รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
30 พฤษภาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง (Founding Members) เครือข่ายสถาบันกฎหมายแห่งเอเชีย (Asian Law Institute : ASLI) ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ 21st Asian Law Institute (ASLI) Conference 2024 ภายใต้หัวข้อหลัก “The Future of Law, the Future of Asia” ระหว่างวันที่ 29 – 30 พฤษภาคม 2567 มีคณาจารย์และนักวิชาการด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกเข้าร่วมการประชุมกว่า 260 คน
พิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุม ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ชั้น 4 อาคารเทพทวารวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับเกียรติจากนางอโนชา ชีวิตโสภณ ประธานศาลฎีกา ร่วมในพิธีเปิดการประชุม โดยมี ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ และ Assoc.Prof.Kelry Loi, Co-Director of ASLI, Faculty of Law, National University of Singapore เป็นผู้กล่าวต้อนรับ Prof.Ryuji Yamamoto, Dean Graduate School for Law and Politics, University of Tokyo, Chairperson of the ASLI Board of Governors เป็นผู้กล่าวเปิดงาน และมีการปาฐกถาโดย ศ.ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเชีย อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
ในการนี้ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัดงานเลี้ยงอาหารค่ำต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ ณ ศาลาพระเกี้ยว โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานในงาน
Asian Law Institute หรือ ASLI ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2546 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างคณะกฎหมายแต่ละสถาบันในการพัฒนากฎหมายเอเชีย (Asian law) มีสถาบันผู้ร่วมก่อตั้งจำนวน 16 สถาบัน มีตัวแทนจากแต่ละสถาบันเป็นคณะกรรมการ ASLI Board of Governor’s Meeting ซึ่งจะมีการประชุมบอร์ดบริหารเป็นประจำทุกปี และมีสมาชิกทั่วไปจำนวนกว่า 100 สถาบันทั่วโลก
เชิญร่วมสัมมนาวิชาการ “อุดมศึกษากับการพัฒนากำลังคนเพื่อรับมือกับความท้าทายในอนาคต”
นิสิตนิติศาสตร์ จุฬาฯ สร้างชื่อเสียงในการแข่งขันว่าความกฎหมายระหว่างประเทศที่สหรัฐอเมริกา
รู้เท่าทันก๊าซเรดอน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว อาจารย์วิศวฯ นิวเคลียร์ จุฬาฯ แนะตรวจปริมาณเรดอนที่อาจแทรกผ่านรอยแยกอาคารได้
จุฬาฯ จับมือสมาคมกีฬาเเบดมินตันเเห่งประเทศไทยฯ ร่วมมือทางวิชาการ พัฒนาศักยภาพบุคลากรทางวิทยาศาสตร์การกีฬาสู่ความเป็นเลิศในการพัฒนานักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมแสดงความอาลัยต่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
อธิการบดีจุฬาฯ ประธาน ทปอ. เป็นประธานการประชุมสามัญ ทปอ. และสมาคม ทปอ. ครั้งที่ 2/2568 และการประชุมสามัญ สออ.ประเทศไทย ครั้งที่ 1/2568
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้