รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
30 เมษายน 2567
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม, ความเป็นนานาชาติ
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
โครงการ “จุฬาอารี” (Chulalongkorn University Platform for Ageing Research Innovation and Thailand Platform for Ageing Research Innovation) โดยวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลชนะเลิศ THE Awards Asia 2024 ประเภทรางวัล Research Project of the Year: Arts, Humanities and Social Sciences ซึ่งมีการประกาศผล Winner THE Awards Asia 2024 ในงาน THE Asia Universities Summit เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 ณ Sunway University กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดย ผศ.ดร.ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านยุทธศาสตร์ การประกันคุณภาพองค์กร และการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก จุฬาฯ เป็นผู้แทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับรางวัลในครั้งนี้
โครงการ “จุฬาอารี” หรือโครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย (Chulalongkorn University Platform for Ageing Research Innovation) เป็นแพลตฟอร์มนวัตกรรมการวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อรับมือกับประเด็นท้าทายจากสังคมสูงวัยเชิงรุก โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯ กองทุนศตวรรษที่ 2 (C2F) โครงการนี้ประกอบไปด้วยคณาจารย์ นักวิจัยและนิสิตจาก 13 ส่วนงานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวิทยาลัยประชากรศาสตร์เป็นหน่วยงานประสานและแกนหลักในการดำเนินโครงการ (ศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ เป็นผู้อำนวยการโครงการ) ประกอบไปด้วย 5 กลุ่มพันธกิจ คือ พันธกิจข้อมูลและประชากร (ผศ.ดร. รักชนก คชานุบาล หัวหน้ากลุ่มพันธกิจ) พันธกิจเศรษฐกิจ (รศ.ดร.ปัทพร สุคนธมาน) พันธกิจสุขภาพ (รศ.ดร.จิราพร เกศพิชญวัฒนา) พันธกิจด้านสภาพแวดล้อม (รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์) พันธกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม (รศ.พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์) และมีนางสาวปราณี แหวนทองคำ เป็นผู้จัดการโครงการ
ผลลัพธ์ที่สำคัญของโครงการคือ 1) จัดทำแผนแม่บทของประเทศในการรองรับสังคมสูงวัยคือแผนปฏิบัติการผู้สูงอายุระยะที่ 3 ปี 2566 – 2580 2) การพัฒนานวัตกรรมระบบฐานข้อมูลชุมชน และการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับสังคมสูงวัย และ 3) การพัฒนาต้นแบบระบบรองรับสังคมสูงวัยแบบองค์รวมในชุมชนเมืองมหานคร จากความสำเร็จของโครงการจุฬาอารีได้มีการขยายผลไปเป็นแผนงานวิจัยไทยอารี (Thailand Platform for Aging Research Innovation) ซึ่งทีมนักวิจัยจากโครงการจุฬาอารีมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างพลังนักวิจัยให้แก่มหาวิทยาลัยในภูมิภาคและชุมชน ตลอดจนนำบทเรียนจากโครงการจุฬาอารีไปปรับใช้ในในการพัฒนาระบบรองรับสังคมสูงวัยในเขตเมืองในภาคอื่นของประเทศ แผนงานวิจัยไทยอารีได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการจุฬาอารีได้ที่
http://www.sustainability.chula.ac.th/th/report/3025/
http://www.chulaari.chula.ac.th/
ทั้งนี้ ในปีนี้มีผลงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีก 2 โครงการจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก THE Awards Asia 2024 ได้แก่ นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์ (ประเภท Research Project of the Year : STEM และ การเปิดหลักสูตรใหม่ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT) ผ่านเข้ารอบคัดเลือกในประเภท Student Recruitment Campaign of the Year
ช่อง 7HD จับมือจุฬาฯ เปิด “4 ซีรีส์ กีฬานักเรียน แชมป์กีฬา 7HD 2025” จุฬาฯ พร้อมสนับสนุนสร้างอนาคตครั้งสำคัญเพื่อเด็กไทย
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 32 จุฬาฯ ระดมความรู้ข้ามศาสตร์ “ฝ่าวิกฤตแผ่นดินไหว” ชวนคิด ชวนถาม เตรียมพร้อมรับมือและฟื้นตัวจากภัยพิบัติ
อาจารย์จุฬาฯ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2567
จุฬาฯ วางพุ่มดอกไม้ถวายสักการะเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมกิจกรรม “Book & Gift For Share” เนื่องในวันหนังสือเด็กสากล 2 เมษายน
2 เม.ย. 68
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สาขาสยามสแควร์
เชิญฟังบรรยาย Chula Lunch Talk: Study Safe, Stay Calm เรียนได้ อยู่ดี ภัยพิบัติใด ก็ไม่หวั่น
4 เม.ย. 68 เวลา 2.00 -13.00 น.
ชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ (หอสมุดกลาง)
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้