ข่าวสารจุฬาฯ

แพทย์จุฬาฯ ไขข้อสงสัย Filter “ใส่จมูกกรอง PM 2.5” ได้หรือไม่?

ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 กลายเป็นภาวะวิกฤตสำหรับหลายพื้นที่ในประเทศไทย ท่ามกลางความวิตกกังวลในเรื่องนี้ทำให้ประชาชนหาวิธีการป้องกันตัวด้วยอุปกรณ์ที่คาดว่าจะช่วยให้เราดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ สาขาวิชาอายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติ ได้ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับประเด็นการใช้ Filter ใส่จมูกว่าจะกรองฝุ่น PM 2.5 ได้จริงหรือไม่?

รศ.นพ.ฉันชาย เปิดเผยว่าในทางการแพทย์มีอุปกรณ์ซึ่งเรียกว่าตัวกรองจมูก (Nasal Filter) มีลักษณะคล้ายแผ่นกรองใส่เข้าไปในรูจมูกทั้งสองข้าง มีคุณสมบัติในการช่วยลดฝุ่น ควันหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าผ่านลมหายใจเข้าไปในจมูกได้ จากข้อมูลทางการแพทย์ จุดประสงค์หลัก   ในการใช้อุปกรณ์นี้มุ่งลดการหายใจเอาสารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย จากการศึกษาพบว่ากลุ่มคนไข้ซึ่งเป็นโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง เมื่อใส่อุปกรณ์นี้ในช่วงเวลาซึ่งมีฝุ่นละออง แม้กระทั่งเกสรดอกไม้ คนไข้ส่วนหนึ่งอาจจะมีอาการที่ดีขึ้น ซึ่งอุปกรณ์นี้อาจจะลดปริมาณของฝุ่นหรือสารภูมิแพ้ซึ่งเข้ามาทางจมูกได้ กลไกในการลดจะเกิดขึ้นผ่านการกรองที่ดีขึ้น แต่ขอเน้นย้ำว่าถ้าลม  เข้าจมูกได้น้อยลงเราจะหายใจทางปากมากขึ้น

รศ.นพ.ฉันชาย กล่าวว่าปัญหาขณะนี้คือมีการนำอุปกรณ์นี้มาใช้เพราะคิดว่าสามารถจะกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอุปกรณ์นี้สามารถกรองได้เฉพาะลมหรือสารที่ผ่านเข้ามาทางจมูก ถ้าเราอ้าปากหายใจก็ไม่สามารถกรองได้ ถ้าหวังว่าจะลดสารที่อยู่ในจมูกอย่างเดียวนี้อาจจะพอได้ ถ้าจะทำให้ได้ผลจริงๆ ผู้ใช้จะต้องไม่หายใจทางปากเลย ดังนั้นจากข้อมูลตรงนี้อุปกรณ์ดังกล่าวไม่สามารถทดแทนการใช้หน้ากากอนามัยในการลดฝุ่นละอองขนาดจิ๋วหรือ PM 2.5 เมื่อเข้าไปในพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นละอองในปริมาณสูงได้  ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่มากพอจะยืนยันการใช้ Nasal Filter ควบคู่กับหน้ากากอนามัย

ในทางการแพทย์ อาจารย์แนะนำว่าควรใช้อุปกรณ์มาตรฐานก่อน เริ่มต้นอย่างแรกควรจะหลีกเลี่ยงพื้นที่เปิดโล่งที่มีความเสี่ยงก่อนและใช้หน้ากากที่เหมาะสม ถ้าเราเตรียมตัวดีเราสามารถป้องกันได้ อย่างแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่าตัวเองเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ ถ้าเราเป็นโรคถุงลมโป่งพอง หรือโรคหอบหืด ต่อให้ฝุ่นละอองในอากาศไม่สูงก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยง ทุกคนต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศว่าเป็นอย่างไร ระดับสารพิษเป็นอย่างไร หลีกเลี่ยงที่ที่มีฝุ่นควันพิษสูง ลดกิจกรรมกลางแจ้ง ใช้อุปกรณ์ป้องกัน กลุ่มเสี่ยงที่เรามองข้ามไม่ได้เลยคือเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก ถ้าได้รับสารหรือฝุ่นอันตรายจะมีผลกระทบอย่างมากทั้งระยะสั้นและระยะยาว อาจจะมีผลต่อพัฒนาการของเด็ก อย่างไรก็ตาม ฝุ่น PM 2.5 ป้องกันได้ ความรุนแรงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดีที่สุดคือพยายามหลี่กเลี่ยงรับสารนี้เข้าไปในร่างกายให้น้อยที่สุด ถ้ารับไปเรื่อยๆ อนาคตมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง โรคหัวใจ สมองเสื่อมมากขึ้น

รศ.นพ.ฉันชาย แนะนำว่า หลายภาคส่วนต้องช่วยกัน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทำคนเดียวไม่ได้ เพราะไม่ได้เกิดจากปัจจัยเดียว ต้องเริ่มจากทุกคน ต้องรู้จักป้องกันตัวเอง รู้ตัวเองว่าควรทำอะไร ต้องแก้ไขจากในพื้นที่เพราะแต่ละที่เกิดจากปัจจัยคนละอย่าง เช่น เกิดจากการเผาป่าถางไร่ เกิดจากพฤติกรรมการใช้รถยนต์หรือเกิดจากการเผาไหม้ทางอุตสาหกรรม ถ้ามีต้นไม้ที่ต้นสูงใหญ่ มีใบเยอะ จะช่วยดูดซึมสารพิษโมเลกุลเล็กได้

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า