รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
20 พฤษภาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน วศินี ฤทธิ์ดี
“เมื่อปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังถูกพัฒนาถึงระดับปัญญาเทียบเท่ามนุษย์ในอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า AI จะเข้ามาทำงานแทนที่มนุษย์โดยทำได้ฉลาดกว่า แม่นยำกว่า รวดเร็วกว่า และถูกกว่า อนาคตของมนุษยชาติจะเป็นอย่างไร?”
คำถามที่ท้าทายนี้ ศ.กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ราชบัณฑิต รักษาการผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำเสนอคำตอบที่น่าสนใจในการบรรยายพิเศษเรื่อง “เมื่อเอไอครองโลก มนุษย์จะอยู่อย่างไร” เมื่อวันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุม CSII Digital Auditorium ชั้น 3 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) จัดโดยสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับราชบัณฑิตยสภา ในโครงการราชบัณฑิตยสภานำความรู้สู่สังคม โดยมี ศ.เกียรติคุณ นพ.สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา เป็นผู้กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดงาน
ศ.เกียรติคุณ นพ.สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา กล่าวว่า AI หรือปัญญาประดิษฐ์เป็นเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าอย่างมาก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายกิจกรรม อย่างไรก็ตาม AI ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร
ศ.เกียรติคุณ นพ.สุรพล อิสรไกรศีล ยังเชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างเทคโนโลยี ดังนั้นเทคโนโลยีจะต้องถูกควบคุมโดยมนุษย์ได้ ซึ่งต่างก็ต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยราชบัณฑิตยสภามีหน้าที่ในการสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชน อาทิ การบัญญัติคำศัพท์ การจัดทำพจนานุกรม ในอนาคตอีก 2 ปีข้างหน้าราชบัณฑิตยสภาก็จะครบรอบ 100 ปี จะมุ่งเน้นไปที่เรื่องของวิทยาศาสตร์มากขึ้น เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ด้านนี้ให้กับประชาชนคนไทย เพื่อที่ทุกคนจะสามารถนำองค์ความรู้เหล่านี้ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ศ.กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ผู้เฝ้าติดตามเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI อย่างใกล้ชิด ได้แบ่งปันความรู้พื้นฐานและข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับพัฒนาการของ AI ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด รวมทั้งแนวโน้มที่กำลังจะเกิดในอนาคตอันใกลนี้ จากนี้ไปเราจะต้องอยู่กับ AI ตลอดเวลา ประชาชนต้องใช้ AI ให้เป็น และเข้าใจในประโยชน์และโทษของ AI
“ในอีกไม่เกิน 5 ปีข้างหน้า AI จะมีความฉลาดมากกว่ามนุษย์ สามารถทำทุกอย่างที่มนุษย์ทำได้ AI ในรูปของหุ่นยนต์จะเข้ามาทำงานแทนมนุษย์ในลักษณะงานที่ต้องทำซ้ำ สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมงโดยไม่บ่น ไม่มีอารมณ์ ทำได้ตลอดเวลา ทำให้ผลผลิตต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ ต่อไปมนุษย์ก็ไม่ต้องทำงาน สามารถใช้ชีวิตอิสระมากขึ้น ไม่ต้องอยู่ในที่ทำงานแคบๆ อีกต่อไป” ศ.กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์ กล่าว
ศ.กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่าปัจจุบัน AI ยังถูกออกแบบให้ทำงานได้เฉพาะอย่าง ในอนาคต AI จะถูกพัฒนาถึงระดับปัญญาเทียบเท่ามนุษย์ ที่เรียกว่า Artificial General Intelligence หรือ AGI สามารถเลือกทำอะไรก็ได้ในสิ่งที่มนุษย์สั่ง เป็นหุ่นยนต์ที่มีสมองเป็น AI โดยเข้ามาทำงานแทนที่มนุษย์ได้อย่างหลากหลาย ทำงานได้เร็วกว่า นานกว่า ฉลาดกว่า และราคาถูกกว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้าแรงงานมนุษย์จะหายไปจากในระบบไม่ต่ำกว่า 50 % ลักษณะงานที่ถูกแทนที่โดย AI เช่น พนักงาน Call Center ผู้ให้บริการในธนาคาร ศิลปินที่เขียนภาพ ฯลฯ ทำให้เกิดโลกแห่งความเหลือเฟือ (Abundant World) เกิดผลิตภัณฑ์ที่ AI ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก ราคาจะถูกลงเรื่อยๆ อีกไม่นานสังคมมนุษย์จะเข้าสู่ยุค “เศรษฐกิจยุคหลังแรงงานมนุษย์ (Post-Labor Economy)” ที่ประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในสถานะไม่ต้องทำงานแล้ว ซึ่งในเชิงเศรษฐกิจถือว่าเป็น “ชนชั้นไร้ประโยชน์” (Useless Class) จนถึงแนวคิดเรื่องการได้รับ “เงินยังชีพพื้นฐานถ้วนหน้า (Universal Basic Income หรือ UBI)” ในอนาคตทุกคนจะได้เบี้ยยังชีพ ทำให้ความมั่งคั่งของประเทศที่มีอยู่จะหายไปเรื่อยๆ ประเทศที่มีความก้าวหน้าด้าน AI จะครอบครองความมั่งคั่งของโลก ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้อาจทำให้ภูมิรัฐศาสตร์ของโลกเปลี่ยนไป
“ประชาชนทุกคนต้องมีความรู้เท่าทัน AI (AI Literacy) ซึ่งจะต้องปูพื้นฐานตั้งแต่เด็ก เมื่อเติบโตขึ้นจะได้ใช้ AI ให้เป็น ในส่วนของภาครัฐควรตั้งทีมงานในลักษณะที่เป็นมันสมองของชาติเพื่อประมวลข้อมูลทางด้าน AI และพิจารณาว่าจุดยืนของประเทศควรจะอยู่ที่ใด มีการประชาสัมพันธ์แผนยุทธศาสตร์ให้ประชาชนเข้าใจว่าเพราะเหตุใด AI จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ รวมทั้งจะต้องทำให้ประชาชนได้รับการอบรมให้มีความเข้าใจในเรื่อง AI” ศ.กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย
นิสิต BBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขัน Alberta International Business Competition 2024 ที่แคนาดา
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ชนะเลิศการแข่งขันแผนการตลาดระดับอุดมศึกษา J-MAT AWARD ครั้งที่ 33
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้