รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 มิถุนายน 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน วศินี ฤทธิ์ดี
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ และศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัฒนธรรมดนตรีไทย จัด “โครงการบ่มเพาะยุวศิลปินนาฏศิลป์-ดนตรีไทย เมืองน่าน ครั้งที่ 9” ระหว่างวันที่ 11 – 14 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการ เครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
โครงการบ่มเพาะยุวศิลปินนาฏศิลป์-ดนตรีไทย เมืองน่าน มีการดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 12 ปีแล้ว ในปีนี้มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการ 82 คนจาก 10 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 14 โรงเรียนในจังหวัดน่าน โดยมีการแสดงรวม 6 รายการ รวมนักแสดง 124 คน 1 ในผลงานสร้างสรรค์ชุดใหม่เป็นการบรรเลงและฟ้อนที่ชื่อว่า “ฟ้อนหมัดคำ” ซึ่งเป็นผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินโครงการ “สหวิทยาการทางศิลปกรรม เรื่อง การสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืนทางระบบนิเวศวัฒนธรรมและชีววิทยาเมืองน่าน” เป็นการฟ้อนเพื่อเป็นพุทธบูชาที่คณะศิลปกรรมศาสตร์มอบไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมให้กับประชาคมน่าน ทำนองเพลงประพันธ์โดย รศ.ดร.ภัทระ คมขำ หัวหน้าภาควิชาดุริยางคศิลป์ ท่ารำสร้างสรรค์โดย ผศ ดร.พัชรินทร์ สันติอัชวรรณ รองคณบดีฝ่ายบริหาร โดยมี รศ.ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ เป็นหัวหน้าโครงการ ถ่ายทอดองค์ความรู้โดย อ.ดร.ดุษฎี สว่างวิบูลย์พงศ์ อ.วิรัช สงเคราะห์ และ ผศ.ดร. มาลินี อาชายุทธการ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ดำเนินงานกิจกรรมทางด้านศิลปกรรม Social Engagement ในพื้นที่จังหวัดน่าน สร้างความผูกพันกับชุมชนมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า 15 ปี ทั้งด้านการวิจัย การส่งนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาทั้งปริญญาโทและปริญญาเอกลงพื้นที่ทำวิทยานิพนธ์ การจัดทำผลผลิตทางวิชาการในทุกมิติ และการบริการวิชาการกับประชาคมน่าน ไม่ว่าจะเป็นภาควิชาทัศนศิลป์ ดุริยางคศิลป์ นฤมิตศิลป์ นาฏยศิลป์ หลักสูตรนานาชาติทั้งหลักสูตรศิลปะบำบัดและหลักสูตรปฏิบัติการภัณฑารักษ์ ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานสร้างเครือข่ายและสร้างความยั่งยืนให้กับประชาคมน่าน ซึ่งมีการเผยแพร่ผลงานไปทั้งระดับชาติและนานาชาติ
ทั้งนี้ เพื่อความยั่งยืนในการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดน่าน คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ยกระดับการดำเนินการโดยพัฒนาการจัดโครงการในปีนี้ร่วมกับศูนย์พัฒนาวิชาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) จังหวัดน่านและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้