ข่าวสารจุฬาฯ

ความเชื่อเรื่องการมีลูกปีมังกร ความหวังที่ต้องรอลุ้นในการกอบกู้วิกฤติเด็กเกิดน้อยในไทย – บทความพิเศษ ศศินทร์ จุฬาฯ

หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินหรือเคยอ่านผ่านตาวิกฤตการณ์เรื่อง “อนาคตของโลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย” กันมาบ้าง อ้างอิงจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้มีการคาดการณ์เอาไว้ว่า ในปี 2030 ประชากร 1 ใน 6 ของโลกจะเป็นประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ในจำนวนนี้จะเพิ่มขึ้นอีกสองเท่าในปี 2050 ซึ่งวิกฤตการณ์นี้ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยด้วยเช่นกัน จากบทความพิเศษของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้คาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ. 2083 ประชากรในประเทศไทยจะลดลงจาก 66 ล้านคน เหลือเพียง 33 ล้านคน หรือ 50% ของประชากรในปัจจุบันเท่านั้น ในจำนวนนี้จะพบว่า ประชากรผู้สูงวัยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะเพิ่มมากขึ้นจาก 8 ล้านคนในปัจจุบัน เป็น 18 ล้านคน จากสัดส่วนข้างต้นจะเห็นว่า ในปี ค.ศ. 2083 ประเทศไทยจะมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนประชากรในประเทศ

สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์เรื่องสังคมสูงวัยนั้น เกิดจากการที่ปัจจุบันอัตราการเกิดลดน้อยลงเป็นอย่างมาก ทั้งเรื่องของค่านิยมของการมีลูกที่เปลี่ยนไปหรือเรื่องของความกังวลในด้านค่าใช้จ่ายที่จะสูงขึ้นเมื่อมีบุตร เมื่อทำการเทียบกับในอดีตช่วงปี 2545 ถึงปี 2550 ที่มีเด็กเกิดมามากถึง 4,796,940 คน แต่ใน 5 ปีที่ผ่านมา กลับมีเพียง 2,770,184 คนเท่านั้น ซึ่งลดลงไปเกือบ 50%

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการให้ข้อมูลในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 ว่า สาเหตุของการที่คนไม่อยากมีลูกส่วนใหญ่นั้นมาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่ไม่เอื้อต่อการมีลูก มีแค่ร้อยละ 10 เท่านั้นที่มีข้อมูลว่าไม่อยากมีลูกเพราะมีปัญหาสุขภาพ ดังนั้นหากยังไม่มีมาตรการจูงใจให้ประชาชนตัดสินใจมีบุตร บนพื้นฐานของสิทธิส่วนบุคคล ก็จะไม่สามารถเพิ่มจำนวนการเกิดได้                

แต่ในวิกฤตการณ์นี้อาจจะยังมีความหวัง เมื่อในปี 2566 ที่ผ่านมา ได้มีจำนวนสตรีเข้ารับบริการฝากครรภ์มากเกินกว่าเป้าหมายที่ทาง สปสช. ได้ตั้งเอาไว้ เป็นจำนวน 493,918 คน จากเป้าหมาย 319,317 คน หรือคิดเป็น 154.68% ของเป้าหมายเดิม ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นข้างต้น ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากการผลักดันให้การส่งเสริมการมีบุตรเป็นวาระแห่งชาติ ตามที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอไว้เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2566  ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 กระทรวงสาธารณสุขจึงเร่งผลักดันให้การส่งเสริมการมีบุตรเป็น “วาระแห่งชาติ” เพื่อให้รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนหลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยสาระสำคัญที่พิจารณาคือ มาตรการส่งเสริมการมีบุตร ทั้งเรื่องความสมดุลการทำงานกับการดูแลครอบครัว การแบ่งเบาค่าใช้จ่ายและภาระในการเลี้ยงดูบุตร การช่วยเหลือคนที่มีบุตรยาก และการแก้ไขฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ในกลุ่มที่ใช้ชีวิตคู่ไม่อยากจดทะเบียนสมรส กลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มหนุ่มโสด สาวโสดที่อยากมีลูก แต่ไม่อยากมีครอบครัว ให้มีโอกาสมีลูกได้ โดยบูรณาการร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ยังมีแนวทางส่งเสริมการจัดตั้งสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า 2 ปี เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงดูเด็กอ่อนก่อนวัยเรียนในเวลากลางวัน สำหรับครอบครัวที่พ่อแม่ออกไปทำงาน (หลายบริษัทที่มีสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย คนทำงานมีแนวโน้มที่จะมีคุณภาพมากว่าไม่มีสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย เนื่องจากพ่อแม่ทำงานได้เต็มที่ไม่ต้องพะวงกังวลใจเรื่องดูแลลูกในช่วงเวลาทำงาน) หรือการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาภาระมีบุตรยากให้เข้าถึงการรักษา โดยเฉพาะสตรีที่อายุยังน้อย เพื่อลดภาวะการมีบุตรยากในคู่สมรสที่อายุสูงขึ้น โดย พญ.อัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย ต้องการให้กรมอนามัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการในเรื่องของการมีคลินิกส่งเสริมการมีบุตรจังหวัดละ 1 แห่ง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการการรักษาภาวะมีบุตรยากได้เร็วขึ้นในอายุที่น้อยลง และเพื่อเพิ่มโอกาสในการมีบุตร

พญ.อัจฉรา ยังได้เสนอแนะเพิ่มเติมในเรื่องการมี child care ในทุกบริษัท หน่วยราชการ และรัฐวิสาหกิจ ซึ่งอาจช่วยลดประเด็นบทบาทที่ขัดกันระหว่างการทำงานกับการเลี้ยงดูบุตรได้ โดยการมี child care ดังกล่าวเป็นถือการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้ถือเป็นการสิ้นเปลือง

อย่างไรก็ตาม อีกสาเหตุหนึ่งที่หลายๆคนอาจจะยังไม่ได้คำนึงถึง อาจเกิดจากพลังของ “ปีมังกร” ในปี 2567 นี้

จากความเชื่อของชาวจีนที่ได้มีเขียนไว้ในตำรานักษัตรโบราณได้ระบุไว้ว่า เด็กเกิดปีมังกร จะมีลักษณะสง่าผ่าเผย มีความเป็นผู้นำสูง มีความมุมานะ อดทนต่อความยากลำบาก นอกจากนี้ เด็กที่เกิดปีมังกรจะมีเรื่องของโชคลาภทั้งการเงิน การงาน และความรัก ซึ่งเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมานี้ก็ได้ถือเป็นวันที่เริ่มต้นเข้าสู่ปีมังกรอย่างเป็นทางการ จากสถิติจำนวนการเกิดโดยจำแนกตามปีที่เกิด ตั้งแต่ ปีพ.ศ.2493 – 2566 จะพบว่าในปี พ.ศ.2507 ที่มีจำนวนคนเกิดเยอะมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ประเทศไทย เป็นจำนวน 1,212,162 คน ก็เป็นปีมังกรเช่นเดียวกัน นอกจากนี้เมื่อดูที่เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average) ของอัตราการเกิดย้อนหลังในระยะ 2 ปี ยังพบว่าเมื่อถึงปีมังกรหรือหลังจากปีมังกรจะมีแนวโน้มที่จำนวนเด็กเกิดใหม่จะสูงขึ้นในทุกครั้ง

ที่มา: พัชราวลัย วงศ์บุญสิน (2553) “การลดลงของอัตราเจริญพันธุ์: นัยต่อการปันผลทางประชากรระยะที่ 2 ยุคสังคมเสี่ยงภัย.” วารสารประชากรศาสตร์ 26, 2 (กันยายน): 27-62. คำนวณโดยใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ย้อนหลังในระยะเวลา 2 ปี โดยปีที่เป็นปีมังกรจะแทนด้วยสีแดง

เด็กเกิดที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นช่วงปีมังกร เพียงพอหรือไม่ที่จะกอบกู้วิกฤติการตายมากกว่าเกิดของไทย คงต้องรอข้อมูลการเกิดและการตายในช่วง กุมภาพันธ์ ถึง ตุุุลาคม พ..2567 ว่าสถานการณ์เกิดมากกว่าตายของประเทศไทยที่เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2564 จะมีแนวโน้มดีขึ้นหรือไม่จากแผนการดำเนินงานตามวาระแห่งชาติ จากความร่วมมือของกระทรวงต่างๆ รวมทั้งสมาคม เอกชน และจากปีมังกร ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น

ที่มา

https://www.hfocus.org/content/2023/10/28800

https://www.thansettakij.com/columnist/585614

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า