รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 ธันวาคม 2561
ข่าวเด่น
สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) เปิดให้บริการรถตุ๊กๆ ไฟฟ้า “MuvMi” ภายใต้โครงการ Chula Smart City เพื่อให้ชาวจุฬาฯ รวมไปถึงบุคคลทั่วไปโดยสารเดินทางภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบริเวณโดยรอบได้อย่างสะดวก ประหยัดและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
MuvMi เกิดจากการมองเห็นปัญหาช่องว่างของการเชื่อมต่อระหว่างขนส่งมวลชนขนาดใหญ่อย่าง BTS และ MRT ที่ไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ในตรอกซอกซอย หรือสถานที่ที่ไม่ได้อยู่บนถนนเส้นหลักได้ บริการนี้จึงเป็นการผสมผสานระหว่างการใช้แอปพลิเคชันเรียกรถแบบ “On-Demand” คือ เรียกเมื่อไหร่ก็ได้ตามความต้องการ ไม่ต้องรอรอบเวลา ไม่ได้วิ่งตามเส้นทางประจำแบบที่เคยมีอยู่ และรูปแบบ “Sharing” ที่นำระบบเทคโนโลยีทันสมัยมาบริหารจัดการให้ผู้ที่จะเรียกรถไปในเส้นทางเดียวกันหรือบริเวณใกล้เคียงกันสามารถขึ้นรถคันเดียวกันได้จึงทำให้มีราคาที่ไม่แพง เหมาะสมกับค่าครองชีพยุคปัจจุบัน นักเรียนนักศึกษาและคนทำงานสามารถเข้าถึงได้
นอกจากแอปพลิเคชันแล้ว จุดเด่นอีกด้านของ MuvMi คือ การใช้รถระบบไฟฟ้า100% ในการให้บริการ รับ-ส่งผู้โดยสาร โดยรถไฟฟ้านี้ได้ผ่านการวิเคราะห์การชนร่วมกับสถาบันศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) จึงทำให้มั่นใจได้ว่าปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการรวมถึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
สำหรับพื้นที่บริการจะครอบคลุมภายในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยเริ่มเปิดบริการจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝั่งตะวันตกและเขตพาณิชย์ (ด้านถนนบรรทัดทอง) และขยายไปยังพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝั่งตะวันออก (ด้านถนนอังรีดูนังต์) ต่อมาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมถึงพื้นที่ให้บริการอื่นๆในอนาคต
ผู้สนใจใช้บริการ MuvMi เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ https://www.muvmi.co/#download จากนั้นลงทะเบียนผ่านเบอร์โทรศัพท์ในครั้งแรก ก็สามารถเรียกรถสามล้อไฟฟ้า และชำระค่าบริการด้วยการสแกน QR Code บนรถได้ทันที โดยค่าบริการคิดต่อเที่ยวเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 75 บาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการ MuvMi ได้ที่ เบอร์มือถือ 06-5778-2690
* พิเศษ! ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันวันนี้จะได้รับค่าบริการฟรี 75 บาท
ทั้งนี้ MuvMi เป็น ส่วนหนึ่งของโครงการจุฬาฯ สมาร์ทซิตี้ ซึ่งสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ (PMCU) ได้นำนวัตกรรมด้าน Mobility มาพัฒนาพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้เป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบ โดยมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นย่านแห่งนวัตกรรมที่สร้างสรรค์คุณค่าแก่ชุมชนและสังคม ผสานคุณภาพชีวิตและธุรกิจ มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำรงชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ซึ่งแนวคิดในการพัฒนา โครงการ Chula Smart City ประกอบด้วย “SMART 5” ประกอบด้วย (1.) SMART MOBILITY การสัญจรอัจฉริยะ ที่ตั้งใจพัฒนาระบบขนส่งในพื้นที่ให้มีความหลากหลาย สะดวกสบาย สามารถเชื่อมต่อการเดินทางของผู้อยู่อาศัยได้อย่างครบวงจร (2.) SMART ENERGY การบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ ผ่านระบบโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อการบริการจัดการการผลิต การจัดเก็บ และการส่งจ่ายพลังงาน ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการใช้พลังงานไฟฟ้าโดยรวมให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ กระบวนการผลิตไฟฟ้าจะเน้นไปที่การผลิตพลังงานหมุนเวียน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (3.) SMART COMMUNITY ชุมชนอัจฉริยะ ที่เกิดจากการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล ตอบสนอง และสนับสนุนผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้งานให้เกิดการสื่อสารและการมีส่วนร่วมกันผ่านช่องทางที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น (4.) SMART SECURITY การรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ เพื่อการตรวจสอบและการรักษาความปลอดภัย ทั้งทางด้านกายภาพและระบบออนไลน์ โดยรวมการควบคุมไว้ที่ศูนย์กลาง เมื่อเกิดเหตุไม่ปกติสามารถตรวจสอบและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินและข้อมูลของผู้อยู่อาศัยและผู้เข้ามาใช้งานในพื้นที่ (5.) SMART ENVIRONMENT การจัดการสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยีในการตรวจสอบสภาพแวดล้อม อาทิเช่น คุณภาพอากาศ อุณหภูมิ เสียง รวมถึงพยากรณ์อากาศเบื้องต้น เพื่อแจ้งเตือนความเสี่ยงต่างๆ หากอยู่ในสภาวะที่อันตรายต่อคนในชุมชนผ่าน Application และเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างทันท่วงที
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้