รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
20 มิถุนายน 2567
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ สำรวจพบแนวคันดินบ่งชี้ชุมชนโบราณในพื้นที่ อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นหลักฐานช่วยยืนยันว่าเมื่อประมาณ 700-1,000 ปีก่อน มีกลุ่มคนราว 300-500 คน อาศัยอยู่ในพื้นที่ในรูปแบบกลุ่มชุมชน เพื่อประะกอบกิจกรรมหรืออุตสาหกรรมถลุงเหล็กโบราณ ที่ถูกค้นพบมาก่อนหน้านี้
จุดเริ่มต้นการค้นพบ
ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ค้นพบแนวคันดินใน อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ ซึ่งบ่งชี้ถึงการมีอยู่ของชุมชนโบราณเมื่อ 700-1,000 ปีก่อน คาดว่ามีคนประมาณ 300-500 คนอาศัยอยู่ การค้นพบนี้เกิดจากการสำรวจภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหารในปี 2519 ซึ่งแปลความโดย ศ.ดร.สันติ โดยพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบน้ำท่วมถึง ปัจจุบันใช้เป็นพื้นที่ทำนาและทำไร่สวนยางพารา แต่พบแนวคันดินที่มีลักษณะกว้างและสูงกว่าคันนาปกติทั่วไปในพื้นที่บ้านเขาดินใต้ ต.บ้านกรวด โดยแนวคันดินนี้กว้าง 3 เมตร สูง 0.5-1 เมตร จากการสอบถามชาวบ้านพบว่า แต่เดิมคันดินสูงกว่า 2 เมตร และเต็มไปด้วยจอมปลวกและต้นไม้รกทึบ ต่อมาชาวบ้านได้ปรับพื้นที่ให้สะอาดและต่ำลงเพื่อใช้เป็นถนนในการทำการเกษตร
ขอบเขตพื้นที่
จากการลงสำรวจและรังวัดแนวคันดิน พบว่าแนวคันดินดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประกอบด้วยคันดินด้านทิศตะวันตกและทิศตะวันออกยาว 200 เมตร และคันดินด้านทิศใต้ยาว 330 เมตร ส่วนทิศเหนือกำหนดเขตจากธารน้ำธรรมชาติห้วยเสว คำนวณพื้นที่ครอบคลุมได้ 66,000 ตารางเมตร หรือ 41 ไร่ แนวคันดินนี้มีขนาดเล็กกว่าเมืองโบราณทรงสี่เหลี่ยมอื่นๆ เช่น เมืองนครราชสีมาและเมืองเชียงใหม่ 20-40 เท่า จึงนิยามว่าเป็นระดับชุมชนโบราณมากกว่าเมืองขนาดใหญ่ โดยคาดการณ์จำนวนประชากรที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ประมาณ 300-500 คน
อายุและหลักฐานโบราณคดี
จากการสำรวจและเก็บหลักฐานทางโบราณคดีในพื้นที่ภายในแนวคันดิน พบเศษภาชนะดินเผาจำนวนมาก กระจายตัวอยู่ทั่วพื้นที่ 41 ไร่ โดยเศษภาชนะทั้งหมดบ่งชี้ว่าเป็นแหล่งผลิตจากกลุ่มอุตสาหกรรมเตาเครื่องปั้นดินเผาโบราณ อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5-10 กิโลเมตร มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-19 (ประมาณ 700-1,000 ปี) นอกจากนี้ยังพบเศษอิฐจำนวนมากในพื้นที่ ซึ่งบ่งชี้ว่าภายในแนวคันดินเดิมน่าจะมีอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทำด้วยอิฐ
จากการขยายพื้นที่สำรวจโดยรอบแนวคันดิน พบว่าห่างออกไปประมาณ 1.3 กิโลเมตรทางทิศตะวันตก เป็นที่ตั้งของปราสาทหนองตะโก และทางทิศตะวันออกห่างออกไปประมาณ 1.4 กิโลเมตร พบเนินขนาดใหญ่ที่เกิดจากการทับถมของเศษตะกรันหรือขี้แร่ที่เหลือจากการถลุงเหล็ก โดย อิสราวรรณ อยู่ป้อม กำหนดอายุกิจกรรมถลุงเหล็กดังกล่าวว่าเคยดำเนินอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 (ประมาณ 800 ปี) ศ.ดร.สันติ เชื่อว่าแนวคันดินหรือชุมชนโบราณที่พบมีความสัมพันธ์กับแหล่งอุตสาหกรรมถลุงเหล็กโบราณทั้งในด้านพื้นที่และเวลา
จึงกล่าวได้ว่า แนวคันดินล้อมรอบพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 41 ไร่ ใน อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ คือที่อยู่อาศัยของชุมชนโบราณเมื่อ 700-1,000 ปีก่อน และอาจเป็นกลุ่มคนที่ประกอบกิจกรรมการถลุงเหล็กในอดีต
ทีมสำรวจ: ชลิดา เจริญศิริมณี, สมยศ ภัยหลบลี้, สันติ ภัยหลบลี้
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้