ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ร่วมมือ ไอ ทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ วิจัยและพัฒนาการจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำ แก้ปัญหาโลกร้อน

            จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) ร่วมมือกับบริษัท ไอ ทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนางานที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาร์บอนเครดิต การรวบรวมและการประมวลผลข้อมูลด้านคาร์บอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งร่วมกันจัดกิจกรรมกับเครือข่ายนักวิจัยในมหาวิทยาลัยและในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยเร่งศักยภาพในการจัดการกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ประเทศไทยก้าวสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้สำเร็จ

            พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ณ ห้อง 705/2 ชั้น 7 อาคารวิจัยจุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการ PETROMAT ลงนามร่วมกับนายอธิพร ลิ่มเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไอ ทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน) ด้วยความมุ่งหมายที่จะยกระดับการจัดการกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อร่วมสร้างอนาคตประเทศไทยให้สอดคล้องกับนานาชาติในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อโลกที่ยั่งยืน

            ที่มาของความร่วมมือครั้งนี้เนื่องจากวิกฤตสภาวะโลกร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบให้หลายประเทศกำลังเผชิญกับอากาศร้อนจัด และเสี่ยงมากขึ้นต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ อุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นมีสาเหตุส่วนใหญ่จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงเกิดความตกลงร่วมกันในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สาระส่วนหนึ่งเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในรัฐภาคีดังกล่าว และได้กำหนดว่าจะเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี ค.ศ. 2050 และจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 นอกจากนี้ทั่วโลกยังมีมาตรการระหว่างประเทศเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงส่งผลให้หลายภาคส่วนของประเทศไทยกำลังเตรียมความพร้อมและเริ่มดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกันบ้างแล้วในปัจจุบัน

            ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) เป็นเครือข่ายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในด้านปิโตรเคมีและวัสดุศาสตร์ มีนักวิจัยในมหาวิทยาลัย ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม และผลงานวิจัยจำนวนมากในด้านที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ พลังงานสะอาด เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน ตลอดจนด้านวัสดุยั่งยืนเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน และยังให้คำปรึกษาเกี่ยวกับคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ในขณะที่บริษัท ไอ ทู เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน) ทำธุรกิจชั้นนำในกลุ่มอุปกรณ์สื่อสารและโทรคมนาคม รวมถึงมีบริการส่งเสริมให้ลูกค้าเปลี่ยนผ่านระบบการทำงานเป็นรูปแบบดิจิทัล ทั้งสองฝ่ายเห็นความสำคัญต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยพร้อมสนับสนุนนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญและงบประมาณในการศึกษาวิจัยและพัฒนา

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า