รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
13 พฤษภาคม 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแถลงความสำเร็จของโครงการอบรมขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม หรือ Care D+ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผล ยุทธศาสตร์ แผน การงบประมาณและสุขภาวะ จุฬาฯ เป็นประธานในงานแถลงความสำเร็จในครั้งนี้ มีผู้บริหารจากกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง
จากการดำเนินการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ในโครงการ Care D+ ระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รายงานผลการดำเนินโครงการ พบผลสำเร็จที่โดดเด่น 4 ด้าน ได้แก่ 1) มีผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร Care D+ แล้วกว่า 20,000 คน เกินเป้าหมาย 10,000 คนที่ตั้งไว้ 2) ช่วยประหยัดงบประมาณการฝึกอบรมของภาครัฐได้ถึง 37 ล้านบาท 3) คืนเวลาการทำงานให้แก่ราชการได้มากถึง 160,000 ชั่วโมง และ 4) ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมการอบรมได้ถึง 143 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผล ยุทธศาสตร์ แผน การงบประมาณและสุขภาวะ จุฬาฯ กล่าวว่า “ความสำเร็จของโครงการ Care D+ เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งกระทรวงสาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาหลักสูตรและระบบที่มีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับการสื่อสารในระบบสาธารณสุขไทย สิ่งนี้ไม่เพียงช่วยสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วยและญาติ แต่ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบราชการโดยรวมอีกด้วย ความสำเร็จนี้สามารถเป็นต้นแบบในการนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ ต่อไปได้อย่างกว้างขวาง เมื่อบุคลากรภาครัฐมีทักษะการสื่อสารที่ดี เข้าใจประชาชน ย่อมส่งผลถึงคุณภาพการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น สร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ภาครัฐโดยรวม ซึ่งจะเป็นอีกก้าวสำคัญในการปฏิรูประบบราชการไทยให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง”
ทางด้าน รศ.ดร.สมิทธิ์ บุญชุติมา หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนวัตกรรมการสื่อสารและพัฒนาคุณภาพชีวิตและความยั่งยืน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการนี้ กล่าวว่า “ขอขอบคุณ ทุกฝ่ายในความตั้งใจและทุ่มเทร่วมกันพัฒนาหลักสูตร Care D+ จนเป็นหลักสูตรออนไลน์ที่อยู่บนแพลตฟอร์มที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์ความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์ได้เป็นอย่างดี และสามารถนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติได้จริงจนเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมชัดเจน ทั้งในแง่ของการประหยัดงบประมาณ การคืนเวลาให้ราชการ และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ขอขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ที่เข้าร่วมหลักสูตรนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาตนเอง เพื่อให้สามารถสื่อสารและบริการประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ความสำเร็จของโครงการในครั้งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่าเมื่อทุกฝ่ายร่วมแรงร่วมใจกัน เราสามารถยกระดับคุณภาพการดูแลรักษาพยาบาลของไทยได้อย่างแน่นอน หวังว่ากระทรวงสาธารณสุขจะนำผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการนี้ไปใช้ประกอบการวางแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่องต่อไป ควบคู่ไปกับการขยายผลความสำเร็จและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง เพื่อร่วมกันสร้างระบบสาธารณสุขไทยให้เข้มแข็ง เป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างยั่งยืน
จากความสำเร็จที่เกิดขึ้น ทางคณะทำงานโครงการ Care D+ หวังว่าจะขยายการพัฒนาทักษะการสื่อสารให้กับบุคลากรทางการแพทย์ให้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงหลักสูตรอบรมให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นตามข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมหลักสูตร เพื่อผลักดันให้เกิดทีม Care D+ อย่างทั่วถึงในโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ นำมาซึ่งระบบสาธารณสุขไทยที่มีคุณภาพและเข้าใจใส่ใจประชาชนได้อย่างแท้จริง
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้