รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 พฤษภาคม 2567
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
ศูนย์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคม คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานเสวนาจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ ข้อมูล และอัลกอริธึ่มประเทศไทย 2567 AI : Ethics Exhibition Thailand 2024 ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2567 ณ TK Park ชั้น 8 เซ็นทรัลเวิลด์ นำเสนอมุมมองทางจริยศาสตร์ปัญญาประดิษฐ์อย่างรอบด้าน เพื่อการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้อย่างกลมกลืนกับบริบทในชีวิตยุคปัจจุบัน ในงานมีการเสวนาโดยนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญหลากสาขาวิชาชีพ การอภิปราย workshop และงานแสดงศิลปะแบบมีส่วนร่วม
ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ประธานเปิดงานเสวนาครั้งนี้ กล่าวว่า แนวคิดปัญญาประดิษฐ์หรือ AI มีมานานแล้ว โดยอลัน ทัวริ่ง (Alan Turing) นักคอมพิวเตอร์เสนอเกณฑ์ในการตรวจสอบว่า AI ไหนเป็น AI ขั้นสูงจริง จะต้องให้คนมาคุย ถ้าคุยแล้วคนไม่รู้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ จึงจะถือว่าผ่านการทดสอบ แต่ทุกวันนี้ยังไม่มี AI ชนิดใดทำได้ ปัจจุบันการพัฒนา AI ไม่ได้มีการปิดกั้นการพัฒนา เงื่อนไขสำคัญของการมีตัวตนและมีความคิดคือการมีจิตรู้สำนึก (Consciousness) ซึ่งเป็นสิ่งซับซ้อนและยากที่คอมพิวเตอร์จะสามารถเลียนแบบมนุษย์ การที่จะให้ AI มีจิตสำนึกแบบมนุษย์ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะเป็นได้ ต้องมีพัฒนาการ ต้องอยู่ในชุมชนมนุษย์ ต้องผ่านวิวัฒนาการทางภาษาและประสบการณ์ ในขณะที่มนุษย์ย่อมกลัวการที่ตัวเองจะถูกแทนที่ด้วยสิ่งไม่มีชีวิต กลัวการไม่มีที่อยู่ กลัวการสูญพันธุ์ การที่มนุษย์กลัว AI ก็เพราะความไม่รู้ว่า AI จะเป็นอย่างไร กลัวหุ่นยนต์ครองโลกเหมือนในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดหลายๆ เรื่อง ประเด็นทางจริยธรรมของ AI จึงเป็นเรื่องสำคัญ เรามิอาจคาดเดาได้ว่าการเทรน AI ขึ้นมาจะได้ AI ที่ดีหรือไม่
ศ.ดร.โสรัจจ์ ย้ำว่าการมีกลไกทางจริยธรรมเป็นข้อกำหนดแนวทางให้นักพัฒนาและผู้ใช้ AI ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา AI เป็นสิ่งจำเป็นและเป็นความท้าทายของยุคสมัย เพื่อให้การอยู่ร่วมกันระหว่าง AI กับมนุษย์มีความเป็นปกติ มี “จิตรู้สำนึก” ที่สามารถทำให้มนุษย์และ AI อยู่ร่วมกันได้ในบริบทของโลกที่กำลังพัฒนาไปข้างหน้าไม่หยุดยั้ง งานในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนไม่เฉพาะคนในวงการเทคโนโลยี แต่ทุกคนในสังคมที่จะต้องอยู่ร่วมกับ AI จะได้เกิดความเข้าใจและสามารถอยู่ร่วมกับเทคโนโลยี สามารถใช้ AI เป็นเครื่องมือในการศึกษา การทำงาน การพัฒนาเศรษฐกิจและดำรงอยู่ในสังคมได้
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ https://linktr.ee/eoada101?utm_source=qr_code
หรือสแกน QR Code ที่โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
จุฬาฯ ตรวจสุขภาพแรงงานฟรี เนื่องในวันแรงงาน 1 พฤษภาคม 2568 ที่สยามสแควร์
1 พ.ค. 68 เวลา 08.00 -20.00 น.
สยามสแควร์
“MDCU MedUMORE” โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล Winner “THE Awards Asia 2025” ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และองค์ความรู้ฮาลาลในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ฮ.ศ. 1446
เชิญชวนคณาจารย์จุฬาฯ สมัครและเสนอชื่อผู้สมัครรับการเลือกตั้งเพิ่มเติม สมาชิกสภาคณาจารย์ พ.ศ. 2568
23 - 28 เมษายน 2568
เชิญร่วมสัมมนาวิชาการ “อุดมศึกษากับการพัฒนากำลังคนเพื่อรับมือกับความท้าทายในอนาคต”
25 เมษายน 2568 เวลา 13.00 - 16.30 น.
นิสิตนิติศาสตร์ จุฬาฯ สร้างชื่อเสียงในการแข่งขันว่าความกฎหมายระหว่างประเทศที่สหรัฐอเมริกา
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้