รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 มิถุนายน 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดงาน “AIC Chula Saraburi Expo 2024” เมื่อวันที่ 25-26 มิถุนายน 2567 ภายใต้แนวคิด “International Food and Low Carbon in Agriculture and Livestock” โดยมุ่งเน้นการขยายกลุ่มผู้เข้าร่วมงานไปยังนักเรียนและเยาวชนคนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างเกษตรกร นักวิจัย นักพัฒนานวัตกรรม ผู้ประกอบการ และองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ร่วมกันนำองค์ความรู้มาสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อขับเคลื่อนประเทศต่อไป
งานนี้ได้รับเกียรติจากนายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน โดยมี รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ ผู้รักษาการรองอธิการบดี ในฐานะตัวแทนอธิการบดี จุฬาฯ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานครั้งนี้ด้วย
นายเศรษฐเกียรติกล่าวถึงการสนับสนุนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมขึ้น ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการคัดเลือกให้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักให้กับจังหวัดสระบุรีเพื่อดำเนินกิจกรรมด้านต่างๆ
รศ.น.สพ.ดร. กิตติศักดิ์ อัจฉริยะขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สระบุรี กล่าวถึงแนวคิดการพัฒนาขีดความสามารถเกษตรกรไทยว่า เป็นนโยบายระดับชาติของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งแต่ปี 2563 ที่กระทรวงเกษตรฯ มุ่งเป้าให้ทุกจังหวัดต้องมีหนึ่งศูนย์ AIC โดยความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่
ศูนย์ AIC จุฬาฯ สระบุรี จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2563 และได้รับงบประมาณแผ่นดินสนับสนุนการดำเนินงาน โดยมีพันธกิจในการสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรอัจฉริยะ เป็นศูนย์เพาะบ่มเกษตรกรและผู้นำเกษตรกร Smart Farmer ภายในจังหวัดสระบุรี ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตร ปี 2566-2570
ในงาน “AIC Chula Saraburi Expo 2024” มีการจัดแสดงนิทรรศการความรู้ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ ๆ ในด้านการเกษตรและโคนม การแข่งขันและการนำเสนอผลิตภัณฑ์ภายใต้โจทย์วิจัย Future Food Products for Saraburi from Local to Global ที่ใช้วัตถุดิบอัตลักษณ์ของจังหวัดสระบุรี นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรม Chula Saraburi Dairy Conference and Expo โดยศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเลี้ยงโคนมในเขตร้อนชื้น คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วยการเสวนาวิชาการทางโคนม การจัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านโคนม และการพัฒนาการเลี้ยงโคนมสู่ความยั่งยืน
อีกหนึ่งไฮไลท์ของงานคือการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารนมไทย โดยมี ศ.สพ.ญ.ดร. สันนิภา สุรทัตต์ คณบดี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และนายอาทิตย์ นุกูลกิจ นายกสมาคมฯ ร่วมลงนาม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนด้านเกษตรและนวัตกรรมอย่างครบวงจร
ผศ.น.สพ.ดร. ธีรวัฒน์ สว่างจันทร์อุทัย หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่าการจัดงาน AIC Chula-Saraburi Expo 2024 ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์แห่งความเป็นเลิศเฉพาะด้านนวัตกรรมการผลิตโคนมและผลิตภัณฑ์นม คณะสัตวแพทยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ สถานทูตไทยในกรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย หน่วยงานราชการจังหวัดสระบุรี ภาคเอกชน และผู้ประกอบการด้านการเกษตรและปศุสัตว์ต่าง ๆ รวมถึงผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมประกวดนวัตกรรมอาหาร วิทยากร นักวิชาการ และผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งในสถานที่จัดงานและออนไลน์ รวมทั้งสิ้น 3,400 ราย งานนี้ได้รับการตอบรับอย่างดีและบรรลุผลความสำเร็จดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ทุกประการ
ติดตามข่าวสารความก้าวหน้าของศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สระบุรีได้ที่ Facebook: AICCUSaraburi https://www.facebook.com/AICCUSaraburi/
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้