ข่าวสารจุฬาฯ

อาจารย์และนิสิตจุฬาฯ ได้รับรางวัลในงานประกวดนวัตกรรม “The 17th International Inventions and Innovations Show” (INTARG® 2024)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จของอาจารย์และนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคว้ารางวัลในงานประกวดนวัตกรรม “The 17th International Inventions and Innovations Show” (INTARG® 2024) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 – 23 พฤษภาคม 2567 ณ เมืองคาโตไวซ์ สาธารณรัฐโปแลนด์ โดยรางวัลที่ได้รับมีดังนี้

1. Pearl Sand: Pearlescent Sand from Mussel Shells for Sustainable Art Applications (ทรายมุก: ทรายประกายมุกจากเปลือกหอยแมลงภู่สำหรับงานศิลปะเพื่อความยั่งยืน)

โดย ผศ.ดร.โสมฉาย บุญญานันต์ คณะครุศาสตร์
ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์
อ.จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์
นายสุชาติ อิ่มสำราญ
น.ส.จันทนา ชัยโอภานนท์

รางวัลที่ได้รับ
1) Gold Medal
2) Special prize จาก Association for the Promotion of Polish Science, Technology and Innovation (SPPNTI) ประเทศโปแลนด์
3) รางวัล NRCT HONORABLE MENTION AWARD จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ทรายมุก เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเปลือกหอยแมลงภู่เหลือทิ้งเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง โดยการสกัดแคลเซียมคอร์บอเนตมาแปรรูปร่วมกับวัสดุอื่น ๆ เช่น ไทเทเนียมไดออกไซด์ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการฟอกอากาศ การแต่งสีหรือการแต่งกลิ่นเพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย แล้วนำแคลเซียมคอร์บอเนตแปรรูปนั้นมาเคลือบผลิตภัณฑ์เพื่อทำการตกแต่งพื้นผิว ทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณสมบัติที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของการใช้งาน


2. ECO-Deco: Glittering Decoration Sand from Waste Green Mussel Shells (ECO-Deco: ทรายประกายแก้วแปรรูปจากเปลือกหอยแมลงภู่เพื่อการตกแต่งที่ยั่งยืน)

โดย อ.จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม
ผศ.ดร.โสมฉาย บุญญานันต์
ดร. ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์
อาจารย์น้ำผึ้ง ทวีพรปฐมกุล
Robert Armstrong
นายปรินทร แจ้งทวี
นายสุชาติ อิ่มสำราญ

รางวัลที่ได้รับ
1) รางวัลเหรียญทอง
2) รางวัล NRCT SPECIAL AWARD จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ทรายประกายแก้วแปรรูปจากเปลือกหอยแมลงภู่เพื่อการตกแต่งที่ยั่งยืน เป็นวัสดุศิลปะทางเลือกใหม่เพื่อการสร้างสรรค์งานศิลปะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตจากวัสดุชีวภาพ 100% ได้แก่ ขยะเปลือกหอยแมลงภู่จากอุตสาหกรรมอาหารทะเล โดยมีคุณสมบัติสะอาด ปราศจากเชื้อแบคทีเรีย ปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม จึงเหมาะแก่การนำมาใช้สร้างสรรค์งานศิลปะได้เหมาะสมกับทุกกลุ่มวัย ส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมทั้งร่างกายและสุนทรียะ  และช่วยลดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม


3. CU-Dough: Anti-bacterial dough Cu nanoparticles (CU-Dough: แป้งโดว์ป้องกันแบคทีเรียด้วย Cu nanoparticles)

โดย อ.น้ำผึ้ง ทวีพรปฐมกุล โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม
อ.จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์
ผศ.ดร.โสมฉาย บุญญานันต์
Robert Armstrong
นายปรินทร แจ้งทวี
นายสุชาติ อิ่มสำราญ

รางวัลที่ได้รับ
1) รางวัลเหรียญทอง
2) รางวัล NRCT HONORABLE MENTION AWARD จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

CU-Dough: แป้งโดว์ป้องกันแบคทีเรีย เป็นแป้งปั้นสำหรับเด็กปฐมวัยด้วยเทคโนโลยี Cu nano สังเคราะห์ด้วยวิธี green chemistry ในปริมาณที่เหมาะสม จึงสามารถยับยั้งการแพร่กระจายของแบคทีเรีย ปลอดภัยต่อเด็ก ยืดอายุการเก็บรักษาได้นานกว่าเดิมถึง 4 เท่า ทำให้มั่นใจว่ายังมีความใหม่และพร้อมใช้งาน ลดของเสียและลดการใช้ทรัพยากร มีสีสันสดใสมากมาย กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาวะ


4. Disease resistant booster in red tilapia using lipid-based nanoparticle loaded with Andrographolide and Curcuminoid (องค์ประกอบสำหรับเพิ่มความสามารถในการต้านทานต่อเชื้อก่อโรคในปลานิลโดยนาโนอิมัลชันกักเก็บสารขมิ้นชันและองค์ประกอบนาโนอิมัลชันกักเก็บสารสกัดฟ้าทลายโจร)

โดย รศ.น.สพ.ดร.นพดล พิฬารัตน์ คณะสัตวแพทยศาสตร์
สพ.ญ.ดร. สิริกร กิติโยดม
ดร.ณัฏฐิกา แสงกฤช
นายจักรวาฬ ยศถาวรกุล
ด.ช.ธนกฤต กิติโยด

รางวัลที่ได้รับ
1) รางวัลเหรียญเงิน
2) รางวัล special prize จาก 𝑰𝒏𝒅𝒐𝒏𝒆𝒔𝒊𝒂𝒏 𝑰𝒏𝒗𝒆𝒏𝒕𝒊𝒐𝒏 𝒂𝒏𝒅 𝑰𝒏𝒏𝒐𝒗𝒂𝒕𝒊𝒐𝒏 𝑷𝒓𝒐𝒎𝒐𝒕𝒊𝒐𝒏 𝑨𝒔𝒔𝒐𝒔𝒊𝒂𝒕𝒊𝒐𝒏 (𝑰𝑵𝑵𝑶𝑷𝑨) ประเทศอินโดนีเซีย
3) รางวัล NRCT HONORABLE MENTION AWARD จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

องค์ประกอบสำหรับเพิ่มความสามารถในการต้านทานต่อเชื้อก่อโรคในปลานิล เป็นการนำนาโนเทคโนโลยีมากักเก็บสารสำคัญจากฟ้าทะลายโจรและขมิ้นชันซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีการพิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต โดยการใช้นาโนเทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดซึม การออกฤทธิ์ ป้องกันการเสื่อมสภาพของสารสำคัญ และเพิ่มความสามารถในการต้านเชื้อก่อโรคในสัตว์น้ำ ซึ่งจากการทดสอบในระดับภาคสนามได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยสามารถลดความสูญเสียจากการเกิดโรคระบาดในปลาได้มากกว่าร้อยละ 50 และสามารถเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของปลานิลอีกด้วย  นอกจากนี้นวัตกรรมนี้เป็นสารสกัดที่ได้จากธรรมชาติที่ใช้ทดแทนสารเคมีและยาปฏิชีวนะอย่างมีประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตสัตว์น้ำ จึงลดปัญหาการนำเข้ายาและสารเคมีจากต่างประเทศ และควบคุมปัญหาแบคทีเรียดื้อยาและการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรเป็นอย่างยิ่ง


จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า