รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
14 มิถุนายน 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ชาติสยาม หม่อมแก้ว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค และภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เปิดตัวโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเพาะเลี้ยงกบนา เสริมรายได้–สร้างอาชีพ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้จากคณะและหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยสู่ท้องถิ่นจังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงกบนาให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืนและสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2567 ณ สำนักปฏิบัติธรรมวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร สาขาหนองเจริญ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
โครงการนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนในจังหวัดน่านเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเลี้ยงกบนานั้นมีประโยชน์หลากหลาย ไม่เพียงแค่เป็นแหล่งอาหารเสริมโปรตีน แต่ยังใช้ในการศึกษาวิจัยทางชีววิทยาและการแพทย์ รวมถึงสามารถสร้างเสริมรายได้และอาชีพใหม่ให้กับผู้ที่สนใจ โดยมีเกษตรกรจากบ้านหนองเจริญเข้าร่วมจำนวน 28 คน และบุคลากรศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค 10 คน รวมทั้งสิ้น 38 คน
กิจกรรมภายในโครงการประกอบด้วย
– การบรรยายเรื่องการเลี้ยงกบนา: การสืบพันธุ์และการผสมพันธุ์ของกบนา
– การฉายวีดิทัศน์ “แรงจูงใจในการเลี้ยงกบนา”
– ปฏิบัติการการผสมพันธุ์กบนาและการติดตามผลการเจริญของลูกอ๊อด
โครงการนี้มุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงกบนา เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างรายได้และอาชีพให้กับตนเอง ครอบครัว และชุมชน นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2564 – 2567 ด้าน “การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน (Sustainability)” ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 1 การขจัดความยากจน และเป้าหมายที่ 15 การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โทรศัพท์: 0-2218-0087
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โทรศัพท์: 0-2218-5375
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้