ข่าวสารจุฬาฯ

สัตวแพทย์จุฬาฯ ไขข้อข้องใจสมุนไพรกับสัตว์เลี้ยง “กัญชาแมว” – “ตำแยแมว” แตกต่างกันอย่างไร

ในบรรดาพืชสมุนไพรที่มีอยู่มากมายนั้น มีพืชสมุนไพรอยู่ 2 ชนิดที่สัตว์เลี้ยงเช่น แมว เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วมีผลต่อพฤติกรรมของน้องแมว  ได้แก่  “กัญชาแมว” (Catnip) ที่คนรักแมวรู้จักหรืออาจจะเคยใช้กันบ้างแล้ว พืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งคือ “ตำแยแมว” (Acalypha indica) ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายคลึงากับกัญชาแมวคือช่วยกระตุ้นความรู้สึกพิเศษ ทำให้น้องแมวรู้สึก “เคลิ้ม” บรรเทาความเครียดได้  แม้จะมีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกันแต่สมุนไพรทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างที่สำคัญอยู่หลายประการ

รศ.สพ.ญ.ดร.อุตรา จามีกร ภาควิชาสัตวบาล คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ให้ความรู้รวมทั้งไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ “กัญชาแมว”และ”ตำแยแมว” เพื่อการนำมาใช้ให้เหมาะสมและปลอดภัยต่อสัตว์เลี้ยงแสนรัก

“กัญชาแมว” หรือที่รู้จักในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nepeta cataria เป็นพืชในตระกูลมิ้นต์ที่มีชื่อว่า Catmint กัญชาแมวไม่เกี่ยวข้องกับกัญชาแต่อย่างใด ส่วน“ตำแยแมว” เป็นพืชที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Acalypha indica L. จัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE) พบได้ในเขตร้อนและมีการกระจายพันธุ์อย่างแพร่หลายในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย  

กัญชาแมว
ตำแยแมว

รศ.สพ.ญ.ดร.อุตราอธิบายว่า กัญชาแมวและตำแยแมวมีกลิ่นที่ดึงดูดเหล่าแมวเหมียว ซึ่งเป็น กลิ่นของสารในกลุ่มอิริดอยด์ (iridoid) โดยพืชสมุนไพรทั้งสองชนิดจะปล่อยสาร “Nepetalactone” ออกมา เมื่อแมวได้กลิ่นสารดังกล่าวจะเข้าไปเลียและถูไถ โดยตำแยแมวมีการระเหยของกลิ่นบริเวณราก แต่แมวบางตัวก็ชอบที่จะกินหรือเล่นกับใบ ส่วนกัญชาแมว จะมีกลิ่นบริเวณใบ ซึ่งมักถูกนำมาสกัดเป็นน้ำมันหรือใส่ไว้ในของเล่นแมว  สาร “Nepetalactone” จะออกฤทธิ์ได้ดีโดยเฉพาะกับสัตว์ตระกูลแมว เพราะเป็นสารออกฤทธิ์คล้ายฟีโรโมนซึ่งเป็นกลิ่นเฉพาะตัวที่แมวผลิตออกมา ทำให้เจ้าแมวเหมียวสดชื่น มีอาการเคลิ้ม มีความสุขเมื่อสูดดมหรือกัดกินเข้าไป อย่างไรก็ตาม สารชนิดนี้มีความปลอดภัยสำหรับแมว เพราะมีฤทธิ์นานประมาณ 10-15 นาทีเท่านั้น

กัญชาแมวและตำแยแมวเป็นสารเสพติดหรือไม่?

 แม้จะมีผลทำให้แมวเคลิ้ม แต่ไม่ใช่สารเสพติดอย่างที่หลายคนเข้าใจ เป็นเพียงสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้มีความสุขชั่วขณะเท่านั้น และไม่เป็นอันตรายต่อแมว

แมวทุกตัวจะมีปฏิกิริยาต่อกัญชาแมวและตำแยแมวเหมือนกันหรือไม่? 

ไม่จำเป็น แมวแต่ละตัวอาจมีปฏิกิริยาแตกต่างกันไป บางตัวอาจชอบมาก บางตัวอาจไม่สนใจเลย และบางตัวอาจแพ้ได้ ควรสังเกตอาการเวลาให้แมวสัมผัสกับกัญชาแมวหรือตำแยแมว

ใช้กัญชาแมวหรือตำแยแมวบ่อยเกินไปจะเป็นอันตรายหรือไม่? 

ผู้ใช้งานจริง

หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมก็ไม่เป็นอันตราย ไม่ควรใช้บ่อยจนเกินไป เพราะอาจทำให้แมวติดและไม่สนใจอย่างอื่นได้ ควรใช้เป็นครั้งคราวก็เพียงพอแล้ว 

รศ.สพ.ญ.ดร.อุตรากล่าวย้ำว่า กัญชาแมวและตำแยแมว แม้จะมีผลต่อแมวคล้ายกัน แต่เป็นพืชคนละชนิดกัน สารในพืชทั้งสองชนิดมีความปลอดภัยสูงสำหรับแมว อย่างไรก็ตาม เจ้าของควรติดตามดูอาการแพ้หรือปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์จากแมวเมื่อได้รับสารเหล่านี้ การเข้าใจความแตกต่างและการใช้งานที่ถูกต้องจะช่วยให้แมวของคุณมีความสุขและสุขภาพดีได้

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า