รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
13 พฤษภาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 ณ CU Social Innovation Hub อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาฯ จัดงานฉลองครบรอบ 3 ปี “ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: แบ่งปันเรียนรู้ ก้าวสู่อนาคต”
ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาฯ กล่าวถึงเป้าหมายการสร้างงานวิจัยเพื่อรับใช้สังคมอย่างยั่งยืนเนื่องในโอกาสครบรอบ 3 ปี ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาฯ (CU Social Innovation Hub) โดยการประมวลผลการดำเนินงานโครงการวิจัย เพื่อพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมความสามารถทางทักษะการประกอบการนวัตกรรมทางสังคม ให้สามารถตอบโจทย์สังคมได้อย่างยั่งยืน จนนำไปสู่การตอบโจทย์สังคม ทั้งในเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง
ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาฯ ได้นำเสนอโครงการวิจัยที่สามารถต่อยอดโครงการเดิมโดยได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก ได้แก่ โครงการวิจัย “สร้างนวัตกรรมทางสังคมด้วยศิลปะการละคร” โดย ศ.ดร.พรรัตน์ ดำรุง คณะอักษรศาสตร์ โครงการวิจัย “แอปพลิเคชันเพื่อการท่องเที่ยวและเรียนรู้วัดโพธิ์” โดย อ.ดร.วิลาสินี สุขสว่าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และโครงการวิจัย “การส่งออกวัฒนธรรมไทย ผ่านสื่อบันเทิง” โดย ดร.ดลยา เทียนทอง สถาบันเอเชียศึกษา
นอกจากนี้ ยังมีโครงการวิจัยที่ได้สร้างผลกระทบหรือมีการนำไปใช้ประโยชน์ทางสังคม ได้แก่ โครงการวิจัย “นวัตกรรมการจัดการห่วงโซ่คุณค่าโกโก้ในระบบนิเวศทางธุรกิจโกโก้น่าน” โดย ผศ.ดร.ธัญศิภรณ์ ณ น่าน สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร โครงการวิจัย “การพัฒนาคลังคัมภีร์ใบลานดิจิทัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากโดย” โดย ผศ.ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ คณะอักษรศาสตร์ และโครงการวิจัย “แพลนบางโพ: โครงการวิจัยนวัตกรรมทางสังคมเพื่อจัดทำแผนอนุรักษ์และ พัฒนาชุมชนถนนสายไม้บางโพอย่างยั่งยืน” โดย ผศ.ดร.ปริญญ์ เจียรมณีโชติชัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ รวมทั้งการประเมินผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจและสังคมและการขยายผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการประเมินผลกระทบทางสังคมตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SROI) นำเสนอโดย รศ.ดร.ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง คณะครุศาสตร์ และ ผศ.ดร.ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ คณะครุศาสตร์
ทั้งนี้ ได้มีการนำเสนอแพลตฟอร์มสังคมยั่งยืน (Sustainable Society Platform) ที่ส่งเสริมสภาพแวดล้อมการวิจัยให้เกิดการร่วมมือข้ามศาสตร์/สาขาวิชาภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยภายนอก เพื่อให้เกิดการแบ่งปันผลการวิจัยและนำความรู้สู่ชุมชนในวงกว้าง แก้ไขความท้าทายด้านความยั่งยืนที่ซับซ้อนและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทางสังคมที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง นำโดย ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (creative economy) ผศ.ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ สถาบันเอเชียศึกษา (livable society) และ ผศ.ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม คณะครุศาสตร์ (inclusive society)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีคณาจารย์และนักวิจัยจากหลายส่วนงานที่ทำงานวิจัยอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมในหลากหลายมิติ เพื่อตอบโจทย์สังคมสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อนและนำไปสู่การสร้างทางเลือกเชิงนวัตกรรมสังคม ได้แก่ การบูรณาการนวัตกรรมนโยบายสังคมสูงวัย การออกแบบนวัตกรรมสถาปัตยกรรมเพื่อสังคม การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืน และการพัฒนาศิลปกรรมดิจิทัลเพื่อสังคม จึงมีการจัดตั้ง “ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เพื่อใช้เป็นชุมชนวิชาการในการยกระดับการปรับเปลี่ยน (Transformation) โดยการขับเคลื่อนแบบบูรณาการสหศาสตร์ (Transdisciplinary) ในบริบททางวิชาการเพื่อสร้างนวัตกรรมทางสังคมและนำไปใช้ประโยชน์ มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
(ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้