รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
20 พฤษภาคม 2567
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม, ภาพข่าว
ผู้เขียน ณัฐริณีย์ พร้อมวงศ์
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องรับรอง ชั้น 2 อาคารจามจุรี 4 ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ รองอธิการบดี ด้านการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล จุฬาฯ และ นพ.กรมิษฐ์ ศุภพิพัฒน์ ผู้แทนนายสุทธิโรจน์ ศุภพิพัฒน์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท เซลล์มีดี จำกัด ร่วมพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิการดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับ“การพัฒนาทีเซลล์ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม (Chimeric Antigen Receptor T- cell) เพื่อการรักษาโรคมะเร็ง” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าของเทคโนโลยีให้แก่บริษัท เซลล์มีดี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท spin – off ที่บ่มเพาะโดยศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ (CU Innovation Hub) โดยมี ผศ.ภญ.ดร.สุพรรณิการ์ ถวิลหวัง อาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ ดร.นิธิดล สกุลรังสิต นักวิจัยหลังปริญญาเอก เป็นตัวแทนนักวิจัย ลงนามเป็นพยานและร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามครั้งนี้
ผศ.ภญ.ดร.สุพรรณิการ์ ถวิลหวัง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “CAR T cell เป็นนวัตกรรมการรักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพสูง และกำลังเป็นที่น่าสนใจจากทั่วโลก อย่างไรก็ตาม CAR T cell ในปัจจุบันได้ผลดีเฉพาะในมะเร็งที่เป็นมะเร็งเลือด โครงการวิจัยนี้ ทางทีมวิจัยได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ซึ่งอยู่ในระหว่างการจดสิทธิบัตร ผลการวิจัยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของ CAR T cell ในการฆ่าเซลล์มะเร็งสมอง มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านมและมะเร็งอื่นๆ ที่พบบ่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง และเพิ่มการคงอยู่ของ CAR T cell ในร่างกาย โดยผ่านการทดสอบในห้องปฎิบัติการและในสัตว์ทดลองตามมาตรฐานสากล พร้อมสำหรับการศึกษาทางคลินิกระยะที่ 1 ทางทีมวิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเทคโนโลยีนี้จะเป็นความหวังใหม่สำหรับชาวไทยในการรักษาโรคมะเร็งที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่นต่อไป
นพ.กรมิษฐ์ ศุภพิพัฒน์ กล่าวว่า “บริษัท เซลล์มีดี จำกัดซึ่งเป็น biotech spin off company ด้านการพัฒนาเซลล์และยีนบำบัด บริษัทแรกจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ มีพันธกิจในการนำเทคโนโลยีขั้นสูงจากนักวิจัยไทยไปต่อยอดเพื่อสร้างประโยชน์ในวงกว้างต่อสังคม ทั้งทางด้านสาธารณสุขและด้านเศรษฐกิจ บริษัทมีความพร้อมและศักยภาพที่จะผลักดันนวัตกรรม CAR T cell ซึ่งเป็น deep technology ให้สามารถขับเคลื่อนไปสู่การดำเนินการเชิงพาณิชย์โดยการขึ้นทะเบียนทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยชาวไทยเข้าถึง technology CAR T cell ได้ในราคาที่สมเหตุสมผลและการส่งออกเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อนำรายได้เข้าสู่ประเทศไทย
การศึกษาวิจัยและนวัตกรรม“การพัฒนาทีเซลล์ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อการรักษาโรคมะเร็ง” ได้รับการสนับสนุนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้ทีเซลล์ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม (Chimeric Antigen Receptor T- cell) มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในการรักษามะเร็งชนิดก้อนต่างๆ ได้แก่ มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม และมะเร็งปอด ทั้งนี้ บริษัท เซลล์มีดี จำกัด มีความพร้อมในการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีดังกล่าว และมีศักยภาพในการระดมทุนเพื่อการดำเนินการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เซลล์บำบัดสำหรับการรักษาโรคมะเร็ง เพื่อให้ผู้ป่วยชาวไทยสามารถเข้าถึงการรักษามะเร็งชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงนี้ได้ในอนาคตอันใกล้
ช่อง 7HD จับมือจุฬาฯ เปิด “4 ซีรีส์ กีฬานักเรียน แชมป์กีฬา 7HD 2025” จุฬาฯ พร้อมสนับสนุนสร้างอนาคตครั้งสำคัญเพื่อเด็กไทย
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 32 จุฬาฯ ระดมความรู้ข้ามศาสตร์ “ฝ่าวิกฤตแผ่นดินไหว” ชวนคิด ชวนถาม เตรียมพร้อมรับมือและฟื้นตัวจากภัยพิบัติ
อาจารย์จุฬาฯ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2567
จุฬาฯ วางพุ่มดอกไม้ถวายสักการะเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมกิจกรรม “Book & Gift For Share” เนื่องในวันหนังสือเด็กสากล 2 เมษายน
2 เม.ย. 68
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สาขาสยามสแควร์
เชิญฟังบรรยาย Chula Lunch Talk: Study Safe, Stay Calm เรียนได้ อยู่ดี ภัยพิบัติใด ก็ไม่หวั่น
4 เม.ย. 68 เวลา 2.00 -13.00 น.
ชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ (หอสมุดกลาง)
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้