รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
22 มกราคม 2562
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดมิติใหม่ทางด้านความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัยกับ North-Eastern Hill University (NEHU) ประเทศอินเดีย ในโครงการวิจัย “อรุโณทัย” แลกเปลี่ยนเรียนรู้การวิจัยทางภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม และสังคม เพื่อความสัมพันธ์ไทย-อินเดีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแม่บท “นวัตกรรมความร่วมมือทางวิชาการอาเซียน-อินเดีย ระหว่างจุฬาฯ กับ NEHU ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” (ปี 2561-2564)” ซึ่งได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างทั้งสองมหาวิทยาลัย เมื่อเร็วๆนี้ โดยมี ผศ.สุรัตน์ โหราชัยกุล ผู้อำนวยการศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาฯ เป็นผู้กล่าวรายงาน H.E. Ms. Suchitra Durai,, Ambassador of India to Thailand และนายชุตินทร คงศักดิ์ เอกอัครราชทูตไทยประจำอินเดีย กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างทั้งสองมหาวิทยาลัยในครั้งนี้
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยว่า หนึ่งในพันธกิจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ สำหรับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศอินเดียในครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีในการศึกษาวิจัยเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อินเดียผ่านทางภาษาและศิลปะ วัฒนธรรม โดยมีคณาจารย์จุฬาฯ ในสาขาภาษาศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ร่วมทำงานวิจัยในครั้งนี้ ซึ่งในอนาคตจะขยายความร่วมมือกับคณาจารย์ในสาขาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีต่อไป
ชุตินทร คงศักดิ์ เอกอัครราชทูตไทยประจำอินเดีย ให้ข้อมูลว่า อินเดียเป็นประเทศที่เป็นจุดเชื่อมโยงกับอาเซียนผ่านประเทศเมียนมาร์ NEHU เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-อินเดียตั้งอยู่บนพื้นฐานทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภาษา การแสดง ความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้จะส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย-อินเดีย ทำให้คนไทยมองอินเดียใหม่ และทำให้คนอินเดียมองประเทศไทยอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การขยายความสัมพันธ์ทางการค้าการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศให้เพิ่มขึ้นในอนาคต
ชุดโครงการวิจัย “อรุโณทัย” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับภารกิจสนองพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษาต่างๆ ในประเทศไทยกับประเทศอินเดีย หลังจากเสด็จฯ เยือน North-Eastern Hill University เมืองชิลลอง รัฐเมฆาลัย สาธารณรัฐอินเดีย เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559
ชุดโครงการวิจัย “อรุโณทัย” ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนบริหารจัดการและอำนวยความสะดวกในส่วนกลาง มี ศ.กิตติคุณ ดร. ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ เป็นหัวหน้าชุดโครงการ มีโครงการวิจัยข้ามชาติไทย-อินเดียขนาดใหญ่ 4 โครงการ ได้แก่ โครงการ “พจนานุกรมออนไลน์ คาสี-อังกฤษ-ฮินดี-ไทย” โดย ผศ.ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ และคณะ โครงการ “คติชน ดนตรี และการแสดง:สืบ สร้างสายสัมพันธ์ไทย-คาสี” โดย ศ.พรรัตน์ ดำรุง และคณะ โครงการ “การเชื่อมโยงความหลากหลายทางวัฒนธรรมของการอนุรักษ์กับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” โดย ดร.นฤมล อรุโณทัย และคณะ และโครงการ “การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรม เพื่อสานสัมพันธ์ไทย-คาสี: กรณีศึกษาแฟชั่นและผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์” โดย รศ.ดร.ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ และคณะ
ชุดโครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนงบวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นงานวิจัยประเภทวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ได้ความรู้พื้นฐานและตัวอย่างที่ดีของการประยุกต์ใช้ความรู้จากหลากหลายศาสตร์ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาชุมชน โดยเน้นพื้นที่ที่มีต้นทุนทางธรรมชาติและวัฒนธรรมสูงทั้งในประเทศไทยและประเทศอินเดีย เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งนำมาเป็นประเด็นในการศึกษาวิจัยและเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นจุดเด่นและ จุดด้อยที่สามารถใช้เป็นบทเรียนของแต่ละฝ่ายในการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน ผลผลิตและการสาธิตการแสดงละครและดนตรีที่ใช้วัฒนธรรมและสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์เป็นฐานจากการวิจัยของชุดโครงการวิจัย นี้ และเป็นงานนวัตกรรมสร้างสรรค์ สามารถนำไปต่อยอดทางอุตสาหกรรมให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ช่วยให้ชุมชนสามารถเพิ่มรายได้จากต้นทุนทางวัฒนธรรมของตนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้