รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
24 ธันวาคม 2561
ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ดังนั้นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อช่วยลดปัญหาการเจ็บป่วยจากโรคภัยต่างๆ “โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)” ก็เป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของระบบประสามส่วนกลางส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการสั่น เกร็ง และเคลื่อนไหวช้า หนึ่งในอาการเคลื่อนไหวผิดปกติที่เป็นลักษณะเฉพาะในผู้ป่วยพาร์กินสันที่พบได้บ่อยและเห็นได้เด่นชัด คือ “อาการมือสั่นในขณะพัก” ทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกไม่มั่นใจในการเข้าสังคมและส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ ดร.พญ.อรอนงค์ โพธิ์แก้ววรางกูล แพทย์ประจำศูนย์ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาในการรักษาโรคพาร์กินสัน ซึ่งในปัจจุบันการรักษาโรคพาร์กินสันมีอยู่ 2 วิธีหลัก คือ
ด้วยเหตุนี้การมีอุปกรณ์ที่จะช่วยในการวินิจฉัยและ/หรือรักษาโรคพาร์กินสันจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายจากอาการสั่นและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นใจ ดังนั้น ศ.นพ.รุ่งโรจน์ และ ดร.พญ.อรอนงค์ จึงได้ร่วมกันพัฒนาอุปกรณ์ช่วยในการรักษาอาการสั่น เรียกว่า “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ที่สามารถช่วยลดอาการมือสั่นในขณะพักของผู้ป่วยได้จริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ถุงมือหลอกในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
ถุงมือพาร์กินสันลดสั่นเป็นอุปกรณ์ถุงมือตรวจจับอาการสั่นและเป็นอุปกรณ์ระงับอาการสั่นด้วยการกระตุ้นกล้ามเนื้อมือด้วยกระแสไฟฟ้า หลักการทำงานของถุงมือพาร์กินสันลดสั่นจะเป็นการทำงานร่วมกัน 2 ระบบ คือ
การควบคุมการทำงานของถุงมือ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับอาการสั่น และการกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยระบบไฟฟ้าจะใช้การเชื่อมต่อส่งผ่านข้อมูลผ่านระบบไร้สายหรือบลูทูธ (Bluetooth) มาเก็บไว้ที่หน่วยความจำโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล จุดเด่นของถุงมือพาร์กินสันลดสั่น คือ มีลักษณะเป็นถุงมือสวมใส่และใช้งานได้ง่าย โดยมีเครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อที่มีขนาดเล็กที่ใช้กระแสไฟฟ้าอ่อนๆ จากแบตเตอรี่ พกพาสะดวก น้ำหนักเบา มีต้นทุนการผลิตต่ำ อีกทั้งยังเป็นอุปกรณ์ที่แพทย์สามารถใช้แยกผู้ป่วยโรคพาร์กินสันกับผู้ป่วยโรคสั่นแบบอื่นได้อีกด้วย อาจกล่าวได้ว่าถุงมือพาร์กินสันลดสั่นนี้ช่วยให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติพร้อมทั้งคืนความมั่นใจในการเข้าสังคมให้กับผู้ป่วยโรคพาร์กินอีกครั้ง
ถุงมือพาร์กินสันลดสั่นเป็นผลงานนวัตกรรมที่อยู่ในระดับพร้อมถ่ายทดออกสู่เชิงพาณิชย์ มีระดับ Technology Readiness Level (TRL) อยู่ที่ระดับ 8 และได้จดสิทธิบัตรระดับชาติไว้แล้ว พร้อมทั้งได้รับรางวัล Best Abstract by a Woman in Movement Disorders จาก The International Association of Parkinsonism and Related Disorders
สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ อาคาร ส.ธ. ชั้น 7 ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โทรศัพท์ 0 2256 4000 ต่อ 70707 โทรสาร 0 2256 4000 ต่อ 70704 email: bh@chulapd.org หรือทางเว็บไซต์ www.chulapd.org
จากวารสาร ฬ จุฬา ปีที่ 3 เล่มที่ 29 หน้าที่ 8 https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/journal/vol29/
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้