รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 มิถุนายน 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน ณัฐริณีย์ พร้อมวงศ์
เมื่อวันพุธที่ 19 มิถุนายน 2567 เวลา 15.30 น. ณ ห้องประชุมจุฬาฯ ศ.(พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานในพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2565 และประจำปี 2566 เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กิจกรรมภายในงานเริ่มจาก ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานในพิธี จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ทำความเคารพธงชาติ ถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผศ.ดร.ระวี จูฑศฤงค์ ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี กล่าวรายงาน ศ.ดร.คณพล จันทน์หอม ผู้รักษาการรองอธิการบดี เบิกผู้เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากนั้นนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปวางบนพานหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ และผู้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามลำดับ ในการนี้ นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ผู้เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และผู้ร่วมพิธีถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์โดยพร้อมเพรียงกัน
ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้เข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย โดยกล่าวว่าขอแสดงความชื่นชมและยินดีกับผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายทุกท่านด้วยใจจริง การที่ทุกท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายในครั้งนี้เป็นบำเหน็จรางวัลแห่งการปฏิบัติหน้าที่ที่แสดงถึงความวิริยะอุตสาหะ อันมาจากกำลังกาย กำลังใจ กำลังปัญญา และความเสียสละทุ่มเท ซึ่งนำชื่อเสียงเกียรติคุณมาสู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สังคม และประเทศชาติ ทุกท่านจึงควรภาคภูมิใจว่าท่านเป็นผู้มีส่วนสำคัญที่ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนทั้งในประเทศและระหว่างประเทศตลอดมา
พิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2565 และประจำปี 2566 เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ หอประชุมจุฬาฯ จัดขึ้นเนื่องในโอกาสที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปีพุทธศักราช 2565 และประจำปีพุทธศักราช 2566 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพายเนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2565 และวันที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2566 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ จัดพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จำนวนทั้งสิ้น 163 ราย แบ่งออกเป็น ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก จำนวน 28 ราย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ จำนวน 18 ราย ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก จำนวน 23 ราย และชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย จำนวน 94 ราย
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้