รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
24 เมษายน 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคบัณฑิต (นอกเวลาราชการ) คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เปิดโครงการ Life Long Learning สำหรับนิสิตจุฬาฯ ระดับปริญญาตรี เป็นหลักสูตรคู่ขนานให้นิสิตได้ปริญญาตรีควบจากจุฬาฯ ปริญญาตรีใบแรกจากคณะต้นสังกัด และปริญญาใบที่สองจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ของนิสิตจุฬาฯ โดยเน้นการจัดการเรียนการสอนแนวใหม่ มุ่งผลิตบัณฑิตรุ่นใหม่ให้มีความรู้และทักษะข้ามศาสตร์ สนองนโยบายและทิศทางการศึกษาในโลกปัจจุบัน ที่ผ่านมาคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เปิดหลักสูตรความรู้กฎหมายสำหรับบุคคลทั่วไป และเปิดหลักสูตรปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต ภาคบัณฑิต นอกเวลาราชการ ตั้งแต่ปี 2546 เพื่อให้ผู้ที่จบปริญญาตรีใบแรกแล้วมาศึกษาต่อในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตเป็นปริญญาตรีใบที่สอง ซึ่งเป็นหลักสูตร 3 ปี ที่ผ่านมามีผู้ที่จบการศึกษาทั้งปริญญาตรี โท เอกในสาขาต่างๆ จากจุฬาฯ และมหาวิทยาลัยอื่นๆ สนใจเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้เป็นจำนวนมาก จึงเกิดแนวคิดว่าน่าจะเปิดหลักสูตรให้น้องๆ นิสิตปัจจุบันที่อยู่ในคณะอื่นๆได้สามารถเรียนกฎหมายไปด้วยในขณะที่เรียนปริญญาตรีใบแรก
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคบัณฑิต (นอกเวลาราชการ) บรรจุเป็นรายวิชาของโครงการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) โดยสามารถเรียนรายวิชาของคณะนิติศาสตร์ “คู่ขนาน” กับหลักสูตรต้นสังกัด ได้รับ Certificate และสามารถเก็บสะสมหน่วยกิต (credit banking) “ต่อยอด” อีก 2 ปีหลังสำเร็จปริญญาตรีใบแรก เพื่อได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิต เป็นปริญญาตรีใบที่สองจากจุฬาฯ ในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคบัณฑิต (นอกเวลาราชการ)
ผศ.ดร.ปารีณา กล่าวถึงหลักสูตรใหม่ที่จะเปิดในครั้งนี้ว่า เนื่องจากการเรียนปริญญาสองใบเป็นเรื่องยากและหนักมาก นิสิตควรโฟกัสอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงสามารถค่อยๆ เก็บรายวิชาเป็น credit banking สะสมหน่วยกิตไว้สำหรับมาเรียนปริญญาใบที่สองหลังจบปริญญาใบแรกแล้ว โดยสามารถเรียนเก็บรายวิชาสะสมหน่วยกิตคู่ขนานไปพร้อมกัน แล้วต่อยอดอีก 2 ปี หลังสำเร็จปริญญาตรีใบแรก เพื่อรับปริญญานิติศาสตรบัณฑิต เป็นปริญญาตรีใบที่สอง ระหว่างเรียนก็สามารถทำงานอื่นไปด้วยได้ และจะไม่กระทบการเรียนหลักสูตรปกติเนื่องจากเป็นการเรียนนอกเวลา ค่อยๆ เก็บไปได้
“นิติศาสตร์เกี่ยวข้องกับทุกๆ วงการ การสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิตภาคนอกเวลาราชการเป็นปริญญาใบที่สองจะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตอย่างมาก เราจะได้บัณฑิตที่มีความรู้ข้ามศาสตร์ นอกจากจะมีความรู้กฎหมายแล้ว ยังมีความรู้พื้นฐานด้านอื่นๆ ด้วย เช่น นักกฎหมายที่มีความรู้บัญชี หรือแพทย์ที่มีความรู้กฎหมาย นอกจากนี้บัณฑิตยังสามารถเลือกเส้นทางได้ว่าอยากประกอบวิชาชีพที่เรียนมาตั้งแต่ต้นหรือเปลี่ยนเส้นทางมาเป็นวิชาชีพกฎหมาย” ผศ.ดร.ปารีณา กล่าว
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคบัณฑิต (นอกเวลาราชการ) คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดรับสมัครนิสิตจุฬาฯ ระดับชั้นปริญญาตรีชั้นปี 1 ขึ้นไปที่ไม่ได้ขอสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2566 รับจำนวนจำกัด 60 คน เท่านั้น สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ – 30 เมษายน 2567
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครออนไลน์ได้ที่ https://law.chula-regist.com/11-lll/
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2218-2017
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้