รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
25 เมษายน 2567
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น
ผู้สูงอายุกว่า 1 ใน 3 ประสบปัญหาในเรื่องการได้ยิน ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้ที่ประสบปัญหานี้ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะประสาทหูเสื่อมตามวัย ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมมากกว่าคนทั่วไปถึง 1.94 เท่าการมาพบแพทย์เพื่อตรวจการได้ยินและใช้เครื่องช่วยฟังจะช่วยป้องกันภาวะดังกล่าวได้
ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ดำเนินงานโครงการ ได้รับทุนวิจัยสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกับ บริษัท เอียร์โทน (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้โครงการ “การตรวจการได้ยินที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ด้วยเอไอซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่น เพื่อช่วยคาดการณ์ภาวะเสื่อมถอยทางสติปัญญาของผู้สูงอายุ” โดยร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยแห่งกรุงลอนดอน University College London
จัดงานเสวนา “ได้ยินชัด ลดเสี่ยงสมองเสื่อม” ระหว่างวันที่ 23 – 25 เมษายน 2567 ณ ห้างดิโอลด์สยาม พลาซ่า เพื่อเผยแพร่ความรู้และนวัตกรรมในการตรวจการได้ยินผ่านแอปพลิเคชัน “Eartest by Eartone” ที่พัฒนาขึ้นสำหรับผู้สูงอายุ ภายในงานมีการทดสอบการได้ยินเบื้องต้นแก่ผู้สูงอายุด้วย
“Eartest by Eartone” เป็นแอปพลิเคชันตรวจการได้ยินด้วยคำพูดภาษาไทยครั้งแรกในไทย เพื่อช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ด้วยเทคนิค Virtual Reality (VR) ที่จำลองสถานการณ์การรับรู้เสียงจากทิศทางต่างๆ จะช่วยตรวจสอบการแปรผลของสมองด้านการใช้ภาษา และประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดสมองเสื่อมในอนาคต
อ.ดร.พญ.นัตวรรณ อุทุมพฤกษ์พร อาจารย์ประจําภาควิชาโสต ศอ นาสิก วิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และแพทย์เฉพาะทางด้าน โสตประสาทวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันนี้ กล่าวถึงความสำคัญของการตรวจการได้ยินเป็นประจำ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการตรวจจับและจัดการกับปัญหาการได้ยินที่อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงขึ้นในอนาคต งานเสวนาในครั้งนี้มุ่งเน้นให้นำงานวิจัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงเลือกจัดงานที่มีชุมชนผู้สูงวัยได้มาทดลองใช้แอปพลิเคชัน เพื่อตรวจการได้ยินและให้ความรู้เสริมสร้างความมั่นใจในการใช้เทคโนโลยีนี้
บรรยากาศภายในงานคึกคักไปด้วยผู้สนใจมาร่วมงานจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่แสดงความสนใจอย่างยิ่งในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตผ่านเทคโนโลยีการตรวจสุขภาพหูและการได้ยิน นอกจากนี้ ยังมีโมเดลตัวอย่างเครื่องช่วยฟังหลากหลายรูปแบบที่นำมาจัดแสดง เครื่องช่วยฟังมีขนาดเล็กและออกแบบมาให้ทันสมัย ใช้งานง่าย ทำให้ผู้เข้าร่วมงานสามารถทดลองเครื่องช่วยฟังได้อย่างใกล้ชิด และรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับสภาพการได้ยินของตนเอง
ดร.ลัษมณ อรรถาพิช คณะอนุกรรมการแผนงาน Global partnership ผู้แทนผู้อำนวยการ บพข. ได้กล่าวถึงความจำเป็นของการพัฒนานวัตกรรมและการใช้งานผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม พร้อมทั้งกล่าวถึงการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ งานเสวนาในครั้งนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ภายในงานมีผู้สูงอายุเข้าร่วมงานเสวนาอย่างคึกคัก ในอนาคต บพข.พร้อมจะให้ทุนสำหรับต่อยอดในการพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่สามารถออกสู่ตลาดได้ และช่วยให้ประชาชนได้รับประโยชน์
ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “Eartest by Eartone” ใช้งานได้ฟรีทันที ทั้งในระบบ iOS และ Android ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยในการตรวจสอบและดูแลสุขภาพการได้ยินอย่างมีประสิทธิภาพ
นิสิต BBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขัน Alberta International Business Competition 2024 ที่แคนาดา
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ชนะเลิศการแข่งขันแผนการตลาดระดับอุดมศึกษา J-MAT AWARD ครั้งที่ 33
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้