ข่าวสารจุฬาฯ

ความสำเร็จของ “MedUMORE: 1-2-10 Med Ed Exponential” และพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กับ 10 องค์กรการแพทย์ชั้นนำ

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การศึกษาทางการแพทย์ผ่านแพลตฟอร์ม “MedUMORE: 1-2-10 MedEd Exponential” เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน  2567 ณ ห้องประชุม สดศรี วงศ์ถ้วยทอง อาคาร ภปร ชั้น 18 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อฉลองครบรอบ 2 ปีของแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ “MDCU MedUMORE” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้อันดับ 1 ของประเทศไทยด้านการแพทย์ ในปีนี้มีการรับชมมากกว่า 2,000,000 views โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ 10 องค์กรการแพทย์ชั้นนำของประเทศไทย ประกอบด้วย แพทยสภา สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย สภาเทคนิคการแพทย์ ​Faculty of Medicine, University of Health Sciences, Lao People’s Democratic Republic และสมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการเเพทย์ไทย

            งานในครั้งนี้เริ่มจาก รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวต้อนรับ ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ บรรยายสรุปแนวคิดและทิศทางของแพลตฟอร์ม MedUMORE ในโอกาสครบรอบ 2 ปี และ 2 ล้านการรับชม ในหัวข้อ “จาก 1 ถึง 10 ก้าวต่อไปของ MedUMORE”  จากนั้นเป็นพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านทางแพลตฟอร์ม MedUMORE กับ 10 องค์กรการแพทย์ชั้นนำของประเทศไทย ผศ.(พิเศษ) นพ.สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ สาธิตการใช้แพลตฟอร์ม MedUMORE และการเสวนาพิเศษ หัวข้อ “Future Education, Future Learning for Future Healthcare: อนาคตการศึกษาเพื่อการแพทย์และสาธารณสุขยุคใหม่ของไทย” โดย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา ดำเนินการเสวนาโดย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

            งาน “MedUMORE: 1-2-10 Med Ed Exponential” แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาการศึกษาทางการแพทย์และการเรียนรู้ที่ไม่หยุดยั้ง โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษาที่ทันสมัยและสอดคล้องกับการพัฒนาของโลก เพื่อยกระดับการศึกษาและการบริการทางการแพทย์ในประเทศไทย

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า