รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
17 พฤษภาคม 2567
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม, ภาพข่าว
ผู้เขียน ณัฐริณีย์ พร้อมวงศ์
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องรับรอง ชั้น 2 อาคารจามจุรี 4 ศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ จัดพิธีลงนามสัญญาโอนสิทธิ “อุปกรณ์ระบายน้ำในตาสำหรับผู้ป่วยโรคต้อหิน” โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าของสิทธิ ให้แก่บริษัท อายแคร์บ็อกซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท Start up ที่ตั้งอยู่ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินกิจการค้นคว้า วิจัย พัฒนา ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ระบายน้ำในตาสำหรับผู้ป่วยโรคต้อหิน โดยมี ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ รองอธิการบดี ด้านการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน ผศ.ดร.วีระยุทธ ศรีธุระวานิช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กรรมการบริษัท อายแคร์บ็อกซ์ จำกัด ตัวแทนนักวิจัยจากจุฬาฯ กล่าวถึงที่มาและความสำคัญของเทคโนโลยีนี้ รศ.นพ.ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์ รศ.พญ.วิศนี ตันติเสวี และ นพ.รัฐ อิทธิพานิชพงศ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตัวแทนบริษัท อายแคร์บ็อกซ์ จำกัด กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ จากนั้นเป็นพิธีลงนามสัญญาโอนสิทธิ “อุปกรณ์ระบายน้ำในตาสำหรับผู้ป่วยโรคต้อหิน”
“โรคต้อหิน” คือโรคที่เกิดจากความบกพร่องของเส้นประสาทตา สาเหตุหลักเกิดจากความดันตาที่สูงผิดปกติทำให้เส้นประสาทตาทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นและอาจนำไปสู่ภาวะตาบอดถาวรได้ในที่สุด โรคต้อหิน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ต้อหินชนิดมุมปิด และโรคต้อหินชนิดมุมเปิด ซึ่ง 3 ใน 4 ของผู้ป่วยโรคต้อหินทั้งหมดเป็นโรคต้อหินชนิดมุมเปิด ในประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยโรคต้อหินกว่า 2 ล้านคน และมีผู้ป่วยโรคนี้ทั่วโลก 76 ล้านคน รศ.นพ.ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์ และคณะวิจัยจึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ระบายน้ำในตาสำหรับผู้ป่วยโรคต้อหิน ซึ่งราคาไม่แพง เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ป่วยโรคต้อหินชนิดมุมเปิด
จุฬาฯ ตรวจสุขภาพแรงงานฟรี เนื่องในวันแรงงาน 1 พฤษภาคม 2568 ที่สยามสแควร์
1 พ.ค. 68 เวลา 08.00 -20.00 น.
สยามสแควร์
“MDCU MedUMORE” โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล Winner “THE Awards Asia 2025” ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และองค์ความรู้ฮาลาลในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ฮ.ศ. 1446
เชิญชวนคณาจารย์จุฬาฯ สมัครและเสนอชื่อผู้สมัครรับการเลือกตั้งเพิ่มเติม สมาชิกสภาคณาจารย์ พ.ศ. 2568
23 - 28 เมษายน 2568
เชิญร่วมสัมมนาวิชาการ “อุดมศึกษากับการพัฒนากำลังคนเพื่อรับมือกับความท้าทายในอนาคต”
25 เมษายน 2568 เวลา 13.00 - 16.30 น.
นิสิตนิติศาสตร์ จุฬาฯ สร้างชื่อเสียงในการแข่งขันว่าความกฎหมายระหว่างประเทศที่สหรัฐอเมริกา
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้