม ธาราทิพย์ ศรีดี อดีตนักกีฬายิมนาสติกทีมชาติไทยเจ้าของฉายา “ราชินียิมนาสติก”
ปอปอกล่าวว่ากีฬายิมนาสติกที่แข่งขันในประเทศไทยมีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ ยิมนาสติกศิลป์ ยิมนาสติกแอโรบิค และยิมนาสติกลีลา ยิมนาสติกศิลป์เป็นยิมนาสติกที่เน้นการใช้ความแข็งแรง เช่น มีการโหนบาร์ ยิมนาสติกแอโรบิคจะเป็นการใช้ความแข็งแรงโดยจะเล่นบนฟลอร์ ส่วนยิมนาสติกลีลาจะใช้ทั้งความอ่อนตัวและความแข็งแรงบวกกับการเล่นอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องโยนและรับตลอดเวลา อุปกรณ์ประกอบการแสดงที่เธอคิดว่ายากที่สุดคือริบบิ้นซึ่งมีความยาวและต้องมีการเคลื่อนไหวให้ออกมาสวยงาม
ปอปอ เผยถึงเทคนิคในการแข่งขันให้ประสบความสำเร็จว่าต้องหมั่นดูแลสุขภาพอยู่เสมอ และมีวินัยในการฝึกซ้อม ก่อนการแข่งขันจะตั้งใจซ้อมให้เต็มที่ พักผ่อนให้เพียงพอ พร้อมเผยเคล็ดลับว่าในช่วงที่ฝึกซ้อมและก่อนแข่งขันจะมีการทำสมาธิโดยใช้หลักของจิตวิทยาเข้ามาช่วยด้วยการหลับตาแล้วเปิดเพลงที่จะใช้ในการแข่งขัน พยายามนึกภาพตามเพื่อให้ท่วงท่าที่ออกมามีความสมบูรณ์ที่สุด
ในด้านการเรียนที่คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา แม้จะต้องฝึกซ้อมกีฬาถึงสัปดาห์ละ 6 วัน แต่การเรียนก็เป็นสิ่งที่เธอให้ความสำคัญเป็นหลัก ในช่วงที่ต้องเก็บตัวและเข้าร่วมแข่งขันกีฬา ทำให้ขาดเรียนไปบ้าง ก็ได้รับความช่วยเหลือจากทางคณะ รวมทั้งเพื่อนๆเป็นอย่างดี นอกจากนี้เธอยังเข้าร่วมกิจกรรมในมหาวิทยาลัยด้วย โดยเข้าร่วมการแสดงในทีม CU Color Guard ในงานฟุตบอลสานสัมพันธ์จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ 2024 อนาคตปอปอฝันอยากเป็นโค้ชให้กับนักกีฬายิมนาสติกลีลาทีมชาติไทย
“พูดให้น้อย ทำให้มาก จดจ่อและตั้งใจในการฝึกซ้อมให้เต็มที่และดีที่สุด” คือเคล็ดลับความสำเร็จของปอปอ นักกีฬายิมนาสติกลีลาทีมชาติไทยคนเก่ง เป้าหมายสูงสุดในอาชีพนักกีฬายิมนาสติกลีลาของปอปอมุ่งมั่นจะคว้าเหรียญทองจากการแข่งขันซีเกมส์ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี 2568 และอยากได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ในอนาคต
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้