ข่าวสารจุฬาฯ

โครงการ “ต้นแบบชุมชนเมืองของประเทศไทย : บ้านสุขภาพ จุฬาฯ ส่งเสริมสุขภาพองค์กร”

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ โครงการบ้านสุขภาพ จุฬาฯ และศูนย์บริการสาธารณสุข 5 จุฬาลงกรณ์  จัดโครงการ “ต้นแบบชุมชนเมืองของประเทศไทย : บ้านสุขภาพ จุฬาฯ ส่งเสริมๅสุขภาพองค์กร” เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2567  ณ บ้านสุขภาพ จุฬาฯ  สวนหลวงสแควร์ โดยมี รศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน ผู้รักษาการรองอธิการบดีด้านการจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน

โครงการ “ต้นแบบชุมชนเมืองของประเทศไทย : บ้านสุขภาพ จุฬาฯ ส่งเสริมสุขภาพองค์กร” มีการให้บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น วัดความดัน วัดระดับน้ำตาลในเลือด การประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและข้อต่อโดยวัดความอ่อนตัว และวัดแรงบีบมือ การตรวจเชื้อ HPV มะเร็งปากมดลูกโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นประชาชนทั่วไป ผู้เช่า พื้นที่ อาจารย์ นักวิจัย บุคลากรและนิสิตทั้งชาวไทยและต่างชาติ รวมทั้งสิ้น 250 รายซึ่งต่างประทับใจโครงการนี้เป็นอย่างยิ่ง โครงการ “ต้นแบบชุมชนเมืองของประเทศไทย : บ้านสุขภาพ จุฬาฯ ส่งเสริมสุขภาพองค์กร”ได้รับการสนับสนุนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ ศูนย์บริการสาธารณสุข 5 จุฬาลงกรณ์

“บ้านสุขภาพ จุฬาฯ” ได้ดำเนินการจัดตั้งในปี 2559 ภายใต้การดำเนินงานของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ ซึ่งถือเป็น “นวัตกรรมสุขภาพชุมชนเมือง” แห่งแรกในประเทศไทย ปัจจุบันบ้านสุขภาพ จุฬาฯ มีผลงานเชิงประจักษ์มากมาย มีสมาชิกบ้านสุขภาพ จุฬาฯ มากกว่า 6,000 คน นอกจากนี้บ้านสุขภาพ จุฬาฯ ยังเป็นโครงการที่ส่งเสริมสุขภาพที่ดีและการทำงานที่มีประสิทธิภาพของกลุ่มประชาชน ผู้เช่าพื้นที่ อาจารย์ นักวิจัย บุคลากรและนิสิตทั้งชาวไทยและต่างชาติในรูปแบบเชิงรุก รวมถึงการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัย และชุมชนอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ การให้บริการต่างๆ ทางด้านสุขภาพที่จัดขึ้นในงานนี้เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “ต้นแบบชุมชนเมืองของประเทศไทย : บ้านสุขภาพ จุฬาฯ ส่งเสริมสุขภาพองค์กร” ซึ่งถือเป็นกิจกรรมเริ่มต้นที่มุ่งสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มประชาชน ผู้เช่าพื้นที่ อาจารย์ นักวิจัย บุคลากรและนิสิตทั้งชาวไทยและต่างชาติอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัยในระดับองค์กรและมหาวิทยาลัย ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและสร้างผลกระทบสูงต่อสังคม

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า