รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 พฤษภาคม 2567
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม, ภาพข่าว
ผู้เขียน ณัฐริณีย์ พร้อมวงศ์
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายและทิศทาง กองทุนสร้างเสริมพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่สอง (C2F) ซึ่งเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของคณะกรรมการ C2F ในวาระของผู้บริหารปัจจุบันที่จะหมดวาระในวันที่ 17 พฤษภาคม 2567 โดยมีรองอธิการบดีกำกับดูแลการวิจัย (ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์) และรองอธิการบดีกำกับดูแลด้านวิชาการ (ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์) พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกร่วมการประชุมครั้งนี้
กองทุนเสริมสร้างพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่สอง (The Second Century Fund: C2F) มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนกิจการการศึกษาการพัฒนาวิชาการ การวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้จริงในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมียุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน 4 แผนงาน ได้แก่ สนับสนุนการพัฒนากำลังคน การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อสนับสนุนงานวิชาการเชิงลึก ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก และให้การสนับสนุนโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลต่อสังคม ประเทศ และการแก้ไขปัญหาในระดับโลก
ที่ประชุมได้สรุปผลการดำเนินงานของกองทุน C2F ซึ่งตอบสนองแผนงานยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งชาติระดับโลก ประกอบด้วย การสร้างผู้นำอนาคต การวิจัยสร้างสรรค์และนวัตกรรม และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้
– การสนับสนุนทุนแก่อาจารย์ นักวิจัย และนิสิตระดับต่างๆ รวม 2,697 ทุน เป็นทุนที่จัดสรรให้นิสิตและนักวิจัยต่างชาติ 1,815 ทุน มีงานวิจัยคุณภาพสูง 1,386 เรื่อง แพลตฟอร์มสร้างงานวิจัยแนวหน้าและแสวงหาทุนวิจัยต่อเนื่อง 11 แพลตฟอร์ม โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก 273 ล้านบาท และมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแนวหน้าระดับโลก 150 แห่ง
– แพลตฟอร์มสร้างงานวิจัยระดับแนวหน้าได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยแก่คณาจารย์ นักวิจัยและนิสิตอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย วิชาการต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย มีดังนี้
ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เช่น โครงการฟิสิกส์รากฐานของเอกภพ (CUniverse) การดักจับ CO2 เพื่อการใช้ประโยชน์ (CrystalLyte) หน่วยธุรกิจพัฒนานวัตกรรมพื้นผิววัสดุ (Nexurf) โครงการแผ่นสักไมโครนีดเดิ้ล (Mineed) ฯลฯ
ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่น นวัตกรรมยีนบำบัดรักษามะเร็ง (CAR T-Cell) ไหมไทยสู่ผลิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ (EngineLife) โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพิ่มศักยภาพการรักษาพยาบาลด้วย Virtual Reality (ER-VIPE) ฯลฯ
ด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ เช่น โครงการจุฬาอารีเพื่อผู้สูงวัย โครงการการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อสังคม (D4S) โครงการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โครงการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI) ศูนย์จิตวิทยาพัฒนาการ (Life-Di) ศูนย์เนลสันแมนเดลาเพื่อสันติภาพ ฯลฯ
– การพัฒนานักวิจัยเพื่อสนับสนุนหน่วยวิสาหกิจเพื่อวิจัยนวัตกรรม (Talent for Enterprise, T4Ent) เพื่อขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสู่พาณิชยกรรม (Innovation Driven Enterprise) โดยร่วมมือกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ในการสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาโทและหลังปริญญาเอก เพื่อนำนวัตกรรมสู่การใช้จริง โดย บพค.ได้ร่วมสนับสนุนจำนวน 16 ล้านบาทในการพัฒนาหลักสูตรด้านกำลังคนนวัตกรรม และ C2F ให้การสนับสนุนทุนในหลักสูตรปริญญาโท (Research for Enterprise , R4Ent) เพื่อสนับสนุนการวิจัยของบริษัทนวัตกรรมจำนวน 40 ทุน
– การดำเนินงานในปีงบประมาณ 2566 กองทุน C2F ได้จัดสรรงบประมาณรวมทั้งสิ้น 562 ล้านบาท และในปี 2567 ได้จัดสรรงบประมาณแล้ว 398 ล้านบาท
ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการนำเสนอผลงานวิจัยที่มีผลกระทบสูง (High Impact Program, HIP) ที่ดำเนินการแล้วเสร็จรวม 7 โครงการ โดย ผศ.สรายุทธ ทรัพย์สุข คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้นำเสนอโครงการ Design for Society (D4S) และ ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ อดีตคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นำเสนอโครงการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI) อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า “เงินกองทุน C2F ของจุฬาฯ ไม่ได้ใช้สำหรับแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแต่กองทุนนี้เปรียบเป็นวิตามินที่ช่วยสร้างเสริมพลังให้ชาวจุฬาฯ สร้างผลงานการวิจัย การสอน และการพัฒนาองค์ความรู้ที่ทันสมัย ตลอดจนผลงานต่างๆ เพื่อสังคมที่ยั่งยืน กองทุน C2F ของจุฬาฯ แสดงให้เห็นผลลัพธ์เชิงประจักษ์จำนวนมากที่เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและระดับสากล สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจุฬาฯ ในการเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมชั้นนำและมีผลงานวิจัยในระดับโลก”
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “Bike the Talk: Building a Cycling Society”
22 พ.ย. 67 เวลา 15.00 น.
ห้องสมุด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
CNN สัมภาษณ์อาจารย์จุฬาฯ เผยความสำเร็จงานวิจัยกลิ่นเหงื่อตรวจความเครียดและซึมเศร้า
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้