รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 มกราคม 2562
ข่าวเด่น
โครงการ CU 2040 Masterplan: CU 2040 ผังแม่บทจุฬาฯ ศตวรรษที่ 2 โดยสำนักบริหารระบบกายภาพ และ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง(UddC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเวทีสาธารณะนำเสนอ “ผลลัพธ์การร่างภาพจุฬาฯ ภายใต้โครงการผังแม่บทจุฬาฯ ศตวรรษที่ 2 : เขตการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ขึ้น ณ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา
ผังแม่บทจุฬาฯ ศตวรรษที่ 2 เกิดขึ้นภายใต้แนวคิด “ปรับ-เปลี่ยน-เปิด” คือ
จากแนวคิด ปรับ-เปลี่ยน-เปิด ดังข้างต้นนี้ก่อเกิดเป็น “5 กลยุทธ์สู่นิเวศการเรียนรู้แห่งอนาคต” คือ
ผังแม่บทจุฬาฯ ศตวรรษที่ 2 นี้ได้รับการผสานแนวคิดการออกแบบของผู้เชี่ยวชาญรวมกับภาพอนาคตจากประชาคมจุฬาฯ และสาธารณชนที่ร่วมกระบวนการร่วมออกแบบวางผังกว่า 60 ครั้งตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา จนนำไปสู่ผลลัพธ์การออกแบบผังแม่บทจุฬาฯ ศตวรรษที่ 2 : เขตการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะเป็นการ “ฝังเข็ม” Learning commons ที่หลากหลาย ลงไปตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วมหาวิทยาลัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 โซน ได้แก่
ZONE 1: KNOWLEDGE QUARTER XP
ZONE 2: ONE HEALTH
ZONE 3: SOCIAL DEMO
ZONE 4: 24 HOUR SCHOOL
ZONE 5: BICENTENNIAL AXIS
ZONE 6: PUBLIC SHOWCASE
ประกอบไปด้วยพื้นที่ 3 กลุ่มคณะ กลุ่มศิลป์ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์) กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ (คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์) และกลุ่มสังคมศาสตร์ (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะรัฐศาสตร์) ด้วยการผสมผสานกันของหลากศาสตร์ที่มีศักยภาพในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้เป็นอย่างดี (Engineer x Science x Design x Business)
อีกทั้งในแต่ละคณะก็มีนวัตกรรมที่แอบซ่อนอยู่ พร้อมที่จะนำมาพัฒนาและบูรณาการต่อในอนาคต รวมถึงเป็นที่ตั้งของพื้นที่และอาคารเชิงสัญลักษณ์ที่สะท้อนความเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นหอประชุมจุฬาฯ ศาลาพระเกี้ยว และมีจำนวนนิสิตและบุคลากรหนาแน่นที่สุดในจุฬาฯ ถึง 23,843 คน แต่กลับขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวก (Common Facilities) ที่รองรับกิจกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากการเรียน จากปัญหาข้างต้นนี้ จึงเกิดเป็นแนวคิดและแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่สู่การเป็น “Knowledge Quarter XP” คือ
ผลจากการปรับเปลี่ยนเปิดพื้นที่ดังกล่าว ทำให้เกิดการใช้พื้นที่ใหม่ๆ ได้แก่
CENTRE OF EXCELLENCE
อาคารศาลาพระเกี้ยว สู่ศูนย์รวมความเป็นเลิศด้านการวิจัยจุฬาฯ พร้อมในบริการเป็นพื้นที่ทำงานเชิงบูรณาการของกลุ่มศาสตร์ พื้นที่อเนกประสงค์ในการจัดนิทรรศการและ การแสดงผลงานให้แก่ประชาคมโลกรับรู้
DIGITAL COMMONS
ลานจักรพงศ์ สู่ห้องสมุด Digital เต็มรูปแบบอ ครบครันไปด้วยทรัพยากรที่ส่งเสริมการเรียนรู้แห่งยุคดิจิทัล
TEACHER UNION
อาคารจุลจักรพงษ์ สู่สโมสรคณาจารย์ที่ครบครันไปด้วยทรัพยากรในการพัฒนาการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับการเรียรรูปแบบใหม่แห่งศตวรรษที่ 21
STUDENT UNION
อาคารเปรมบุรฉัตร สู่สโมสรนิสิตแห่งใหม่ ที่ประกอบไปด้วยพื้นที่การเรียนรู้ พื้นที่พบปะ รูปแบบใหม่
MAKER SPACE
อาคารศิลปวัฒนธรรม สู่พื้นที่สร้างสรรค์เต็มรูปแบบ ที่พร้อมเปลี่ยนความคิดและไอเดียสู่ชิ้นงานจริง
MAHACHULA CAFE
พื้นที่ชั้น 1 อาคารมหาจุฬาฯ สู่การเป็น CAFÉ พื้นที่พบปะของนิสิตและคณะจารย์ ภายใต้บรรยากาศอันมีเสนห์ของสถาปัตกกรรม และร่มจามจุรี
ZONE 2: “ONE HEALTH”
พื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดถนนพระราม 1 พื้นที่พาณิชยกรรมที่โดดเด่นที่สุดของประเทศไทย ประกอบไปด้วยพื้นที่ 2 กลุ่มคณะ คือ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพฝั่งตะวันตก (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะสหเวชศาสตร์ และคณะจิตวิทยา) และกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพฝั่งตะวันออก (คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์) โดยมีนิสิต คณาจารย์ และบุคลากรอยู่ที่ 7,370 คนด้วยกัน แต่ละคณะมีความโดดเด่นทั้งผลงานวิชาการ นวัตกรรมอยู่มาก แต่ถูกซ่อนอยู่ภายในคณะ ขาด”พื้นที่ร่วมเรียนรู้” ในการแลกเปลี่ยนบูรณาการ ผนวกกับกำแพงปิดกั้น ขาดการเชื่อมต่อโครงข่ายและพื้นที่การศึกษาอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม การเรียนการสอน หรือแม้กระทั่งการเชื่อมโยงจาก BTS ทั้งสถานีสยาม และสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ จึงเกิดเป็นแนวคิดและแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่สู่การเป็น “ONE HEALTH” คือ
.
SPORT SCIENCE CO-LAB
อาคารจุฬาพัฒน์ 8 สู่ SPORT SCIENCE CO-LAB พื้นที่ทดลอง ครบครันไปด้วยเครื่องมือ ทรัพยากรที่พร้อมต่การสร้างสรรค์นวัตกรรมข้ามศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา เช่น Sport Science X Business X Design เพื่อยกระดับนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์
INNOVATION HUB
พื้นที่ลานจอดรถข้างสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สู่ ศูนย์กลางนวัตกรรม หรือ INNOVATION HUB พื้นที่บ่มเพาะนวัตกรรมที่เชื่อมโยงระหว่างนิสิตเก่าที่มีความพร้อมในการพัฒนาและสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมและนิสิตปัจจุบันทีมีไอเดียในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
ONE HEALTH CO-WORKING SPACE
อาคาร Capsule พื้น Co-working space แห่งใหม่ของกลุ่มคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ (คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์) ที่พร้อมช่วยยกระดับงานวิจัย และนวัตกรรมเชิงบูรณาการหลากศาสตร์ ตามเจตคติมหาวิทยาลัยนวัตกรรมแห่งเอเชีย
ZONE 3: “SOCIAL DEMO”
พื้นที่ระหว่างศาสตร์ของคณะนิเทศศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ 2 คณะแห่งกลุ่มสังคมศาสตร์ที่มีความโดดเด่นทั้งผลงาน และองค์ความรู้ โดยมีจำนวนนิสิต คณาจารย์ และบุคลากรกว่า 6,358 คน แต่ด้วยตำแหน่งที่ตั้งทำให้ถูกตัดขาดจากคณะในกลุ่มสาขาเดียวกันด้วยรั้วและถนนพญาไท และปัญหาในการใช้พื้นที่ที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน
แนวคิดและแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่สู่พื้นที่ร่วมเรียนรู้ “SOCIAL DEMO” คือ
จากแนวคิดข้างต้นทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใหม่ ได้แก่
OPEN THEATRE
ลานกิจกรรมคณะนิเทศศาสตร์สู่การเป็น พื้นที่แสดงโชว์ผลงานทั้งของนิสิต คณาจารย์ และผู้สนใจ นอกจากนี้แล้วยังเป็นพื้นที่ร่วมเรียนรู้บูรณาการต่างศาสตร์ สร้างสรรค์นวัตกรรม ที่พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน และจะเป็นพื้นที่ชิคที่สุดแห่งหนึ่งของจุฬาฯ เลยก็ว่าได้
LEARNING GARDEN
ลานจอดรถคณะครุศาสตร์ สู่การเป็นสวนธรรมชาติเพื่อการเรียนรู้ ที่เหมาะสำหรับทุก ๆ คน และ ทุก ๆ กิจกรรม ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่นั่งทำงาน พื้นที่สำหรับการเรียนเสริมพิเศษ ที่จะรายล้อมไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์
ZONE 4: “24 HOUR SCHOOL”
พื้นที่รวมแหล่งกิจกรรมนอกเหนือจากการเรียนไม่ว่าจะเป็น Sport Complex ศูนย์กีฬาในร่ม สนามกีฬาแห่งจุฬาฯ สำนักวิทยาทรัพยากรหรือ หอกลาง อาคารจามจุรี 9 และ พื้นที่พักอาศัยหอพักนิสิตจุฬาฯ ทำให้จุฬาฯ เป็นพื้นที่ถูกใช้มากกว่าแค่ช่วงกลางวัน หากแต่บางพื้นที่กลับมีการใช้งานที่เบาบาง และบางพื้นที่หนาแน่น เนื่องจากการกระจายตัวของแต่ละพื้นที่ ขาดแรงดึงดูดให้เกิดการเชื่อมต่อ รวมถึงการแยกจากพื้นที่อื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย
แนวคิดและแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่สู่พื้นที่ “24 HOUR SCHOOL” คือ
STUDEN SPACE
พื้นที่รอบสนามกีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สู่การเป็น STUDENT SPACE พื้นที่ชมรม ที่ปรับให้มีความยืดหยุ่นหลากหลาย และครบครันไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก และพื้นที่ร่วมสร้างสรรค์ต่างชมรม
STUDENT JOB LINK
พื้นที่ส่วนอาคารใต้สนามกีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสู่การเป็น STUDENT JOB LINK พื้นที่เชื่อมโยงแหล่งงาน และนิสิตเข้าด้วยกัน ร่นเวลา สร้างโอกาสให้แก่นิสิตและแหล่งงานได้เจอบุคลากรและองค์กรที่เหมาะสมกัน
BLACK BOX THEATRE
อาคารสนามกีฬาในร่ม สู่การเป็น BLACK BOX TREATRE พื้นที่ SHOWCASE แห่งใหม่ของจุฬาฯ ที่เปิดเป็นสาธารณะแก่ทุก ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำไปสู่การต่อยอด สร้างสรรค์นวัตกรรม
CAFÉ & BISTRO
เรือนจุฬานฤมิตร เรือนภรตราชา สู่การเป็น CAFÉ & BISTRO แหล่งพบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แหล่งพักผ่อนแห่งใหม่ ท่ามกลางแมกไม้ และความงามของสถาปัตกรรมยุคสมัยรัชการที่ 5
DORM’S COMMON GROUND
พื้นที่ใต้อาหารหอพักสู่การเป็นพื้นที่ร่วมเรียนรู้สำหรับนิสิตหอพัก ที่ครบครันไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ท่ามกลางบรรยากาศแห่งการเรียนรู้
DORM’s COMMON
พื้นที่ลานหน้าอาคารอเนกประสงค์ หอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สู่การเป็นพื้นที่เติมเต็ม CAMPUS LIFE ที่สมบูรณ์ ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ครัวรวม พื้นที่นั่งทำงาน พื้นที่สร้างสรรค์ผลงานพื้นที่พักผ่อน
ZONE 5: “BICENTENNIAL AXIS”
พื้นที่บริเวณแกนสำคัญของจุฬาฯ จุดเริ่มปฐมศตวรรษสู่ศตวรรษ บริเวณอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ อาคารมหาวชิราวุธ หอประชุมจุฬาฯ พื้นที่สำนักงานจุฬาฯ จนถึงอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ที่โดดเด่นท่ามกลางต้นจามจุรีและไม้น้อยใหญ่ นำไปสู่ภาพอนาคตศตวรรษที่ 2 ที่พัฒนาปรับปรุงด้วยยุทธวิธี “ฝังเข็ม” ผ่านแนวคิด “ปรับ เปลี่ยน เปิด” ที่เน้นการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อเฟื้อสำหรับทุก ๆ คน และส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมตามวิสัยทัศน์ของจุฬาศตวรรษที่ 2
แนวคิดและแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาภูมิทัศน์“BICENTENNIAL AXIS” คือ
TRADITIONAL LANDSCAPE
ตัวอย่างการปรับปรุงภูมิทัศน์และพื้นที่บริเวณ ลานพระบรมรูปสองรัชกาลและบริเวณ หอประชุมจุฬาฯ สู่การเป็นภูมิทัศน์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สนับสนุนกิจกรรม และการสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่เป็นพื้นที่เชิงสัญลักษณ์ของการก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 2 ให้เกิดความหลากหลาย
ECOLOGICAL LANDSCAPE
ตัวอย่างการปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่โดยรอบแกนสีเขียวของจุฬาฯ สู่การเป็นภูมิทัศน์เชิงนิเวศน์ ที่แฝงเสน่ห์และความหลากหลายของธรรมชาติ ก่อให้เกิดระบบนิเวศน์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมส่งเสริมการเรียนรู้ หลากหลายของระบบนิเวศน์
ZONE 6: “PUBLIC SHOWCASE”
หากเปรียบจุฬาฯ เป็นบ้านแล้ว ถนนพญาไทและถนนอังรีดูนังต์ ก็เปรียบได้ว่าเป็นหน้าบ้าน ข้อดีของการมีหน้าบ้านที่เป็นถนนสำคัญที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ต่าง ๆ ของเมืองคือการเข้าถึงที่สะดวกสบาย ความเป็นสาธารณะที่ต้อนรับทุก ๆ คนเข้ามายังพื้นที่มหาวิทยาลัย แต่จุฬาฯ มีรั้วที่เป็นตัวกั้นระหว่างพื้นที่ภายในและพื้นที่ภายนอก รวมถึงกิจกรรมที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เก็บของ และหลังอาคาร จึงทำให้เป็นหน้าบ้านที่ไม่น่าภิรมย์และเชื้อเชิญเท่าที่ควร นำไปสู่การพัฒนาผ่านยุทธศาสตร์ “การฝังเข็ม” ด้วยแนวคิด “ปรับ เปลี่ยน เปิด” เพื่อขับเน้นข้อดี สู่การเปิดพื้นที่แสดงองค์ความรู้ ผลงาน นวัตกรรมนิสิต คณาจารย์แก่สาธารณะ
แนวคิดและแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่สู่ “PUBLIC SHOWCASE” คือ
INDUSTRIAL DESIGN GALLERY
พื้นที่ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สู่การเป็น “ต้นแบบ” ให้การเปิดพื้นที่ คว้านรั้ว เพื่อการส่งเสริมการแสดงผลงานนิสิต รวมถึงพัฒนาความปลอดภัยในเวลากลางคืน
SCIENCE GALLERY
คณะวิทยาศาสตร์เป็นคณะที่มีพิพิธภัณฑ์อยู่ค่อนข้างมาก แต่ขาดการเชื่อมโยง เชื่อมต่อ จึงทำให้เกิดการใช้งานที่ไม่เต็มศักยภาพมากนัก จึงนำมาสู่การฝังเข็ม โดยแนวคิด ปรับ เปลี่ยน เปิด นำมาสู่พื้นที่แสดงผลงาน นวัตกรรม ที่สามรถใช้งานได้ เชื่อมโยงกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมทั้งต่อยอดในการพัฒนานวัตกรรมจากผลงานของนิสิต และคณาจารย์
ARCHITECTURE GALLERY
พื้นที่ด้านหน้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สู่การเป็น “ต้นแบบ” ในการ “ปรับ เปลี่ยน เปิด” อาคารที่เป็นมิตรกับสาธารณะให้ได้เห็นวิธีการเรียนการสอน การแสดงผลงาน ที่สนับสนุนให้เกิดการต่อยอด การแลกเปลี่ยนความคิดข้ามศาสตร์ อันเป็นหัวใจหลักในการสร้างนวัตกรรม ซึ่งสามารถปรับประยุกต์ใช้ได้กับทุก ๆ อาคารของจุฬาฯ ได้เช่นกัน
BIZ CUBE
พื้นที่ลานคณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี สู่การเป็น BIZ CUBE ศูนย์พัฒนาธุรกิจสำหรับนิสิตและคนทั่วไปที่พร้อมจะเริ่มต้นธุรกิจให้สามารถเกิดขึ้นได้จริง ที่เชื่อมโยงกับห้องเรียนบริษัทจำลองและห้องเรียนตลาดหลักทรัพย์จำลอง เพื่อพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ที่สามารถปรับประยุกต์ได้จริงในโลกความจริง รวมถึงการเปิดรั้วจุฬาฯ เพื่อเชื่อมประสานกับสาธารณะ
FINE AND APPLIED ART GALLERY
พื้นที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ อีกหนึ่งตัวอย่างได้รับการ “ฝังเข็ม” ผ่านแนวคิด “ปรับ เปลี่ยน เปิด” จนนำมาสู่การเปิดพื้นที่ทั้งกิจกรรมการเรียนการสอน การแสดงผลงาน ให้สามารถเข้าถึงผ่านการมองเห็นได้ นำไปสู่การต่อยอดการพัฒนาผลงานนิสิต
SMALL ANIMAL HOSPITAL
พื้นที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ ที่มีประชาชนมาใช้สอยอย่างคับคั่ง หากแต่เข้าถึงยาก จึงนำไปสู่การปรับปรุงการเข้าถึง และการพื้นที่ลานจอดรถสู่การเป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อให้บริการกับชุมชน
HERB PATCHES
พื้นที่คณะเภสัชศาสตร์ สู่การเป็นพื้นที่สนับสนุนการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพร ต่อยอดองค์ความรู้สู่นวัตกรรมสร้างสรรค์ เพื่อบริการสังคมต่อไป
ท่านสามารถรับชมที่มาของโครงการ และแนวคิดการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการศึกษา จุฬาฯ ได้ที่ https://bit.ly/2CBDqIC หรือติดตามข่าวสารต่างๆ ของโครงการได้ที่ https://www.facebook.com/cu2040masterplan/
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการได้ที่
ฝ่ายสื่อสารองค์กร ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC)
388 อามิโก้ทาวเวอร์ ชั้น 9 ถ.สี่พระยา
แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทรศัพท์ 02 234 0293, 090 972 7087 โทรสาร 02 234 0294
E-mail chayakorn.k@uddc.net
Website www.uddc.net
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้