ข่าวสารจุฬาฯ

การสื่อสารเพื่อการดูแลใจ: ความรู้เชิงจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิต

อาจารย์คณะจิตวิทยา จุฬาฯ แนะทักษะในการสื่อสารเชิงบวกเพื่อดูแลสุขภาพใจต้องสื่อสารด้วยความเข้าใจและเห็นใจซึ่งกันและกัน ชี้พลังของคำพูดมีผลต่ออารมณ์และจิตใจ ช่วยให้งานราบรื่น ใจไม่หนัก

“การสื่อสารเพื่อการดูแลใจ” เป็นหัวข้อการบรรยายที่น่าสนใจและเหมาะอย่างยิ่งกับยุคปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ในสังคมต้องการการดูแลจิตใจ การบรรยายดังกล่าวจัดโดยคณะจิตวิทยา จุฬาฯ ร่วมกับศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ ในโครงการความร่วมมือในการดูแลด้านสุขภาพจิตแก่บุคลากรของจุฬาฯ (Chula Care)  โดยมี อ.ดร.พูลทรัพย์ อารีกิจ ผู้ช่วยคณบดีและอาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาฯ เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ห้อง 614 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ

อ.ดร.พูลทรัพย์ อารีกิจ

อ.ดร.พูลทรัพย์ ได้กล่าวถึงการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการสื่อสารว่า การบรรยายครั้งนี้ไม่ได้เพียงแต่ให้ความรู้แก่บุคลากรจุฬาฯ เท่านั้น แต่ยังเป็นการเปิดพื้นที่ให้บุคลากรรู้สึกวางใจและพร้อมที่จะเปิดใจพูดคุยในประเด็นที่มีความสำคัญ การได้พบปะและพูดคุยกันในกิจกรรมนี้ ทำให้หลายคนรู้สึกสบายใจและเข้าใจว่าการสื่อสารเชิงบวกสามารถช่วยลดความเครียดและเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตได้จริงๆ โดยวิทยากรได้ให้ความรู้ในสามประเด็นดังนี้

การดูแลสุขภาวะทางจิตในองค์กร :

หลาย ๆ องค์กรมักประสบปัญหาคนทำงานต้องเผชิญกับความเครียด และามักจะมองว่าการรับบริการจากนักจิตวิทยาคือทางแก้ไขปัญหา แต่นั่นเป็นเพียงการทำงานเชิงรับเท่านั้น โครงการนี้มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุก โดยการให้ความรู้และทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตที่ดี

การสื่อสารเพื่อการดูแลใจ:

การสื่อสารด้วยความเมตตากรุณาเป็นการเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างบุคคล การที่เราสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจและเห็นใจซึ่งกันและกัน จะช่วยลดความเหน็ดเหนื่อยทางใจได้มาก การสื่อสารไม่ได้หมายความว่าเราต้องพูดหวานใส่กันตลอดเวลา แต่เป็นการเข้าใจข้างในซึ่งกันและกัน ซึ่งจะช่วยลดการสร้างความเจ็บปวดและบาดแผลในจิตใจ การสื่อสารที่ดีจะช่วยเยียวยาทั้งผู้พูดและผู้ฟัง

พลังของคำพูด:

อ.ดร.พูลทรัพย์ เน้นย้ำถึงพลังของคำพูดที่มีต่ออารมณ์และจิตใจ คำพูดของคนมีพลังมาก ทั้งการที่เราพูดกับตัวเองหรือพูดกับคนอื่น ถ้าเราเห็นความสำคัญของการดูแลอารมณ์และจิตใจ เราจะสามารถสื่อสารกับตัวเราเองและคนอื่นได้อย่างเข้าใจและมีความหมาย การสื่อสารที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยให้การทำงานราบรื่น แต่ยังช่วยให้เราผ่านความยากลำบากในชีวิตได้ด้วยใจที่ไม่หนักหนา งานอาจจะหนัก แต่ใจเราไม่ควรหนักตาม

ทั้งนี้ โครงการ Chula Care ถือเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตในที่ทำงาน โดยการให้ความรู้และทักษะในการสื่อสารเชิงบวก เพื่อให้บุคลากรทุกคนสามารถดูแลใจของตัวเองและผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบรรยายและกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ Chula Care ได้ที่ https://www.facebook.com/WellnessPsyCU/

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า