รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
23 พฤษภาคม 2567
ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันเอเชียศึกษา คณะรัฐศาสตร์ และศูนย์อินเดียศึกษา ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย จัด “งานต้อนรับศูนย์อินเดียฯ สู่สถาบันเอเชียศึกษา” พร้อมเปิดตัวหนังสือ “พุทธโคดม : บทวิเคราะห์เชิงรัฐศาสตร์ ว่าด้วยพุทธประวัติในบริบททางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม อินเดียในสมัยพุทธกาล” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2567 ณ CU Social Innovation Hub อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ เพื่อฉลองครบรอบ 39 ปีสถาปนาสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ และในโอกาสที่ศูนย์อินเดียศึกษาได้โอนย้ายมาร่วมเป็นหนึ่งในหน่วยงานของสถาบันเอเชียศึกษา
งานต้อนรับศูนย์อินเดียศึกษา สู่สถาบันเอเชียศึกษาในครั้งนี้เริ่มด้วยพิธีจุดประทีปเปิดงาน พร้อมสวดโศลกทางพุทธศาสนา โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวรายงาน จากนั้นเป็นการกล่าวปาฐกถาโดยนายนาเคศ สิงห์ (H.E. Mr. Nagesh Singh) เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย ต่อด้วยกิจกรรมเปิดตัวหนังสือ “พุทธโคดม : บทวิเคราะห์เชิงรัฐศาสตร์ ว่าด้วยพุทธประวัติในบริบททางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมอินเดียในสมัยพุทธกาล” โดยมีการเสวนาเรื่อง “พุทธโคดมฯ ดีอย่างไร ทำไมต้องอ่าน” ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ศ.ดร.ภัทร รุจิรทรรศน์ นักปราชญ์พระพุทธศาสนา รศ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล อดีตอาจารย์ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ นายณัฐ วัชรคิรินทร์ นักวิชาการอิสระเชี่ยวชาญอินเดียศึกษาด้านภาษาและวัฒนธรรม ดำเนินการเสวนาโดย ผศ.ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์ หัวหน้าสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
หนังสือ “พุทธโคดม : บทวิเคราะห์เชิงรัฐศาสตร์ ว่าด้วยพุทธประวัติในบริบททางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม อินเดียในสมัยพุทธกาล” ฉบับปรับปรุงใหม่ เขียนโดย รศ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกในโครงการภารตประทีปของศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาฯ ในปี 2555 เป็นผลงานการศึกษาที่มีคุณูปการอันทรงคุณค่าทั้งพุทธศาสนศึกษา อินเดียศึกษา รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เป็นการผสมผสานแหล่งความรู้และมุมมองอันหลากหลาย โดย ได้รับรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ประจำปี 2557 ในฐานะหนังสือดีเด่นประเภทสารคดี
ช่อง 7HD จับมือจุฬาฯ เปิด “4 ซีรีส์ กีฬานักเรียน แชมป์กีฬา 7HD 2025” จุฬาฯ พร้อมสนับสนุนสร้างอนาคตครั้งสำคัญเพื่อเด็กไทย
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 32 จุฬาฯ ระดมความรู้ข้ามศาสตร์ “ฝ่าวิกฤตแผ่นดินไหว” ชวนคิด ชวนถาม เตรียมพร้อมรับมือและฟื้นตัวจากภัยพิบัติ
อาจารย์จุฬาฯ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2567
จุฬาฯ วางพุ่มดอกไม้ถวายสักการะเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมกิจกรรม “Book & Gift For Share” เนื่องในวันหนังสือเด็กสากล 2 เมษายน
2 เม.ย. 68
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สาขาสยามสแควร์
เชิญฟังบรรยาย Chula Lunch Talk: Study Safe, Stay Calm เรียนได้ อยู่ดี ภัยพิบัติใด ก็ไม่หวั่น
4 เม.ย. 68 เวลา 2.00 -13.00 น.
ชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ (หอสมุดกลาง)
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้